แนวทางการบริหารโรงเรียนเอกชนสอนภาษาจีนระดับประถมศึกษาวิถีใหม่ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การบริหารโรงเรียนเอกชนสอนภาษาจีนระดับประถมศึกษาวิถีใหม่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2) สร้างแนวทางการบริหารโรงเรียนเอกชนสอนภาษาจีนระดับประถมศึกษาวิถีใหม่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และ 3) ประเมินแนวทางการบริหารโรงเรียนเอกชนสอนภาษาจีนระดับประถมศึกษาวิถีใหม่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักในการสัมภาษณ์ คือ ผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนภาษาจีน 4 โรงเรียน และผู้บริหารโรงเรียนนานาชาติ 4 โรงเรียน จำนวน 8 คน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงปริมาณ คือ ผู้รับใบอนุญาต ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการ ฝ่ายวิชาการ ครูผู้สอนภาษาจีน จำนวน 360 คน โดยใช้วิถี
การสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบสนทนากลุ่ม การเก็บรวบรวมข้อมูล ด้วยการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และการใช้แบบสอบถามการประเมิน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยวิถีทางสถิติเชิงพรรณนา ใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีความต้องการจำเป็น ค่า PNImodified ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
1) สภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ เรียงลำดับความสำคัญของขอบข่ายการบริหาร มีค่า PNI รายด้าน ได้แก่ ด้านบริหารการเงิน เท่ากับ 0.30, ด้านการบริหารงานวิชาการ เท่ากับ 0.29, ด้านบริหารหลักสูตรการสอน เท่ากับ 0.28, ด้านบริหารงานบุคคล เท่ากับ 0.28, ด้านผู้นำองค์กร เท่ากับ 0.27, ด้านความสำเร็จที่พึงประสงค์ I เท่ากับ 0.27 และด้านบริหารงานทั่วไป เท่ากับ 0.26 เรียงตามลำดับความสำคัญของกระบวนการบริหาร มีค่า PIN รายด้าน ได้แก่ ด้านระบบปฏิบัติงานแนวใหม่ เท่ากับ 0.30, ด้านนโยบายเชิงรุก เท่ากับ 0.30, ด้านความพึงพอใจของคุณภาพผู้เรียน เท่ากับ 0.29, ด้านโครงสร้างองค์กรแบบยืดหยุ่น เท่ากับ 0.29,ด้านจัดการเรียนรู้อิงบริบท เท่ากับ 0.27, ด้านประเมินผลแบบสหวิถี เท่ากับ 0.27, ด้านพัฒนาหลักสูตรแบบพลิกผัน เท่ากับ 0.27
2) แนวทางการบริหารโรงเรียนเอกชนสอนภาษาจีนวิถีใหม่ มี 7 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านระบบปฏิบัติงานแนวใหม่ (2) ด้านนโยบายเชิงรุก (3) ด้านความพึงพอใจของคุณภาพผู้เรียน (4) ด้านโครงสร้างองค์กรแบบ (5) ด้านจัดการเรียนรู้อิง (6) ด้านประเมินผลแบบสหวิถี และ (7) ด้านพัฒนาหลักสูตรแบบพลิกผัน
3) การประเมินแนวทางการบริหารโรงเรียนเอกชนสอนภาษาจีนวิถีใหม่พบว่า ผลการประเมินแนวทางทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ อรรถประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความถูกต้องมีมาตรฐานอยู่ในระดับมาก
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564). กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
ณัฐชนน เสนาคูน และ สุวัฒน์ จุลสุวรรณ์. (2567). การพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการโดยใช้วงจรคุณภาพของโรงเรียนเอกชนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานศึกษาธิการ จังหวัดมหาสารคาม. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 11(2), 54-63. สืบค้นจาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/275170
ณัฐพัชร์ บุญเกตุ. (2564). การบริหารการจัดการเรียนรู้ในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัยเขต 2. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(8), 69-80. สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/249149
พระครูปฐมชยาภิวัฒน์. (2566). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารงานของโรงเรียนรัฐบาลในเขตอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 8(3), 172-185. สืบค้นจาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/258098
พัชราภรณ์ ดวงชื่น. (2564). การบริหารสถานศึกษาในยุคความปกติใหม่หลังวิกฤตโควิด-19. วารสารศิลปการจัดการ, 4(3), 783-795. สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jam/article/view/243660
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2562). การศึกษาไทย: ถึงเวลาต้องคิดใหม่ คิดใหญ่และทำหน้าที่ทันที. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
วรรณรัตณ์ มหาธาราทอง. (2564). การศึกษาแนวทางการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนในยุค Next Norma. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 23(2), 189-196. สืบค้นจาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/254699
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2555). นโยบายการส่งเสริมการจัดการศึกษาภาษาจีนในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2566, จาก www.thailocalmeet.com.
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. (2551). พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สกสค.
สุนิสา เทศเขียว, ธีระภาพ เพชรมาลัยกุล และ จักรกฤษณ์ โปณะทอง. (2565). ความเป็นเลิศในการบริหารสถานศึกษาวิถีฐานใหม่ของสถานศึกษาเอกชน. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(4), 1621-1673. สืบค้นจาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jmhs1_s/article/view/261042
อัจฉรา นิยมาภา. (2564). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาวิถีใหม่สู่คุณภาพการศึกษาที่พึงประสงค์ในบริบทที่เปลี่ยนแปลง. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ., 14(2), 178-196. สืบค้นจาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/edjour_stou/article/view/253277
Bawany, S. (2018). Leading in a Disruptive VUCA World. New York: Business Expert Press.
Gulick, L., & Urwick, L. (1969). Paper on the Science of Administration. Clifton: Augustus M. Kelley.
Ning, L., & Tananuraksakul, N. (2024). A Study of Thai Undergraduate Students’ Chinese Language Learning Anxiety, Achievement, and Their Anxiety Coping Strategies. Journal of Educational Management and Research Innovation, 6(1), 1–16. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/article/view/265314
Phumphongkhochasorn, P., Damnoen, S., Tuwanno, P. D. M., Srichan, P. W., & Udomdhammajaree, P. (2022). Educational Quality Assurance and School Management Standards According to International. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 6(1),
-16. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/ajrc/article/view/244349
Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis (3rd ed.) New York: Harper & Row.