การพัฒนาแบบวัดอภิปัญญาแบบพหุมิติ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น: การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบพหุมิติภายในข้อสอบ

Main Article Content

ปิยะณัฐ กันทา
สุรชัย มีชาญ
มนตา ตุลย์เมธาการ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและพัฒนาแบบวัดอภิปัญญาแบบพหุมิติสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และ 2) เพื่อตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดอภิปัญญาแบบพหุมิติสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา โดยใช้กรอบแนวคิดอภิปัญญาของ Flavell กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1-3 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ จำนวน 1,072 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดอภิปัญญาแบบพหุมิติสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และ Multidimensional Graded – Response Model ผลการวิจัยพบว่า


1. แบบวัดอภิปัญญาแบบพหุมิติสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีจำนวน 22 ข้อ ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบวัดเชิงสถานการณ์ จำนวน 5 สถานการณ์ แบบปรนัย 4 ตัวเลือก โดยแบบวัดนี้มีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.80 - 1.00 มีค่าอำนาจจำแนก ตั้งแต่ 0.233 ถึง 0.535 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.825


2. คุณภาพของแบบวัดอภิปัญญาแบบพหุมิติสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น พบว่า แบบวัดมีความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างแบบพหุมิติ (c2 = 148.721, df = 123, p-value = 0.057) ค่าพารามิเตอร์ความชันร่วมของข้อคำถามมิติที่ 1 มิติด้านความรู้ในอภิปัญญา มีค่าระหว่าง 0.949 ถึง 2.235 ส่วนค่าพารามิเตอร์ความชันร่วมของข้อคำถามมิติที่ 2 มิติด้านประสบการณ์ในอภิปัญญามีค่าตั้งแต่ 0.110 ถึง 3.095 สำหรับค่าพารามิเตอร์ Threshold มีลักษณะการเรียงลำดับคือ β1 < β2 < β3 ทุกข้อ และมีค่าความเชื่อมั่นแบบพหุมิติแบบ EAP มิติด้านความรู้ในอภิปัญญา เท่ากับ 0.859 และมิติด้านประสบการณ์ในอภิปัญญา เท่ากับ 0.862

Article Details

How to Cite
กันทา ป., มีชาญ ส., & ตุลย์เมธาการ ม. (2024). การพัฒนาแบบวัดอภิปัญญาแบบพหุมิติ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น: การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบพหุมิติภายในข้อสอบ. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(1), 61–80. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jmhs1_s/article/view/268786
บท
บทความวิจัย

References

กลุ่มสารสนเทศ สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2566). สถิติข้อมูลทางการศึกษา ปีการศึกษา 2566. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2566 จาก http://www.bopp.go.th/?page_id=1828.

ชัยวิชิต เชียรชนะ. (2552). การวิเคราะห์พหุมิติ (Multidimensional Analysis). วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 32(4), 13-22. สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDKKUJ/article/view/49858

ทิศนา แขมมณี และคณะ. (2544). วิทยาการด้านการคิด. กรุงเทพฯ: เดอะมาสเตอร์กรุ๊ปแมนเนจเมนท์.

ปาริชาติ ทาโน, ศิริชัย กาญจนวาสี และ โชติกา ภาษีผล. (2561). การตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของแบบวัดอภิปัญญาของนักศึกษาพยาบาลด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน. วารสารเกื้อการุณย์, 25(2), 7-20. สืบค้นจาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kcn/article/view/160995

พรพิมล ระวันประโคน และสมบัติ ท้ายเรือคำ. (2562). การพัฒนาแบบทดสอบออัตนัยพหุมิติ. Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences), 10(4), 13-23. สืบค้นจาก https://www.journal.nu.ac.th/JCDR/article/download/1615/1198/

พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2544). “เมตาคอกนิชัน (Metacognition)”. วิทยาการด้านการคิด. ใน ทิศนา แขมมณี, (บรรณาธิการ). กรุงเทพฯ: เดอะมาสเตอร์กรุ๊ปแมนเนจเมนท์.

ศศิธร เยื่อใย, ธิติยา บงกชเพชร และ ปราณี นางงาม. (2563). การพัฒนาอภิปัญญาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง การเจริญเติบโตและการตอบสนองของพืช สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์, 15(2), 149-158. สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Pitchayatat/article/view/244332

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2556). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2563). ทฤษฎีการทดสอบแนวใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมศักดิ์ ภู่วิภาดาวรรธน์. (2544). การยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและการประเมินตามสภาพจริง. เชียงใหม่: The Knowledge Center.

Anderson, L. W., & Krathwohl, D. R. (2001). A Taxonomy for Learning, Teaching and Assessing: A Revision of Bloom’s Taxonomy of Educational Objectives. New York: Longman.

Baker, L., & Brown, A. L. (1980). Metacognitive Skill and Reading. Illinois: Center for the Study of Reading.

Beyer, B. K. (1987). Practical Strategies for the Teaching of Thinking. Boston: Allyn and Bacon.

Costa, A. L. (1984). Mediating the Metacognitive. Educational Leadership, 11, 57-62. Retrieved from https://files.ascd.org/staticfiles/ascd/pdf/journals/ed_lead/el_198411_costa.pdf

Cross, D. R., & Paris, S.G. (1988). Developmental and Instructional Analyses of Children’s Metacognition and Reading Comprehension. Journal of Educational Psychology, 80(2), 131-142. https://doi.org/10.1037/0022-0663.80.2.131

Flavell, J. H. (1979). Metacognition and Cognitive Monitoring: A New Area of Cognitive Development Inquiry. American Psychologist, 34(10), 906-911. https://doi.org/10.1037/0003-066X.34. 10.906

Flavell, J.H. (1985). Cognitive Development. New Jersey: Prentice-Hall.

Jiang, S., Wang, C., & Weiss, D. J. (2016). Sample Size Requirements for Estimation of Item Parameters in the Multidimensional Graded Response Model. Frontiers in Psychology, 7(109), 1-10. https://doi.org/10.3389/fpsyg.2016.00109

O’Neil, H. F., & Abedi, J. (1996). Reliability and Validity of a State Metacognitive Inventory: Potential for Alternative Assessment. The Journal of Educational Research, 89(4), 234-244. https://doi.org/10.1080/00220671.1996.9941208

Pintrich, P. R., & de Groot, E. V. (1990). Motivational and Self-regulated Learning Components of Classroom Academic Performance. Journal of Educational Psychology, 82(1), 33-40. https://doi.org/10.1037/0022-0663.82.1.33

Reckase, M. D. (2009). Multidimensional Item Response Theory. New York: Springer.

Schraw, G., & Dennison, R. S. (1994). Assessing Metacognitive Awareness. Contemporary Educational Psychology, 19, 460-475. https://doi.org/10.1006/ceps.1994.1033

Wilson, M., & Hoskens, M. (2005). Multidimensional Item Responses: Multimethod-Multitrait Perspectives. In: Maclean, R., et al. Applied Rasch Measurement: A Book of Exemplars. Education in the Asia-Pacific Region: Issues. Concerns and Prospects. Vol 4. Springer, Dordrecht. https://doi.org/10.1007/1-4020-3076-2_16