ผลการใช้ปฏิทินกิจกรรมสัมผัสเพื่อลดการกระตุ้นเตือนพฤติกรรมการเข้าห้องน้ำของเด็กหูหนวกตาบอด

Main Article Content

กาญจนา มงค์คลสำโรง
พิกุล เลียวสิริพงศ์
รัชนีกร ทองสุขดี
สร้อยสุดา วิทยากร

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการใช้ปฏิทินกิจกรรมสัมผัสเพื่อลดการกระตุ้นเตือนพฤติกรรมการเข้าห้องน้ำของเด็กหูหนวกตาบอด รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลอง กรณีศึกษาเป็นเพศหญิง อายุ 12 ปี มีภาวะหูหนวกตาบอดมาตั้งแต่กำเนิดและได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าบกพร่องทางการเห็นและบกพร่องทางการได้ยิน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ชนิด คือ 1) แบบประเมินการเลือกบัตรสัญลักษณ์สื่อสัมผัสที่แสดงความหมายของการเข้าห้องน้ำ 2) แผนการสอนเฉพาะบุคคล (IIP) 3) แบบบันทึกพฤติกรรมของกรณีศึกษาและครูผู้สอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ฐานนิยม และการบรรยายเชิงพรรณนา


ผลการวิจัยพบว่า 1. กรณีศึกษาเลือกบัตรตามความหมายของการเข้าห้องน้ำ 10 ขั้นตอน เพื่อนำมาใช้เป็นปฏิทินกิจกรรมสัมผัสการจัดวางตามลำดับขั้นของการเข้าห้องน้ำ 10 ขั้นตอน ได้ด้วยตนเอง 2. ผลการสอนตามแผนการสอนเฉพาะบุคคลที่ 1-3 พบว่า 1) กรณีศึกษาสามารถบอกความหมายของบัตรสัญลักษณ์สื่อสัมผัสได้ทั้ง 10 บัตร 2) สามารถเรียงลำดับปฏิทินกิจกรรมสัมผัสทั้ง 10 ขั้นตอน และ 3) ใช้ปฏิทินกิจกรรมสัมผัสในการปฏิบัติตามขั้นตอนเข้าห้องน้ำได้ด้วยตนเองผ่านเกณฑ์ระดับ 4 คะแนนฐานนิยม 4 ทั้ง 3 แผน 


 

Article Details

How to Cite
มงค์คลสำโรง ก., เลียวสิริพงศ์ พ., ทองสุขดี ร., & วิทยากร ส. (2023). ผลการใช้ปฏิทินกิจกรรมสัมผัสเพื่อลดการกระตุ้นเตือนพฤติกรรมการเข้าห้องน้ำของเด็กหูหนวกตาบอด. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(6), 3064–3082. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jmhs1_s/article/view/266728
บท
บทความวิจัย

References

ทิศนา แขมมณี. (2551). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กำหนดประเภทและหลักเกณฑ์ของคนพิการทางการศึกษา พ.ศ. 2552. (2552, 8 มิถุนายน). ราชกิจจานุเบกษา, 126(ตอนพิเศษ 80 ง), น. 47.

ไมล์, บี., และ ริจจิโอ, เอ็ม. (2547). ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะหูหนวกตาบอด (Understanding deaf blindness). ใน รัชนีกร ทองสุขดี (ผู้แปลและเรียบเรียง), บทสนทนาที่ไม่ธรรมดา: คำแนะนำในการพัฒนาการสนทนาที่มีความหมายกับเด็กและผู้ใหญ่ตอนต้นที่มีภาวะหูหนวกตาบอด (น. 20-37). เชียงใหม่: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ยุวดี วิริยางกรู, ภทรา นาพนัง, และ วนิดา สินเบญจพงศ์. (2561). การจัดการพฤติกรรมสำหรับครูการศึกษาพิเศษ. เชียงใหม่: ลีโอมีเดียดีไซน์.

สมเกตุ อุทธโยธา. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรวมสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ตามแนวทางการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้วิธีการนิเทศแบบพี่เลี้ยง ของเครือข่ายความร่วมมือขององค์กรในชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 12(1), 226-240.

สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขึ้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). คู่มือการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program: IEP). สืบค้นจาก https://pubhtml5.com/rqbh/rtcv/basic/

อัชรา เอิบสุขสิริ. (2557). จิตวิทยาสำหรับครู. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Adatto, D. (2015). Behavior management vs. Behavior modification. Retrieved from www.tesidea.com/blog/behavior-management-vs-behavior-modification/

Blaha, R., & Rudin, D. (1981). Teaching time concepts through the use of concrete calendars. Unpublished. Texas School for the Blind and Visually Impaired. Retrieved from https://www.tsbvi.edu/let-me-check-my-calendar

Bronfenbrenner, U. (1979). The ecology of human development: Experiments by nature and design. Cambridge, MA: Harvard University.

Lihui, Z. (1993). The development the concept of calendar time. United States: University of Illinois

at Urbana-Champaign.

Miles, B., & Riggio, M. (1999). Remarkable conversation: A guide to developing meaningful communication with children and young adults who are deafblind. Watertown, MA: Perkins School for the Blind.

Rowland, C., & Schweigert, P. (1989). Tangible symbols: Symbolic communication for individuals with multisensory impairments. AAC: Augmentative and Alternative Communication, 5(4), 226-234. Retrieved from https://doi.org/10.1080/07434618912331275276

Thorndike, E. L. (1923). Education a first book. New York: The Macmillan Company.

Yoshinaga-Itano, C., & Apuzzo, M.-R. L. (1998). Identification of hearing loss after age 18 months is not early enough. American Annals of the Deaf, 143(5), 380-387. https://doi.org/10.1353/aad.2012.0151