ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อเครื่องสำอางผ่านแอปพลิเคชันเซโฟราในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุความตั้งใจซื้อเครื่องสำอางผ่านแอปพลิเคชันเซโฟราในประเทศไทย และ 2) ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อเครื่องสำอางผ่านแอปพลิเคชันเซโฟราในประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามออนไลน์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่เคยซื้อเครื่องสำอางผ่านแอปพลิเคชันเซโฟราและพักอาศัยในประเทศไทย จำนวน 390 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และโมเดลสมการโครงสร้าง
ผลการวิจัยพบว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านภาพลักษณ์ 2) ด้านการรับรู้ราคา 3) ด้านความไว้วางใจ 4) ด้านความคุ้มค่า และ 5) ด้านความตั้งใจซื้อ สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นอย่างดี โดยพิจารณาจาก ค่า CMIN/df = 1.71, ค่า GFI = 0.93, ค่า AGFI = 0.90, ค่า SRMR = 0.07, ค่า RMSEA = 0.04 และค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ = 0.81 แสดงว่าตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของความตั้งใจซื้อเครื่องสำอางผ่านแอปพลิเคชันเซโฟรา ได้ร้อยละ 81 พบว่า ด้านความคุ้มค่าเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลมากที่สุดต่อความตั้งใจซื้อเครื่องสำอางผ่านแอปพลิเคชันเซโฟรา ซึ่งถ้าผู้ประกอบการทำให้ผู้บริโภครับรู้ถึงขั้นตอนการผลิตที่ได้มาตรฐานและตอบโจทย์การใช้งานได้ดี จะทำให้ผู้บริโภคเกิดความตั้งใจซื้อเครื่องสำอางผ่านแอปพลิเคชันเซโฟราในอนาคต
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
กฤษฎา ฟักสังข์ และ สมชาย เล็กเจริญ. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อซ้ำแพ็กเกจทัวร์บนแอปพลิเคชัน Agoda ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 41(3), 37-55. สืบค้นจาก https://rilj.rsu.ac.th/journal/56/article/273
ฐานิสร พันธุ์ครุฑ และ เกษมศานต์ โชติชาครพันธุ์. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อมั่นกับความคุ้มค่าของประชาชนในการเข้ารับบริการจากกระบวนการยุติธรรม. วารสารกระบวนการยุติธรรม, 12(3), 16-25.
นัทธีรา พุมมาพันธุ์. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างภาพลักษณ์และความภักดีของลูกค้า. วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก, 5(1), 103-115. สืบค้นจาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SB_Journal/article/view/151187
ปาณิศา ศรีละมัย และ ศุภชาต เอี่ยมรัตนกูล. (2561). อิทธิพลของความไว้วางใจที่มีต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้าที่มีส่วนผสมจากธรรมชาติผ่านร้านค้าปลีก. วารสารสหวิทยาการวิจัยฉบับบัณฑิตศึกษา, 7(2), 69-78. สืบค้นจาก https://so03.tci-thaijo.org/ index.php/JIRGS/article/view/229650
พิชชากร ศิริมณฑา. (2563, 27 มิถุนายน). วิเคราะห์ Sephora ที่ใช้เทคโนโลยีกับธุรกิจอย่างลงตัว. สืบค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2565, จาก https://www.everydaymarketing.co/business-and-marketing-case-study/beauty/sephora-technology-beauty-brand/
เว็บไซต์ Mellow Yellow. (2015). 13 เรื่องจริง Sephora ร้านความงามอันโด่งดังจากฝรั่งเศส. สืบค้นเมื่อ 23 ตุลาคม 2565, จาก https://www.marketingoops.com/reports/13-sephora-facts/
ศุภากร ชินวุฒิ. (2561). ความตั้งใจในการจองห้องพักผ่านทางเว็บไซต์ของโรงแรม. วารสารระบบสารสนเทศด้านธุรกิจ, 4(1), 6-21.
สมชาย เล็กเจริญ และ ชัญญา นุตตะไลย์. (2564). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อบัตรคอนเสิร์ตบนแอปพลิเคชันทิคเก็ตเมล่อนของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารบัณฑิตศาส์น มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 20(1), 15-24.
