ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อน้ำมันเครื่องสำหรับยานยนต์ผ่านไลน์ออฟฟิเชียลแอคเคาท์ ของลูกค้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

Main Article Content

ปุณปวีร์ ลายดี
สุมามาลย์ ปานคำ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการตัดสินใจซื้อน้ำมันเครื่องสำหรับยานยนต์ผ่านไลน์ออฟฟิเชียลแอคเคาท์ของลูกค้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2) เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อน้ำมันเครื่องสำหรับยานยนต์ผ่านไลน์ออฟฟิเชียลแอคเคาท์ของลูกค้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างคือลูกค้าที่เคยซื้อน้ำมันเครื่องสำหรับยานยนต์ผ่านไลน์ออฟฟิเชียลแอคเคาท์ และพักอาศัยในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 340 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และโมเดลสมการโครงสร้างผลการวิจัยพบว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์ 2) ด้านราคาผลิตภัณฑ์ 3) ด้านแรงจูงใจ และ 4) ด้านการตัดสินใจซื้อ สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นอย่างดี โดยพิจารณาจากค่า CMIN/df = 2.15, ค่า GFI = 0.95, ค่า AGFI = 0.92, ค่า SRMR = 0.03, ค่า RMSEA = 0.05 และค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ = 0.63 แสดงว่าตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของการตัดสินใจซื้อน้ำมันเครื่องสำหรับยานยนต์ผ่านไลน์ออฟฟิเชียลแอคเคาท์ ได้ร้อยละ  63 พบว่า ด้านแรงจูงใจ ด้านราคาผลิตภัณฑ์ และด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์มีอิทธิพลทางตรงต่อการตัดสินใจซื้อของลูกค้า ตามลำดับ ซึ่งผู้ประกอบการที่ขายน้ำมันเครื่องสำหรับยานยนต์ควรคำนึงถึงด้านแรงจูงใจ และด้านราคาผลิตภัณฑ์เป็นสำคัญเพื่อให้เกิดการตัดสินใจซื้อน้ำมันเครื่องสำหรับยานยนต์ผ่านไลน์ออฟฟิเชียลแอคเคาท์

Article Details

How to Cite
ลายดี ป., & ปานคำ ส. (2024). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อน้ำมันเครื่องสำหรับยานยนต์ผ่านไลน์ออฟฟิเชียลแอคเคาท์ ของลูกค้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(4), 2026–2042. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jmhs1_s/article/view/271060
บท
บทความวิจัย

References

กนกพัชร์ กอประเสริฐ, วัลลภา วิชญาวงศ์, นิตยา งามยิ่งยง, เฌอมินทร เศรษฐธีราธัญ และ ผ่องใส สินธุสกุล. (2563). "ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางของ Generation Y ผ่านเครือข่ายสังคม ออนไลน์ในจังหวัดนครปฐม. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 5(1), 15-28. สืบค้นจาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journalcim/article/view/246440

กฤษฎา ฟักสังข์ และ สมชาย เล็กเจริญ.(2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อซ้ำแพ็กเกจทัวร์บนแอปพลิเคชัน Agoda ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 41(3), 37-55. สืบค้นจาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/utccjournalhs/article/view/246946

คอนเทนต์ ชิฟุ. (2564). LINE OA คืออะไร? ใช้หาลูกค้าได้อย่างไร? บทความนี้บอกครบ. สืบค้นเมื่อ 4 ตุลาคม 2566, จาก https://contentshifu.com/blog/what-is-line-oa

จันทร์ทิพย์ ทัง, บํารุง ตั้งสง่า และ ชเนตตี พิพัฒนางกูร. (2566). การศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์หมอนยางพาราของผู้บริโภคชาวจีน. Procedia of Multidisciplinary Research, 1(5), 1-10. สืบค้นจาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/PMR/article/view/2238

ฉัตรเมือง เผ่ามานะเจริญ. (2565).แรงจูงใจที่่มีต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าบนแพลตฟอร์มช้อปปิ้งออนไลน์ของเจูเนอเรชั่นแซด. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 10(2), 88-104. สืบค้นจาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcosci/article/view/255174

ณัฐวัตร เป็งวันปลูก. 2560. ปัจจัยจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน ของข้าราชการทหารประจำสังกัดกองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 7. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น, มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 9(1), 143-156. สืบค้นจาก http://www.cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1522?locale=th

