การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อเครื่องสำอางบำรุงผิว Keracosmetic บนอินสตาแกรม ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

Main Article Content

สมชาย เล็กเจริญ
กัญญานีน์ กุลกนก

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อเครื่องสำอางบำรุงผิว Keracosmetic บนอินสตาแกรมของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ที่เคยซื้อเครื่องสำอางบำรุงผิว Keracosmetic บนอินสตาแกรม และพักอาศัยเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 300 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย


ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบเชิงยืนยันปัจจัยของพฤติกรรมการซื้อเครื่องสำอางบำรุงผิว Keracosmetic บนอินสตาแกรมของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นอย่างดี โดยพิจารณาจากค่าสถิติไค-สแควร์ (gif.latex?\chi2) = 98.555, ค่าองศาอิสระ (df) = 82, ค่า CMIN/df = 1.20, ค่า GFI = 0.96, ค่า AGFI = 0.94, ค่า SRMR = 0.02, ค่า RMSEA = 0.03 ซึ่งประกอบด้วย 3 องค์ประกอบเรียงลำดับความสำคัญได้ดังนี้ องค์ประกอบปัจจัยการโฆษณา องค์ประกอบปัจจัยการตระหนักรู้ของผู้บริโภค และองค์ประกอบปัจจัยการรับรู้ของผู้บริโภค โดยองค์ประกอบปัจจัยการรับรู้ของผู้บริโภคส่งผลมากที่สุดต่อพฤติกรรมการซื้อเครื่องสำอางบำรุงผิว Keracosmetic บนอินสตาแกรมมากที่สุด เนื่องจากผู้บริโภครู้สึกมีความสุข รู้สึกเพลิดเพลิน และชื่นชอบทุกครั้งที่รับชมโฆษณาเครื่องสำอาง Keracosmetic บนอินสตาแกรมก่อนการซื้อสินค้า จึงส่งผลให้ผู้บริโภคเกิดพฤติกรรมการซื้อ

Article Details

How to Cite
เล็กเจริญ ส. ., & กุลกนก ก. (2021). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อเครื่องสำอางบำรุงผิว Keracosmetic บนอินสตาแกรม ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(2), 472–789. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jmhs1_s/article/view/249504
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2563). การสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2563. สืบค้นเมื่อ 21 มกราคม 2563, จาก https://www.etda.or.th/th/NEWS/ETDA-Revealed-Thailand-Internet-User-Behavior-2019.aspx.

กริช แรงสูงเนิน. (2554). การวิเคราะห์ปัจจัยด้วย SPSS AMOS เพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

จันทนี รุ่งเรืองทนาผล และ เมธสิทธิ์ พูลดี. (2561). การรับรู้การเป็น Thailand 4.0 ของอาจารย์คณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์. นครปฐม: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

ฉัตยาพร เสมอใจ. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ชไมพร กาญจนกิจสกุล. (2555). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. ตาก: โพรเจ็คท์ไฟฟ์-โฟว์.

ชัยฤทธิ์ ทองรอด และ วราภรณ์ สารอินมูล. (2559). พฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าในตลาดนัดกลางคืนของผู้บริโภคเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสมาคมนักวิจัย, 21(3), 197–210.

ชัยนันท์ ธันวารชร. (2560). การโฆษณาสินค้าผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้ากรณีศึกษา ร้าน ฟาร์ม ดีไซน์ ไทยแลนด์. วารสารระบบสารสนเทศด้านธุรกิจ, 4(1), 51–69.

ชิดชนก ทองไทย. (2556). การรับรู้ และทัศนคติ ที่มีต่อความพร้อมในการเข้าสู่ตลาดแรงงานประชาคมอาเซียน ของนักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ(วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ชุติกาญจน์ สรรประเสริฐ และคณะ. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลให้นักศึกษาในมหาวิทยาลัยเลือกใช้บริการร้านอาหารประเภทฟู้ดทรัค. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 15(52), 30-41.

ชูชัย สมิทธิไกร. (2561). พฤติกรรมผู้บริโภค. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล: สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประชาชาติธุรกิจ. (2563). อินสตาแกรมเปิดฟีเจอร์ช้อปปิ้งช่วยธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2564, จาก https://www.prachachat.net/ict/news-552492.

ผณินทร สุทธิสารากร. (2559). การตระหนักรู้ในตราสินค้าจากมุมมองของผู้บริโภค: กรณีศึกษากาแฟดอยช้างในจังหวัดเชียงใหม่ (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

พรรณทิพา สาวันดี. (2554). การศึกษาการตระหนักรู้ต่อการใช้อินเตอร์เน็ตอย่างสร้างสรรค์และปลอดภัยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านหนองน้ำขุ่นที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่องทักษะการใช้อินเทอร์เน็ต(วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

รุ่งทิวา จินดาศรี และลินจง โพชาร. (2559). การรับรู้องค์ประกอบด้านจิตวิทยาของนักท่องเที่ยวที่มีต่อภาพลกัษณ์ของพระธาตุพนม จังหวัดนครพนม. WMS Journal of Management, 5(2), 77-97.

วันวิสา ก้อนนาค. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าที่ตลาดนัดธนบุรีเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร(การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสยาม.

วรรณา เจือรัตนศิริกุล. (2531). อิทธิพลของรายการโทรทัศน์ที่มีต่อความตระหนักในการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม (วิทยานิพนธ์สังคมศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล.

ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์. (2548). การโฆษณาและการส่งเสริมการตลาด. กรุงเทพฯ: ท้อป.

สิริชัย ดีเลิศ และเยาวลักษณ์ รวมอยู่. (2560). การใช้สื่อสังคมออนไลน์อินสตาแกรมเพื่อสร้างความสำเร็จในการรับรู้ภาพลักษณ์ตราสินค้าของธุรกิจ. Veridian E-Journal, Silpakorn University (สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ), 10(1), 1422-1438.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2562). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2562. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2563, จาก https://www.etda.or.th/ publishing-detail/thailand-internet-user-behavior-2019-slides.html

Fatima, S., & Lodhi, S. (2015). Impact of Advertisement on Buying Behaviors of the consumers: Study of Cosmetic Industry in Karachi City. International Journal of Management Sciences and Business Research, 4(10), 125-137.

Joreskog, K. G., & Sorbom, D. (1988). Prelis - A Program for Multivariate Data Screening Data Summarization: A Preprocessor for LISREL. (2nd ed.) Chicago: Scientific Software.

Marketingoops. (2020). อัพเดทมูลค่า-เทรนด์ ตลาดความงาม. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2563, จาก https://www.marketingoops.com/reports/industry-insight/value-and-trend-beauty-market-2020/.

Positioningmag. (2019). ส่องเทรนด์ตลาดความงามเอเชีย 2020 โอกาสเครื่องสำอางผู้ชายลุคธรรมชาติ. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2563, จาก https://positioningmag.com/1258620.

Shallu, M., & Gupta, S. (2013). Impact of Promotional Activities on Consumer Buying Behavior: A Study of Cosmetic Industry. International Journal of Commerce, Business and Management, 2(6), 379-385.

Vidhya, J. J., & Tamizhjyothi, K. (2013). Consumer Attitude towards Cosmetic Products. International Journal of Engineering and Management Research, 3(6), 1-7.