นวัตกรรมทางการเงินที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการธนาคารพาณิชย์ในยุคการระบาดของไวรัส COVID-19
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างนวัตกรรมทางการเงินกับการตัดสินใจใช้บริการธนาคารพาณิชย์ในยุคการระบาดของไวรัส COVID-19 และ 2) เพื่อศึกษานวัตกรรมทางการเงินที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการธนาคารพาณิชย์ในยุคการระบาดของไวรัส COVID-19 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ใช้บริการธนาคารพาณิชย์ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน การศึกษาครั้งนี้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ สถิติเชิงพรรณนา ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการสร้างสมการถดถอยเชิงเส้นแบบพหุคูณด้วยวิธีแบบเป็นขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 31-40 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี มีอาชีพพนักงานเอกชนและเจ้าของธุรกิจ มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 25,001-35,000 บาท นวัตกรรมทางการเงินมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการธนาคารพาณิชย์ในกรุงเทพมหานครทั้งหมด 3 ปัจจัย ได้แก่ ระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ระบบนิเวศนวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยี และผู้ประกอบการธุรกิจรายใหม่ และสมการถดถอยเชิงเส้นแบบพหุคูณ ได้แก่ ŷ = .546 + .194 (X2) + .145 (X3) + .186(X4): R2 = 0.667
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
กมลทิพย์ ขลังธรรมเนียม. 2554. นวัตกรรมการบริการพยาบาล. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 22(2), 71-79.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2557). การใช้ SPSS สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรชัย ชุนหจินดา. (2560). ฟินเทค (FinTech) เพื่อก้าวสู่การเป็นประเทศไทย 4.0. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวตักรรม, 7(1), 1-23.
สรชัย พิศาลบุตร. (2548). เรียนรู้สถิติและการวิจัยด้วยกรณีศึกษา. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.
เวทย์ นุชเจริญ. (2559). ETDA เผยผลสำรวจพฤติกรรมใช้อินเทอร์เน็ตและมูลค่าอีคอมเมิร์ซ โชว์ความพร้อมไทยก้าวขึ้นเป็นเจ้าอีคอมเมิร์ซอาเซียน. สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://www.etda.or.th/content/thailand-internet-user-profile-2017-and-valueof-e-commerce-survey-in-thailand-2017l-press-conference.html
Bartz, A. E. (1999). Basic statistical concepts. (4th ed.). New Jersey: Prentice-Hall.
Izogo, E. (2015). Determinant of attitudinal loyalty in Nigeria telecom services sector: does commitment play a mediating role. Journal of Retail and Consumer Services, 23, 107-117.
Salter, A., & Tether, B. S. (2006). Innovation in services. Through the looking glass of innovation studies. London: Tanaka Business School, Imperial College.
Walker, R., & Johnson, L. (2016). Why consumers use and do not use technology‐enabled services. Journal of Services Marketing, 20(2), 125-135.