ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการติดตามเพจเฟซบุ๊กประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ในประเทศไทย

Main Article Content

ภัทรวดี ศรีประเสริฐ
สมชาย เล็กเจริญ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุพฤติกรรมการติดตามเพจเฟซบุ๊กประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ในประเทศไทย 2) ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการติดตามเพจเฟซบุ๊กประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ในประเทศไทย รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามออนไลน์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่ติดตามเพจเฟซบุ๊กประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จำนวน 300 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และโมเดลสมการโครงสร้าง


ผลการวิจัยพบว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านทัศนคติ 2) ด้านการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง 3) ด้านความตั้งใจ และ 4) ด้านพฤติกรรม สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นอย่างดี โดยพิจารณาจากค่า CMIN/df = 1.36, ค่า GFI = 0.96, ค่า AGFI = 0.94, ค่า SRMR = 0.02, ค่า RMSEA = 0.03 และค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ = 0.93 แสดงว่าตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมการติดตามเพจเฟซบุ๊กประชาสัมพันธ์  กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้ร้อยละ 93 พบว่า ด้านความตั้งใจติดตาม มีอิทธิพลทางตรงมากที่สุดต่อพฤติกรรมการติดตาม ซึ่งเพจเฟซบุ๊กประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชควรคำนึงถึงความตั้งใจติดตามเป็นสำคัญเพื่อให้เกิดพฤติกรรมการติดตามเพจเฟซบุ๊กประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

Article Details

How to Cite
ศรีประเสริฐ ภ., & เล็กเจริญ ส. (2024). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการติดตามเพจเฟซบุ๊กประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ในประเทศไทย. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(5), 2665–2683. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jmhs1_s/article/view/271213
บท
บทความวิจัย

References

กัญญารัตน์ จงวิไลเกษม. (2562). ทัศนคติของประชาชนที่มีต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 9(3), 174-184. สืบค้นจาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/JDAR/article/view/244029

กาญจนาวดี พวงชื่น และ แสงสรรค์ ภูมิสถาน. (2563). พฤติกรรมการท่องเที่ยวและความต้องการของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุต่อการท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 15(2), 29-42. สืบค้นจาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/tourismtaat/article/view/241938

นวพร ปิยโชคสกุล และ แอนนา จุมพลเสถียร. (2565). การเปิดรับสื่อและทัศนคติของผู้ประกอบการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต ที่มีต่อโครงการภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ (Phuket Sandbox). วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์, 26(2), 149-159. สืบค้นจาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jca/article/view/256486

นลินี พานสายตา. (2565). ความตั้งใจเชิงพฤติกรรมในการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของนักท่องเที่ยวสูงอายุ: กรณีศึกษานักท่องเที่ยวในชมรมผู้สูงอายุ กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 28(1), 168-194. สืบค้นจากhttps://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/huso2/article/view/7535

นันทินี บุญยปรารภชัย และ ประพล เปรมทองสุข. (2566). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความตั้งใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคเจเนอเรชั่นเบบี้บูมเมอร์และเจเนอเรชั่นเอ็กซ์ เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 5(1), 85-99. สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/article/view/258865

นันธิการ์ จิตรีงาม. (2563). พฤติกรรมการสื่อสารบนเครือข่ายสังคมออนไลน์เฟซบุ๊ก และการรู้เท่าทันสื่อของเยาวชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารนิเทศศาสตร์, 39(1), 80-89. สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcomm/article/view/243520

พัชราภรณ์ เกษะประกร. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจในพฤติกรรมพัฒนาความยั่งยืนของนักศึกษาหลังร่วมงานมหกรรมความยั่งยืน 2565. วารสารนักบริหาร, 43(2), 37-57. สืบค้นจาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/executivejournal/article/view/268028

มานน เซียวประจวบ และ นิษา ศักดิ์ชูวงษ์. (2565). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจเชิงพฤติกรรมการท่องเที่ยวทะเลบัวแดง. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 4(3), 101-115. สืบค้นจาก https://so08.tcithaijo.org/index.php/MSJournal/article/view/2847

รัตนาภรณ์ ก้อนทองดี และ แอนนา จุมพลเสถียร. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติ และพฤติกรรมการรับชมรายการข่าว"รายการทุบโต๊ะข่าว. วารสาร Media and Communication Inquiry, 3(2), 1-12. สืบค้นจาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/MCI/article/view/939

วาสนา จันธิมา และ สวรรยา ธรรมอภิพล. (2566). พฤติกรรมการใช้บริการธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 5(6), 1293-1306. สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/article/view/263727

เว็บไซต์ We are social. (2565). Digital 2022: Another Year of Bumper Growth. สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2566, จาก https://wearesocial.com/us/blog/2023/01/digital-2023/

ศิริลักษณ์ ยังประดิษฐ์ และ สุชัญญา สายชนะ. (2566). การยอมรับเทคโนโลยี และพฤติกรรมตามแผนที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภคในประเทศไทย. Procedia of Multidisciplinary Research, 1(7), 82 สืบค้นจาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php /PMR/article/view/2761

สวรรยา สิริภคมงคล. (2566). ความรอบรู้โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง และพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ เขตภาคกลางตอนบน ประเทศไทย. วารสารโรคและภัยสุขภาพสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 3 จังหวัดนครสวรรค์, 17(3), 230-244 สืบค้นจาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JDPC3/view/265432

สุดารัตน์ โตลานุวัตร, วิลาศ ดวงกำเนิด และ ศุภโชค สิทธิโชติ. (2565). พฤติกรรมการชดเชยคาร์บอนของผู้โดยสารชาวไทยเป็นผลมาจากความรู้โดยมีทัศนคติเป็นตัวแปรส่งผ่าน. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร, 19(1), 1-20 สืบค้นจาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/journalmbsmut/article/view/259603

