รูปแบบการบริหารจัดการการเงินที่เพียงพอเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยเกษียณของบุคลากรทางการศึกษา กรณีศึกษามหาวิทยาลัยเอกชนในเขตกรุงเทพ และปริมณฑล

Main Article Content

สุนิ ประจิตร
ศิรชญาน์ การะเวก
บุรพร กำบุญ
สุชาติ ปรักทยานนท์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อรูปแบบการบริหารจัดการการเงินที่เพียงพอเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยเกษียณของบุคลากรทางการศึกษา กรณีศึกษามหาวิทยาลัยเอกชนในเขตกรุงเทพและปริมณฑล  และ 2) ศึกษารูปแบบการเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยเกษียณของบุคลากรทางการศึกษา กรณีศึกษามหาวิทยาลัยเอกชนในเขตกรุงเทพและปริมณฑล การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรทางการศึกษาสถาบันอุดมศึกษามหาวิทยาลัยเอกชน ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล จำนวน 300 ราย และการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรทางการศึกษา ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป จำนวน 10 ราย สถิติที่ใช้ในวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างโดยใช้เครื่องมือทางสถิติ Structural Equation Modeling (SEM)


ผลการวิจัยพบว่า โมเดลความสัมพันธ์ที่พัฒนาขึ้น ประกอบไปด้วย 1) ความรู้ด้านการเงิน 2) รูปแบบการลงทุน และ 3) การวางแผนเกษียณ สอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยปัจจัยความรู้ทางการเงินมีอิทธิพลทางตรงต่อการวางแผนเกษียณ เท่ากับ 0.692 มีอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อความพร้อมเข้าสู่วัยเกษียณ เท่ากับ 0.663 ส่วนรูปแบบการลงทุนมีอิทธิพลทางตรงต่อการวางแผนเกษียณ เท่ากับ 0.055 มีอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อความพร้อมเข้าสู่วัยเกษียณ เท่ากับ0.176 และการวางแผนเกษียณมีอิทธิพลทางตรงต่อความพร้อมเข้าสู่วัยเกษียณ เท่ากับ 0.412 สำหรับรูปแบบการเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยเกษียณของบุคลากรทางการศึกษา กรณีศึกษามหาวิทยาลัยเอกชนในเขตกรุงเทพและปริมณฑล พบว่า ประกอบไปด้วยปัจจัยด้านความรู้ทางการเงินเป็นสำคัญ รองลงมาคือการวางแผนเกษียณ และรูปแบบการลงทุน

Article Details

How to Cite
ประจิตร ส., การะเวก ศ., กำบุญ บ., & ปรักทยานนท์ ส. (2024). รูปแบบการบริหารจัดการการเงินที่เพียงพอเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยเกษียณของบุคลากรทางการศึกษา กรณีศึกษามหาวิทยาลัยเอกชนในเขตกรุงเทพ และปริมณฑล. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(1), 116–131. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jmhs1_s/article/view/267806
บท
บทความวิจัย

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ, กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.). (2565). สถิติผู้สูงอายุของประเทศไทย 77 จังหวัด ณ.วันที่ 31 ธันวาคม 2565. สืบค้นจาก https://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/1766

กาญจนา หงส์ทอง. (2551). เข็มทิศการเงิน. กรุงเทพฯ: กรุงเทพธุรกิจ.

เข็มเพขร เจริญรัตน์ และคณะ. (2550). การเงินธุรกิจ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2556). รายงานผลการสำรวจทักษะทางการเงินของไทย ปี 2556. สืบค้นจาก https://www.bot.or.th/content/dam/bot/image/research-and-publications/2556ThaiFLsurvey.pdf

บรรลุ ศิริพานิช. (2550). คู่มือผู้สูงอายุ: ฉบับเตรียมตัวก่อนสูงอายุ (เตรียมตัวก่อนเกษียณการงาน). กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน

