การพัฒนาตัวแบบปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์กร ความพึงพอใจในการทำงาน วัฒนธรรมองค์กร และประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ 2) เพื่อพัฒนาตัวแบบปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ และ 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลทางตรงของปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ จำนวน 300 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเบ้ ค่าความโด่ง และการวิเคราะห์โมเดลสมการเชิงโครงสร้าง ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับความผูกพันต่อองค์กร ความพึงพอใจในการทำงาน วัฒนธรรมองค์กร และประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ภาพรวม อยู่ในระดับมาก 2) โครงสร้างตัวแบบปัจจัยเชิงสาเหตุมีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการในสถาบันอุดมศึกษา
ของรัฐ กับข้อมูลเชิงประจักษณ์ และ 3) อิทธิพลทางตรงของปัจจัยเชิงสาเหตุมีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ ทำให้ทราบปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกและทางตรงเชิงลบต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ และสามารถนำผลการวิจัยไปใช้เป็นแนวทางในการบริหารบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.). (2566). ข้อมูลจำนวนบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ. สืบค้นเมื่อ 4 มิถุนายน 2567, จาก https://info.mhesi.go.th/homestat_stf_s.php
จักรกฤษณ์ พางาม. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารภายในองค์กรกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ นายเรืออากาศ, 10, 33-44. สืบค้นจาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ KANNICHA/article/view/256077
ทินนิกร เสมอโชค และ อนุสรณ์ สิงหราช. (2566). วัฒนธรรมองค์กรในการปฏิบัติงานที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรสำหรับบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 18(1), 33-48. สืบค้นจาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdihsjournal/article/view/260279
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพฯ: เอส. อาร์. พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.
นวลลออ แสงสุข และ วไลพรรณ อาจารีวัฒนา. (2561). วัฒนธรรมองค์กรที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรสายปฏิบัติการ มหาวิทยาลัยรามคําแหง. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร, 11(2), 62-68. สืบค้นจาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/yri/article/view/248146
เบญญาพัฒน์ โกษะ และ แสงจิตต์ ไต่แสง. (2566). แรงจูงใจที่มีผลต่อความผูกพันของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ, 6(5), 29-43. สืบค้นจาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/bim/article/view/ 263469
รัมย์ประภา บุญทะระ และ สุวัฒนา ตุ้งสวัสดิ์. (2563 ). วัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา สายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. วารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 7(2), 213-226. สืบค้นจาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMDUBRU/article/view/246639
วิภาดา ช่วยรักษา และ อินท์ชลิตา สุวรรณรังสิมา. (2564). การศึกษาปัญหาการขอตำแหน่งทางวิชาการของบุคลากรสายสนับสนุน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. Mahidol R2R e-Journal, 8(3), 171-184. สืบค้นจาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/mur2r/article/view/ 242569
ศักดิ์ชัย จันทะแสง. (2564). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความพึงพอใจในการทำงานและความผูกพันต่อองค์กรที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ. วารสารสังคมศาสตร์วิจัย, 12(1), 95-109. สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ssr/article/view/246867
ศักดิ์ชัย จันทะแสง. (2565). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างการรับรู้โครงสร้างมหาวิทยาลัยและความผูกพันต่อองค์กรที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ. Mahidol R2R e-Journal, 9(3), 90-104. สืบค้นจาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/mur2r/article/view/256024
ศักดิ์ชัย จันทะแสง. (2566). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานและวัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 10(1), 92-106. https://doi.org/10.14456/jmsnpru.2023.8
อาทิตยา โคตุโร. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนวิชาการในมหาวิทยามหาสารคาม. วารสารสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 6(4), 222-232. สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/ index.php/soc-rmu/article/view/257085
Allen, N. J., & Meyer, J. P. (1990). The measurement and antecedents of affective, continuance and normative commitment to the organization. Journal of Occupational Psychology, 63(1), 1-18. https://doi.org/10.1111/j.2044-8325.1990.tb00506.x
Cameron, K. S., & Quinn, R. E. (2011). Diagnosing and changing organizational culture: based on the competing values framework. (3rd ed). San Francisco: Jossey-Bass.
Comrey, A. L., & Lee, H. B. (1992). A first course in factor analysis. (2nd ed). New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed). New York: Harper Collins.
Herzberg, F. (1959). The motivation to work. New York: John Wiley & Sons.
Hu, L. T., & Bentler, P. M. (1999). Cutoff criteria for fit indexes in covariance structure analysis: conventional criteria versus new alternatives. Structural Equation Modeling: A Multidisciplinary Journal, 6(1), 1-55. https://doi.org/10.1080/10705519909540118
Kelloway, K. E. (1998). Using LISREL for structural equation modeling: a researcher’s guide. California: Sage Publications.
Likert, R. (1932). A technique for measurement of attitudes. Archives of Psychology, 140, 5-55.
Oyewole, Y. B., Olanipon, O. O., Olaleye, B. R., & Egwu, B. U. (2023). Impact of job satisfaction on the performance of non-academic staff of Federal University Oye-Ekiti (FUOYE). African Multidisciplinary Journal of Development, 12(1), 45-59. https://doi.org/10.59568/AMJD-2023-12-1-05
Peterson, E., & Plowman, G. E. (1953). Business organization and management. (3rd ed). Illinois: Irwin.