ไทยแลนด์พลัส. (2566). อัปเดตดิจิทัลโปรไฟล์ของคนไทย ผ่าน 3 คำถาม ด้าน Internet, Social Media และ E-Commerce. สืบค้นเมื่อ 4 ตุลาคม 2566, จาก https://www.thailandplus.tv/archives/712538

นพดล บุรณนัฏ. (2564). การจัดการและคุณภาพของสินค้าที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการให้บริการตลาดโรงเกลือ. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา, 11(2), 343-352. สืบค้นจาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/JDAR/article/view/247066

บุษบา อู่อรุณ, ภาพร ภิยโยดิลกชัย, ปัทมา วิบูลย์จันทร์ และ กานต์กมล นาคศรีสังข์. (2566). การยอมรับเทคโนโลยีและแรงจูงใจที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ในยุคชีวิตวิถีใหม่: กรณีศึกษากลุ่มเบบี้บูมเมอร์ในจังหวัดชลบุรี. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 5(3), 574-582. สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/article/view/260563

ปาณิศา ศรีละมัย. (2561). อิทธิพลของความไว้วางใจที่มีต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้าที่มีส่วนผสมจากธรรมชาติผ่านร้านค้าปลีก. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 7(2), 1-10. สืบค้นจาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/utccjournalhs/article/view/246946

แฟ็คโตมาร์ท. (2565). ประเภทต่างๆ ของสารหล่อลื่น. สืบค้นเมื่อ 4 ตุลาคม 2566, จาก https://mall.factomart.com/type-of-lubricators/

รุ่งนภา บริพนธ์มงคล. (2563). การรับรู้คุณภาพสินค้าและคุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อซ้ำเครื่องทำความสะอาดอุตสาหกรรม. วารสารศิลปการจัดการ, 4(1), 166-179.

วีระพงศ์ เกียรติไพรยศ และ พระครูสุธีสุตสุนทร. (2566). การสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา. วารสารสหวิทยาการทางสังคมศาสตร์, 1(4) 1-12. สืบค้นจาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/bim/article/view/255177

สันติ ถิรพัฒน์ และ ดลชัย ลออนวล. (2565). ผลกระทบของราคาและความคลุมเครือต่อการตัดสินใจซื้อประกันภัยข้าวนาปีในประเทศไทย. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(4), 1454-1473. สืบค้นจาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jmhs1_s/article/view/258757

Changlin, W., & Thompson, S. H. T. (2020). Online service quality and perceived value in mobile government success: An empirical study of mobile police in China. International Journal of Information Management, 52(1), 1-12.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis. (7th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.

Hair, J.F., Hult, G. T. M., Ringle, C. M., & Sarstedt, M. (2014). A Primer on Partial Least Squares Structural Equation Modeling (PLS-SEM), California, CA: Sage Publications.

Hoelter, J. W. (1983). The effects of role evaluation and commitment on identity salience. Social Psychology Quarterly, 46(2), 140–147. https://doi.org/10.2307/3033850

Hu, L.T., & Bentler, P. M. (1999). Cutoff criteria for fit indexes in covariance structure analysis: Conventional criteria versus new alternatives. Structural Equation Modeling, 6(1), 1–55. https://doi.org/10.1080/10705519909540118

Joreskog, K. G., & Sorbom, D. (1984). Advances in factor analysis and structural equation models. Lanham: Rowman & Littlefield Publishers.

Kline, R. B. (2011). Principles and practices of structural equation modeling. (3rd ed.). New York: The Guilford Press.

Schreiber, J. B., Stage, F. K., King, J., Nora, A., & Barlow, E. A. (2006). Reporting structural equation modeling and confirmatory factor analysis results: A review. The Journal of Educational Research, 99(6). 323–337. https://doi.org/10.3200/JOER.99.6.323-338

Schumacker, R. E., & Lomax, R. G. (2004). A beginner's guide to structural equation modeling. (2nd ed.). Mahwah: Lawrence Erlbaum Associates Publishers.

Schumacker, R. E., & Lomax, R. G. (2010). A beginner’s guide to structural equation modeling. (3rd ed.). Routledge/Taylor & Francis Group.

Thompson, B. (2004). Exploratory and confirmatory factor analysis: Understanding concepts and applications. American Psychological Association. https://doi.org/10.1037/10694-000

Ullman, M. T. (2001). The declarative/procedural model of lexicon and grammar. Journal of Psycholinguistic Research, 30(1), 37–69. https://doi.org/10.1023/A:1005204207369