การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนทางเรขาคณิตที่เสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ ผ่านกระบวนการคิดเชิงออกแบบสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนทางเรขาคณิตที่เสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลอง โดยมีประชากรเป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาที่ผ่านการเรียนเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเรขาคณิตในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
โรงเรียนรุ่งอรุณ และกลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 27 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 2 ประเภท ได้แก่ 1) เครื่องมือสำหรับการจัดกิจกรรมการเรียน
การสอนทางเรขาคณิต ผ่านกระบวนการคิดเชิงออกแบบ คือ แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 8 แผน แบ่งเป็นกิจกรรมกลุ่ม 4 แผน และกิจกรรมรายบุคคล 4 แผน 2) เครื่องมือสำหรับการวัดประเมินผลความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน คือ แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณหาประสิทธิภาพ E1/E2 และสถิติ t-test for dependent samples
ผลการวิจัยพบว่า 1. กิจกรรมการเรียนการสอนทางเรขาคณิตที่เสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณผ่านกระบวนการคิดเชิงออกแบบ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา มีประสิทธิภาพ 78.21/75.28 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 2. ความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนหลังได้รับกิจกรรมการเรียนการสอนทางเรขาคณิต ผ่านกระบวนการคิดเชิงออกแบบ สูงกว่าก่อนได้รับกิจกรรมการเรียนการสอนทางเรขาคณิต ผ่านกระบวนการคิดเชิงออกแบบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลการวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาวิชาชีพครูคณิตศาสตร์ การวิจัย การออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอน รวมถึงการเสริมสร้างทักษะด้านการแก้ปัญหา การคิดอย่างมีวิจารณญาณ หรือการแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณต่อไป
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
กมล นาคสุทธิ และ สมยศ ชิดมงคล . (2560). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้เทคนิคพรู๊ฟแมปปิงในการเขียนพิสูจน์ทางเรขาคณิต ที่ต่อความสามารถในการแก้ให้เหตุผลทางเรขาคณิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 12(2), 18–31. สืบค้นจาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/110532
ขวัญเกื้อ แสงแก้ว. (2565). การพัฒนาสื่อส่งเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ คิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงคราม. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 4(2), 93–106. สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/article/view/257766
จิรันธนิน คงจีน และ วารีรัตน์ แก้วอุไร. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวการเรียนรู้อย่างกระตือรือร้นและการช่วยเสริมศักยภาพ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย.วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 21(1), 16–29. สืบค้นจาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edu journal_nu/article/view/86803
ชมนาด เชื้อสุวรรณทวี. (2561). การเรียนการสอนคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 7-20. สืบค้นจาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedu reasearchjournal/article/view/28419
ธวัชชัย โพธิบัวทอง และ จิรศักดิ์ สุรังคพิพรรธน์. (2565). แนวทางการพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดความฉลาดทางดิจิทัล. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 4(2), 127–140. สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/article/ view/258175
นันทชัย นวลสอาด, สุกัญญา หะยีสาและ, ญานิน กองทิพย์ และ เอนก จันทรจรูญ. (2563). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เรขาคณิตโดยการบูรณาการแบบเชื่อมโยงเนื้อหากับสถานการณ์ในชีวิตจริง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 19(1), 47–55. สืบค้นจาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/225231
วนินทร พูนไพบูลย์พิพัฒน์. (2565). การพัฒนาความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยี สำหรับครูคณิตศาสตร์ที่จัดการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วย กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(4), 1601-1620. สืบค้นจาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jmhs1_s/article/view/260240
วิเชียร ภคพามงคลชัย และ อรพิณ ศิริสัมพันธ์. (2561). การพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 10(2), 241-254. สืบค้นจากhttps://so05.tci-thaijo.org/index.php/ suedureasearchjournal/article/view/86252
วิทวินทร์ ประทังคติ, พิจิตรา ธงพานิช และ สฤษดิ์ ศรีขาว. (2565). ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเสริมสร้างการอ่าน การเขียนอย่างมีวิจารณญาณและการกำกับตนเองในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(4), 1601-1620. สืบค้นจาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jmhs1_s/ article/view/ 261969
ศรีวรรณ ฉัตรสุริยวงศ์ และ มาเรียม นิลพันธุ์. (2559). กระบวนทัศน์การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 8(1), 183-197. สืบค้นจาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/ 34694
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: 3-คิว มีเดีย.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). คู่มือการใช้หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ.
อัมพร ม้าคนอง. (2559). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ : การพัฒนาเพื่อพัฒนาการ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Graves. M. F., Juel C., & Graves. M. F. (2004). Teaching Reading in the 21st Century. New York: Pearson Education.
Matthee, M., & Turpin, M. (2019). Teaching Critical Thinking, Problem Solving, and Design Thinking: Preparing IS Students for The Future. Journal of Information Systems Education, 30(4), 242-252.
NCTM. (2000). Principles and Standards for School Mathematics. Virginia: National Council of Teacher of Mathematics.
Paul, R. (1992). Critical Thinking: What, Why, and How. New Directions for Community Colleges, 77, 3-24.
Polya, G. (1957). How To Solve It: A New Aspect of Mathematical Method. New York: Doubleday & Company.
Singapore Curriculum. (2020). Mathematics Syllabuses Secondary One to Four Express Course Normal (Academic) Course. Singapore: Ministry of Education.
The d.school. (2010). Bootcamp bootleg (Thai translation ฉบับภาษาไทย). The d.school. Retrieved November 10, 2021, from https://iohhmblog.files.wordpress.com/2017/10/d-school-bootcamp-bootleg-thai.pdf