ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อซ้ำตั๋วเครื่องบินผ่านเว็บไซต์สายการบินนกแอร์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

Main Article Content

สุมามาลย์ ปานคำ
ณัฐยุพา ทิวากรโกมล

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุความตั้งใจซื้อซ้ำตั๋วเครื่องบินผ่านเว็บไซต์สายการบินนกแอร์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2) เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อซ้ำตั๋วเครื่องบินผ่านเว็บไซต์สายการบินนกแอร์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามออนไลน์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่เคยซื้อตั๋วเครื่องบินผ่านเว็บไซต์สายการบินนกแอร์อย่างน้อย 2 ครั้งขึ้นไป และพักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 298 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และโมเดลสมการโครงสร้าง


ผลการวิจัยพบว่า โมเดลความสัมพันธ์ที่เชิงสาเหตุที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านความไว้วางใจ 2) ด้านการรับรู้ความง่ายในการใช้งาน 3) ด้านความเพลิดเพลิน 4) ด้านการรับรู้ประโยชน์ และ 5) ด้านความตั้งใจซื้อซ้ำ สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นอย่างดี โดยพิจารณาจากค่าสถิติไค-สแควร์ (χ2) = 264.31, ค่า CMIN/df = 1.16, ค่าองศาอิสระ (df) = 227,  ค่า GFI = 0.93, ค่า AGFI = 0.90, ค่า SRMR = 0.05, ค่า RMSEA = 0.02 และค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ = 0.64 แสดงว่าตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของความตั้งใจซื้อซ้ำตั๋วเครื่องบินผ่านเว็บไซต์สายการบินนกแอร์ ได้ร้อยละ 64 พบว่า ด้านการรับรู้ประโยชน์ ด้านการรับรู้ความง่ายในการใช้งานด้านความไว้วางใจ และด้านความเพลิดเพลิน มีอิทธิพลทางตรงต่อความตั้งใจซื้อซ้ำตามลำดับ ซึ่งบริษัทสายการบินนกแอร์สามารถนำผลวิจัยไปวางแผนสร้างกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับลูกค้าเพื่อให้เกิดความตั้งใจซื้อซ้ำในครั้งต่อไป

Article Details

How to Cite
ปานคำ ส., & ทิวากรโกมล ณ. (2021). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อซ้ำตั๋วเครื่องบินผ่านเว็บไซต์สายการบินนกแอร์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(2), 506–520. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jmhs1_s/article/view/249626
บท
บทความวิจัย

References

กริช แรงสูงเนิน. (2554). การวิเคราะห์ปัจจัยด้วย SPSS และ AMOS เพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

กรวินท์ ชูพันธ์. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจกลับมาใช้บริการซ้ำของผู้ใช้บริการเทรนเนอร์ออนไลน์: กรณีศึกษาเฟซบุ๊ก (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

กมลวรรณ เก็งสาริกิจ. (2559). การรับรู้ประโยชน์ ความเชื่อมั่นในคุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสายการบินต้นทุนต่ำ(การค้นคว้าอิสระตามหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ชไมพร กาญจนกิจสกุล. (2555). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. ตาก: โพรเจ็คท์ ไฟฟ์-ไฟว์.

ตรีเนตร ตันตระกูล. (2563). อิทธิพลของตลาดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์กับพฤติกรรมซื้อสบู่สมุนไพรออนไลน์. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(7), 328-344.

ธันยา ศิริลาภพานิช. (2558). ความพึงพอใจ ความเพลิดเพลิน สิ่งเร้าทางสภาวะแวดล้อม และการยอมรับเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างต่อเนื่องของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร(การค้นคว้าอิสระตามหลักสูตรบริหารธุรกิจ

มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล: สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัศมิ์ลภัส วรเดชธนันกุล. (2542). ความไว้วางใจ การสื่อสารแบบปากต่อปากเชิงบวก และการรับรู้ถึงประโยชน์ที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อแพ็กเกจทัวร์ผ่านเว็บไซต์ท่องเที่ยวของผู้บริโภคในจังหวัดระยอง(การค้นคว้าอิสระตามหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

วรรณวิมล ปีบกระโทก. (2558). การศึกษาพฤติกรรมและความพึงพอใจของผู้โดยสารชาวไทยที่มีต่อการให้บริการสายการบินต้นทุนตํ่าเส้นทางภายในประเทศ กรณีศึกษา สายการบินนกแอร์(การศึกษาค้นคว้าอิสระ). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วรัสสิญา ศุภธนโชติพงศ์. (2562). คุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อความตั้งใจที่จะใช้บริการซ้ำของลูกค้าธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กรณีศึกษาพื้นที่ส่วนกลางกรุงเทพมหานคร(วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย. (2562). รายงานสภาวะอุตสาหกรรมการบินของประเทศไทย พ.ศ. 2562. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2563, จาก https://www.caat.or.th/wp-content/uploads/2020/06

เอกพงศ์ มุสิกะเจริญ. (2556). A Technology Acceptance Model หรือ TAM. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2563, จาก www.clinictech.most.go.th

IH Digital. (2563). ส่องตลาด E-Commerce ในไทยเป็นอย่างไรกันบ้าง?. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2563, จาก https://www.ihdigital.co.th/thailand-commerce-2020/

Li, M. (2561). Factors Influencing Customer Repurchase Intention by using Third-party Platform Booking Flight Ticket in China(Thesis of Master of Business Administration). The University of the Thai Chamber of Commerce.

NOK Investor Relations. (2562). รายงานประจำปี 2562. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2563, จาก http://nok.listedcompany.com