สมชาย เล็กเจริญ และ ณวรรษ ชัยศรี. (2564). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าแฟชั่นบนอินสตาแกรมของผู้บริโภคในประเทศไทย. วารสารศิลปการจัดการ, 5(2), 513-528. สืบค้นจาก
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jam/article/view/248325/168369
สมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย. (2564, 30 ธันวาคม). แนวโน้มตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย 2565. สืบค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2565, จาก https://kmc.exim.go.th/detail/economy-news/20211230082019
สุธีรา เดชนครินทร์, ธนัญญา ยินเจริญ และ อัคญาณ อารยะญาณ. (2565). บทบาทความไว้วางใจของผู้ซื้อที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าในตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 20(1), 29-43.
สุมามาลย์ ปานคำ และ พชรพล จันทร์จริยากุล. (2564). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อคอร์สเรียน TOEIC ออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารศิลปการจัดการ, 6(3), 103-117. สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jam/article/view/246185
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2565, 23 สิงหาคม). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2565. สืบค้นเมื่อ 23 ตุลาคม 2565, จาก https://www.etda.or.th/th/
Athapaththu, J. C., & Kulathunga, K. M. S. D. (2018). Factors Affecting Online Purchase Intention: A Study of Sri Lankan Online Customers. Journal of Scientific & Technology Research, 7(9), 119-128.
Che-Hui Lien., et al. (2015). Online Hotel Booking: The Effects of Brand Image, Price, Trust and Value on Purchase Intentions. Asia Pacific Management Review, 8(1), 210-218.
Das, N., Dotson, M., & Henson, J. N. (2014). The Influence of Affective Trust on Brand Extension Quality Perceptions and Purchase Intentions. International Journal of Business and Social Science, 6(1), 9-16.
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J. & Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis. (7th ed.). New Jersey: Prentice Hall.
Hair, J. F., Hult, G. T. M., Ringle, C. M., & Sarstedt, M. (2014). A Primer on Partial Least Squares Structural Equation Modeling (PLS-SEM). California: Sage Publications.
Hoelter, J. W. (1983). The Effects of Role Evaluation and Commitment on Identity Salience. Social Psychology Quarterly, 46(2), 140-147. https://doi.org/10.2307/3033850
Hu, L.T., & Bentler, P. M. (1999). Cutoff criteria for fit indexes in covariance structure analysis: conventional criteria versus new alternatives. Structural Equation Modeling, 6(1), 1-55. https://doi.org/10.1080/10705519909540118
Joreskog, K. G., & Sorbom, D. (1984). Advances in Factor Analysis and Structural Equation Models. Lanham: Rowman & Littlefield Publishers.
Kline, R. B. (2011). Principles and Practices of Structural Equation Modeling. (3rd ed.). New York: The Guilford Press.
Lee, S., & Phau, I. (2018). Young Tourists’ Perceptions of Authenticity, Perceived Value and Satisfaction: The Case of Little India, Singapore. Young Consumers, 19, 70-86.
Persoskie, A., Nguyen, A. B., Kaufman, A. R., & Tworek, C. (2017). Measures for Awareness of The Dangers of E-cigarettes and Smokeless Tobacco Compared to Cigarettes. Addictive Behavior 67, 100-105.
Schreiber, J. B., Stage, F. K., King, J., Nora, A., & Barlow, E. A. (2006). Reporting structural equation modeling and confirmatory factor analysis results: A Review. The Journal of Educational Research, 99(6), 323-337. https://doi.org/10.3200/JOER.99.6.323-338
Schumacker, R. E., & Lomax, R. G. (2004). A Beginner's Guide to Structural Equation Modeling. (2nd ed.). New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates Publishers.
Thompson, B. (2004). Exploratory and Confirmatory Factor Analysis: Understanding Concepts and Applications. Washington, D.C.: Psychological Association.
Ullman, M. T. (2001). The declarative/procedural model of lexicon and grammar. Journal of Psycholinguistic Research, 30(1), 37-69. https://doi.org/10.1023/A:1005204207369