การกำหนดราคามาตรฐานอุตสาหกรรมอาหารเดลิเวอรี่ผ่านแอปพลิเคชันออนไลน์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) บอกปัจจัยต่อราคาอาหารเดลิเวอรี่ 2) หาระดับปัจจัยต่อราคาอาหารเดลิเวอรี่ และ 3) หาราคาอาหารเดริเวอรี่ผ่านปัจจัยกำหนด รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณใช้แนวคิดปัจจัยกำหนดคุณลักษณะของโครงสร้าง สิ่งแวดล้อมและการเข้าถึงกรอบวิจัยในพื้นที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กลุ่มเป้าหมายคือผู้สั่งซื้อในแอปพลิเคชัน กลุ่มตัวอย่าง 6 แอปพลิเคชันยอดการสั่งสูงสุด 100 ร้านแรกร้านละ 3-4 เมนูอาหารสั่ง รวม 2,017 รายการ ใช้วิเคราะห์สถิติสมการถดถอยพหุคูณหาราคาอาหารผ่านตัวแปรกำหนดราคาอาหารวิธี Hedonic Price ผลการวิจัยพบว่า
1) ปัจจัยด้านโครงสร้างคือ ประเภทอาหารแยกการปรุงอาหาร จำนวนรายการอาหารที่สั่งของร้านค้า อาหารแยกตามประเทศ ระดับดาวของอาหาร และการเพิ่มเติมเครื่องปรุง ปัจจัยการเข้าถึงคือการสั่งอาหารเดลิเวอรี่ ฟรีค่าส่ง ซื้อหนึ่งแถมหนึ่ง ซื้อหนึ่งแถมสอง ซื้อครบ200บาทลดราคา การได้โปรโมชันเพิ่ม ฟรีสินค้าเพิ่มเติม ประเภทแอปพลิเคชันที่สั่งอาหารและราคาค่าขนส่ง
2) ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาอาหารเดลิเวอรี่ผ่านแอปพลิเคชันออนไลน์ได้แก่ ความพึงพอใจต่อราคาอาหารเดลิเวอรี่ผ่านแอปพลิเคชันออนไลน์ รองลงมาคือ ราคาค่าขนส่งอาหาร โปรโมชันฟรีแถมอาหารเพิ่ม
3) ราคาอาหารเดลิเวอรี่ผ่านแอปพลิเคชันออนไลน์แยกประเภทการปรุงอาหาร ประเทศอาหารและแอปพลิเคชันมีราคาแตกต่างกันตามปัจจัยสภาพแวดล้อม การเข้าถึงและคุณสมบัติอาหาร
ส่งผลกระทบต่อราคาอาหาร
องค์ความรู้งานวิจัยนี้ การรับข้อมูลสมบูรณ์การกำหนดราคาอาหารเดลิเวอรี่งานวิจัยเป็นเกณฑ์ในการสั่งอาหารเดลิเวอรี่ได้ ตามปัจจัยการเข้าถึง คุณสมบัติอาหารและสภาพแวดล้อมของแอปพลิเคชัน การรับข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์ ราคาอาหารเดลิเวอรี่จึงผันผวนไม่แน่นอน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
จุฑามาศ ศรีรัตนา. (2561). พฤติกรรมการเลือกใช้บริการผ่านแอปพลิเคชันสั่งอาหารออนไลน์ของผู้บริโภค ในช่วงการระบาดของไวรัสโควิด-19. วารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทาง มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(3), 118-128. สืบค้นจาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hsrnj/article/download/253657/171620/917655.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2563). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2566, 5 มกราคม). ทิศทาง Food Delivery ปี 66? หลังผู้บริโภคกลับมาใช้ชีวิตปกติ. สืบค้นเมื่อ 9 มกราคม 2566, จาก https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-social-media/Pages/FoodDelivery-FB-05-01-2023.aspx
อำพล นววงศ์เสถียร. (2557). พฤติกรรมการตัดสินใจของผู้บริโภคในร้านค้าออนไลน์ในกรุงเทพมหานคร. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 5(2), 134-149. สืบค้นจาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/20161
Andersson, D. E. (2010). Hotel Attributes and Hedonic Prices: An Analysis of Internet-Based Transactions in Singapore’s Market for Hotel Rooms. The Annals of Regional Science, 44(2), 229-240. Retrieved from https://link.springer.com/article/10.1007/s00168-008-0265-4
Arunuphookin, N., & Kosakarika, S. (2023). A Study of Attitudes and Consumer Behavior Influencing Process of Food Purchase via Application in Bangkok. Journal of Humanities and Social Science, 9(1), 313-326. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/issue/view/17442
Barzel, Y. (1997). Economic Analysis of Property Rights. Cambridge: Cambridge University Press.
Hew, J. J., Lee, V. H., Ooi, K. B., & Wei, J. (2015). What Catalyses Mobile Apps Usage Intention: An Empirical Analysis. Industrial Management & Data Systems, 115(7), 1269-1291. https://doi.org/10.1108/IMDS-01-2015-0028
Jiradilok, P., Aujirapongpan, S., & Raksayot, N. (2021). Motivation and Purchasing Behavior of Community Products of Consumers in the Online Market. Case Study: Krajood Wicker Products. Journal of International Studies, Prince of Songkla University, 11(2), 249–279. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jis/article/view/244664
Puangmaha, L. (2023). Model of Customer Experience Management in Food Delivery Businesses. Journal of Public Relations and Advertising, 16(1), 1-21. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jprad/article/view/263386
Pukpungsakorn, K., Somvipat, W., Keitpiriya, S., Ratanachai, N., & Praditthum, C. (2021). Factors Affecting Consumers in Making Decisions in Using Online Food Delivery Services in the New Normal Period. Humanities and Social Sciences Nakhon Sawan Rajabhat University Academic Journal, 8(2) 73-87. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/hssnsru/issue/view/17121
Stanley, L. R. Tschirhart, J. T., & Anderson, J. (1991). A Hedonic price analysis of nutritionally Labeled breakfast cereals: Implications for nutrient labeling. Journal of Nutrition Education, 23(5), 231-238. https://doi.org/10.1016/S0022-3182(12)81253-2
Wem, H, Pookulangara, S., & Josiam, B.M. (2022). A comprehensive examination of consumers’ intentions to use food delivery apps. British Food Journal, 124(5) 1737-1754. https://doi.org/10.1108/BFJ-06-2021-0655.
Zanetta, L. D., Hakim, M. P., Gastaldi, G. B., Seabra, L., Rolim, P. M., Nascimento, L. G. P., Medeiros C. O., & Cunha, D. T. (2021). The Use of Food Delivery Apps During the COVID-19 Pandemic in Brazil: The Role of Solidarity, Perceived Risk, and Regional Aspects. Food Research International, 149(1), 110671. https://doi.org/10.1016/j.foodres.2021.110671