ประชา บุญมา และ วิชิต อู่อัน. (2564). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการวางแผนเกษียณอายุของพนักงานบริษัทเอกชนในประเทศไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 16(2), 171-183. สืบค้นจาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/trujournal/article/view/252596

พรรณุภา ธุวนิมิตรกุล (2553). การเงินธุรกิจ. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มนสิการ กาญจนะจิตรา, สุภรต์ จรัสสิทธิ, และ ชื่นฤทัย กาญจนะจิตรา. (2555). เกษียณเมื่อไหร่ ให้ใครกำหนด. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2561, 7 ธันวาคม). รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2560. สืบค้นจาก https://thaitgri.org/?p=38607

ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร. (2565, 18 มกราคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 139, ตอนพิเศษ 12ง, หน้า 10. สืบค้นจาก https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2565/E/012/T_0010.PDF

Bodie, Z., Treussard, J., & Willen, P. (2007). The Theory of Life-Cycle Saving and Investing. FRB of Boston Public Policy Discussion Paper N. 07-3. Retrieved from http://dx.doi.org/10.2139/ssrn.1002388

Chaffin, C.R. (2013). The Financial Planning Competency Handbook. Canada: John Wiley & Sons.

Coile, C.C. (2015). Economic Determinants of Workers’ Retirement Decisions. Journal Economic Surveys, 29(4), 830-853. https://doi.org/10.1111/joes.12115

Davis, G. D., & Chen, Y. (2008). Age Differences in Demographic Predictors of Retirement Investment Decisions. Educational Gerontology, 34(3), 225-246. https://doi.org/10.1080/03601270701838365

Diamantopoulos, A., & Siguaw, J. A. (2000). Introducing LISREL. London: Sage. https://doi.org/10.4135/9781849209359

Garman, E.T., & Forgue, R. (2011). Personal Finance. (11th ed.). Cengage Learning.

Hair, J., Anderson, R., Tatham, R. and Black, W. (1998). Multivariate Data Analysis. (5th ed.). New Jersey: Prentice Hall.

Harrison-Walker, L. J. (2001). The Measurement of Word-of-Mouth Communication and an Investigation of Service Quality and Customer Commitment as Potential Antecedents. Journal of Service Research, 4(1), 60–75. https://doi.org/10.1177/109467050141006

Kapoor, J. R., Dlabay, L. R., & Hughes, R. J. (2009). Personal Finance. (9th ed). McGraw-Hill.

Leedy, J.J., & Wynbrandt, J. (1987). Executive Retirement Management: A Manager's Guide to the Planning and Implementation of a Successful Retirement. Hardcover.

Lusardi, A., & Mitchell, O.S. (2006). Financial Literacy and Planning: Implication for Retirement Wellbeing. Pension Research Council, The Wharton School, University of Pennsylvania.

Mithcell, O., & Utkus, S.P. (2006). How Behavioral Finance Can Inform Retirement Plan Design1. Journal of Applied Corporate Finance, 18(1), 82-94. DOI: 10.1111/j.1745-6622.2006.00076.x

Mokaya, K.N., & Maina, K. (2017). Financial Factors Affecting Retirement Planning by Savings and Credit Cooperative Employees in Nakuru Town, Kenya. The International Journal of Business & Business & Management, 5(10). Retrieved from https://www.internationaljournalcorner.com/index.php/theijbm/article/view/125423

OECD. (2014). Education at a Glance 2014: OECD Indicators. OECD Publishing. Retrieved from http://dx.doi.org/10.1787/eag-2014-en

Papalia, D.E., & Olds, S. W. (1995). Human Development. (6th ed.). New York: McGraw-Hill.

Selvadurai, V., Kenayathulla, H.B., & Siraj, S. (2018). Financial Literacy Education and Retirement Planning in Malaysia. Malaysian Online Journal of Educational Management (MOJEM), 6(2), 41-66. https://doi.org/10.22452/mojem.vol6no2.3

Tapia, W., & Yermo, J. (2007). Implications of Behavioural Economics for Mandatory Individual Account Pension Systems. SSRN Electronic Journal. DOI:10.2139/ssrn.1217604