สุมามาลย์ ปานคํา และ ภรณ์พัชร์ เนาวรัตน์ธนากร. (2565). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้โซเชียลมีเดียในการสื่อสารภายในองค์กรของบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(3), 1010-1025. สืบค้นจาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jmhs1_s/article/view/258161

เสกสรร สายสีสด, ชัยธัช กุประดิษฐ์ และ ศรินรัตน์ ศงสนันทน์. (2565). พฤติกรรมการเปิดรับข้อมูลข่าวสารและความพึงพอใจต่อข่าวสารไวรัสโควิด-19 ระบาด ของประชาชนในเขตตำบลนาดี อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส.), 28(1), 81-91. สืบค้นจาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/tgt/article/view/243504

สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2562, สิงหาคม). กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ด้วยการใช้เฟซบุ๊ก (Facebook). สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2566, จาก https://www.senate.go.th

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2565). รายงานผลการสํารวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2565 สืบค้นเมื่อ 28 มีนาคม 2567, จาก

https://www.etda.or.th/getattachment/78750426-4a58-4c36-8d3-d1c11c3db1f3/IUB-65-Final.pdf.aspx

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน). (2563). แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. 2563-2565. สืบค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2566, จาก https://www.dga.or.th/policy-standard/policy-regulation/dga-019/dga-024/dga-029/

อริสา ชูศรี และกัลยกร วรกุลลัฎฐานีย์. (2565). การเปิดรับ ทัศนคติ และแนวโน้มพฤติกรรมของผู้ใช้บริการที่มีต่อสื่อออนไลน์ของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์, 16(1), 154-183. สืบค้นจาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/dpuca/article/view/253200

อาทิชา เพชรพลอย, บํารุง ตั้งสง่า และ ชเนตตี พิพัฒน์นางกูร. (2566). การศึกษาอิทธิพลของทัศนคติส่วนประสมทางการตลาด และการรับรู้ด้านประโยชน์และโทษที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อกาแฟผสมกัญชาในประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 2(2), 1-15. สืบค้นจาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jmsnrru/article/view/2160

อิทธิพล จันทร์รัตนกุล, กมลพร กัลยาณมิตร, สถิต นิยมญาต และ ทัศนีย์ ลักขณาภิชนชัช. (2564). บทบาทของหน่วยงานภาครัฐต่อการใช้สื่อสังคมออนไลน์. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 8(1), 222-234. สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDMCU/article/view/248391

อุษารดี ภู่มาลี, วรงค์ สุขเสวต, เอกวัต วิถีประดิษฐ์, ชุติพงศ์ ร่มสนธิ์ และ ชวาพร ศักดิ์ศรี. (2565). การพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวสัตว์ป่าในพื้นที่มรดกโลกทางธรรมชาติดงพญาเย็น-เขาใหญ่.วารสารศิลปการจัดการ, 6(4), 2208-2228 สืบค้นจาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/journalmbsmut/article/view/259603

Ajzen, I. (1991). The theory of planned behavior. Organizational Behavior and Human Decision Processes, 50(2), 179-211. https://doi.org/10.1016/0749-5978(91)90020-Tgd

Datareportal. (2566). Digital 2023: Thailand. สืบค้นเมื่อ 28 มีนาคม 2567, จาก https://datareportal.com/digital-2023-thailand

Giandi, O., Irawan, I., & Ambarwati, R. (2020). Determinants of Behavior intention and use behavior among Bukalapak’s consumers. IPTEK The Journal for Technology and Science, 31(2), 158-168. http://dx.doi.org/10.12962/j20882033.v31i2.5585

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J. & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis (7th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.

Hair, J. F., Hult, G. T. M., Ringle, C. M., & Sarstedt, M. (2014). A Primer on Partial Least Squares Structural Equation Modeling (PLS-SEM). California, CA: Sage Publications.

Hoelter, J. W. (1983). The effects of role evaluation and commitment on identity salience. Social Psychology Quarterly, 46(2), 140–147. https://doi.org/10.2307/3033850

Hu, L.T., & Bentler, P. M. (1999). Cutoff criteria for fit indexes in covariance structure analysis: Conventional criteria versus new alternatives. Structural Equation Modeling, 6(1), 1–55 https://doi.org/10.1080/10705519909540118

Joreskog, K. G., & Sorbom, D. (1984). Advances in factor analysis and structural equation models. Lanham: Rowman & Littlefield Publishers.

Kline, R. B. (2011). Principles and practices of structural equation modeling. (3rd ed.). New York: The Guilford Press.

Schreiber, J. B., Stage, F. K., King, J., Nora, A., & Barlow, E. A. (2006). Reporting structural equation modeling and confirmatory factor analysis results: a review. The Journal of Educational Research, 99(6). 323–337. https://doi.org/10.3200/JOER.99.6.323-338

Schumacker, R. E., & Lomax, R. G. (2004). A beginner's guide to structural equation modeling. (2nd ed.). Lawrence Erlbaum Associates Publishers.

Schumacker, R. E., & Lomax, R. G. (2010). A beginner’s guide to structural equation modeling. (3rd ed.). Routledge.

Thompson, B. (2004). Exploratory and confirmatory factor analysis: Understanding concepts and applications. American Psychological Association. https://doi.org/10.1037/10694-000

Ullman, M. T. (2001). The declarative/procedural model of lexicon and grammar. Journal of Psycholinguistic Research, 30(1), 37–69. https://doi.org/10.1023/A:1005204207369

Webb, T. L., & Sheeran, P. (2006). Does changing behavioral intentions engender behavior change? A meta-analysis of the experimental evidence. Psychological Bulletin, 132(2), 249-268. https://doi.org/10.1037/0033-2909.132.2.249