การวิเคราะห์ลักษณะทางประชากรศาสตร์ของนักท่องเที่ยวและปัจจัยด้านการจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของจังหวัดราชบุรี

Main Article Content

ชลธิชา พันธ์สว่าง
เสรี วงษ์มณฑา
ชวลีย์ ณ ถลาง
กาญจน์นภา พงศ์พนรัตน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความแตกต่างของระดับปัจจัยด้านการจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในจังหวัดราชบุรี (ได้แก่ แรงจูงใจและพฤติกรรมการท่องเที่ยว องค์ประกอบของแหล่งท่องเที่ยว และส่วนประสมทางการตลาด) เมื่อจำแนกตามลักษณะทางประชากรศาสตร์ของนักท่องเที่ยว โดยเก็บแบบสอบถามจากนักท่องเที่ยวทั้งหมด 400 คน ในแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร จำนวน 10 แห่ง และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การทดสอบไคแสควร์ ค่าทีเทส และการทดสอบความแปรปรวนทางเดียว ผลการศึกษาพบว่าระดับแรงจูงใจดึงดูดของนักท่องเที่ยว กลุ่มเดินทาง การบริหารจัดการในแหล่งท่องเที่ยว สิ่งอำนวยความสะดวก กระบวนการให้บริการ และการให้บริการลูกค้าอย่างมีคุณภาพมีความแตกต่างกัน เมื่อจำแนกตามลักษณะทางประชากรศาสตร์ ซึ่งสามารถนำมาเสนอแนวทางการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรของจังหวัดราชบุรี ในด้านการเตรียมความพร้อมของสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อบริการแก่นักท่องเที่ยว การสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านข้อมูลการท่องเที่ยวกับภาครัฐ เอกชน และชุมชนท้องถิ่น รวมถึงการฝึกอบรมพนักงานในด้านกระบวนการการบริการในแหล่งท่องเที่ยว

Article Details

How to Cite
พันธ์สว่าง ช. ., วงษ์มณฑา เ. ., ณ ถลาง ช. ., & พงศ์พนรัตน์ ก. . (2021). การวิเคราะห์ลักษณะทางประชากรศาสตร์ของนักท่องเที่ยวและปัจจัยด้านการจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของจังหวัดราชบุรี. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(1), 329–339. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jmhs1_s/article/view/249563
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2554). การท่องเที่ยว: อุตสาหกรรมในการพัฒนาประเทศ. สืบค้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2562, จาก https://www.mots.go.th/more_news_new.php

คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา.

ธรรมศักดิ์ โรจนสุนทร. (2542). สรุปผลการสัมมนาการพัฒนาการท่องเที่ยวภาคเหนือ. กรุงเทพฯ: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

ธีรกิติ นวรัตน ณ อยุธยา. (2547). การตลาดสำหรับการบริการ: แนวคิดและกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นุชนารถ ไชยโรจน์. (2541). การจัดการท่องเที่ยวแนวใหม่. จุลสารการท่องเที่ยว, 17(2), 12-18.

พีรชัย กุลชัย. (2543). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารกับความรู้ และทัศนคติที่มีต่อการปรับปรุงวิธีการผลิตทางการเกษตรของเกษตรกร ในจังหวัดฉะเชิงเทรา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

รวีวรรณ โปรยรุ่งโรจน์. (2558). พฤติกรรมนักท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

เลิศพร ภาระสกุล. (2553). พฤติกรรมนักท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

วชิราภรณ์ โลหะชาละ. (2558). พฤติกรรมนักท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: พี. เอ็น. เคแอนด์สกาย์.

วรัญญา ภัทรสุข. (2554). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2552). การบริหารตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.

สุทธิชัย ปัญญโรจน์. (2559). 10 กลยุทธ์ทางการตลาด. สืบค้นเมื่อ 11 ธันวาคม 2562, จาก https://www.gotoknow.org

สุรีรัตน์ เตชาทวีวรรณ. (2545). พฤติกรรมนักท่องเที่ยว: เอกสารประกอบการสอนคณะวิทยาการจัดการ. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักงานจังหวัดราชบุรี. (2560). แผนยุทธ์ศาสตร์เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยว จังหวัดราชบุรี. สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2562, จาก http://www.ratchaburi.go.th/plan/index.html

Buhalis, D. (2000). Marketing the Competitive Destination in the Future. Tourism Management, 21(1), 97-116.

Cochran, W. G. (1977). Sampling techniques. (3rd ed.). New York: John Wiley & Sons.

Cronbach, L. J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 16, 297-334.

Morrison, A. (2013). Marketing and Managing Tourism Destinations. New York: Routledge.

Pandurang, T. (2000). Agri-tourism: Innovative Supplementary Income Generating Activity for Enterprising Farmers. Retrieved January 5, 2020, from http://www.agritourism.in/.../Agri-Tourism_Concept_Note.pdf

Pearce, P. L. (1991). Analyzing Tourist Attractions. Journal of Tourism Studies, 2(1), 46-55.

Pelasol, R. J. et al. (2012). Destination in The Southern Part of lloilo, Philippines. JPAIR Multidisciplinary Research 8(1). DOI:10.7719/jpair.v8i1.173