โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อกล้องมือสองบนเพจเฟซบุ๊ก คนขายกล้อง-CameraTown ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

Main Article Content

สุมามาลย์ ปานคำ
เสรีย์ หล้าชนบท

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อกล้องมือสองบนเพจเฟซบุ๊ก คนขายกล้อง-CameraTown ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความความตั้งใจซื้อกล้องมือสองบนเพจเฟซบุ๊ก คนขายกล้อง-CameraTown ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ที่เคยซื้อกล้องมือสองบนเพจเฟซบุ๊ก คนขายกล้อง-CameraTown และพักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 310 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และโมเดลสมการโครงสร้าง


ผลการวิจัยพบว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านสื่อสังคมออนไลน์ 2) ด้านความไว้วางใจ 3) ด้านการรับรู้ประโยชน์ และ 4) ด้านความตั้งใจซื้อ และสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นอย่างดี โดยพิจารณาจากค่าสถิติไค-สแควร์ (χ2) = 184.98, ค่า CMIN/df เท่ากับ 1.46, ค่าองศาอิสระ (df) = 127, ค่า GFI = 0.95, ค่า AGFI = 0.91, ค่า SRMR = 0.04, ค่า RMSEA = 0.04 ค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ = 0.72 แสดงว่าตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของความตั้งใจซื้อกล้องมือสองบนเพจเฟซบุ๊ก คนขายกล้อง-CameraTown ได้ร้อยละ 72 และปัจจัยด้านการรับรู้ประโยชน์มีอิทธิพลทางตรงมากที่สุดต่อความตั้งใจซื้อกล้องมือสองบนเพจเฟซบุ๊ก คนขายกล้อง-CameraTown สามารถนำผลการวิจัยไปวางแผนการตลาดและสร้างกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับผู้บริโภค  อันเป็นผลให้เกิดความตั้งใจซื้อกล้องมือสองบนเพจเฟซบุ๊กต่อไป

Article Details

How to Cite
ปานคำ ส., & หล้าชนบท เ. (2021). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อกล้องมือสองบนเพจเฟซบุ๊ก คนขายกล้อง-CameraTown ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล . วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(2), 490–505. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jmhs1_s/article/view/249627
บท
บทความวิจัย

References

กริช แรงสูงเนิน. (2554). การวิเคราะห์ปัจจัยด้วย SPSS AMOS เพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ชไมพร กาญจนกิจสกุล. (2555). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. ตาก: โพรเจ็คท์ไฟฟ์-โฟว์.

จักรกริช ปิยะ. (2557). การศึกษาการใช้สื่อสังคมออนไลน์ (Social media) เพื่อการบริหารงานก่อสร้าง กรณีศึกษาห้างหุ้นส่วน จำกัด เทคโนบิวเดอร์ (2001) อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา(วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

จิดาภา ทัดหอม. (2560). การตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ความไว้วางใจและคุณภาพของระบบสารสนเทศที่มีผลต่อการตัดสนใจซื้อสินค้าผ่านช่องทางการถ่ายทอดสดเฟซบุ๊กไลฟ์ (Facebook Live) ของผู้บริโภคออนไลน์ในกรุงเทพมหานคร(การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

จุฑามาศ ทองแก้ว. (2560). เฟซบุ๊กแฟนเพจ: อัตลักษณ์ของวัยรุ่นในมิติทางสังคม(วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ฉัตรชัย อินทสังข์ และคณะ. (2562). หลักการตลาด (ปรับปรุงฉบับที่ 2). คณะบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

ณัฏฐนันท์ พิธิวัตโชติกุล. (2560). การยอมรับเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือ การตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ และพฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์ที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร(การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล: สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พัณฐิญา รักษาพล. (2554). การนำเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารมาใช้ในสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข(วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

สุพรรณิการ์ สุภพล และ เพ็ญศรี เจริญวานิช. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลตอ่ความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ทางอินเทอร์เน็ตของผู้บริโภคชาวไทย. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น, 10(1), 22-41.

อดิเทพ บุตราช. (2553). อินเทอร์เน็ตในงานธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2563, จาก https://monnapablog.wordpress.com/สังคมออนไลน์-social-network-2.

Das, G. (2014). Linkages of Retailer Personality, Perceived Quality and Purchase Intention with Retailer Loyalty: A Study of Indian Non-Food Retailing. Journal of Retailing and Consumer Services, 21(3), 407-414.

Dolensshop. (2560). พื้นฐาน 5 ข้อ ในการเลือกซื้อกล้องมือสอง. สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2563, จาก

www.dolensshop.com/article/117/พื้นฐาน-5-ข้อ-ในการเลือกซื้อกล้องมือสอง.

Hajli, M. N. (2014). A Study of the Impact of Social Media on Consumers. International Journal of Market Research, 56(3). 387-404.

Herrero, A., Rodriguez, I., & Garcia, M. M. (2009). The Influence of Perceived Risk on Internet Shopping Behavior: A Multidimensional Perspective. Journal of Risk Research, 12(2), 259–277.

Hoelter, J. W. (1983). The Analysis of Covariance Structures: Goodness-of-Fit Indices. Sociological Methods and Research, 11(3), 325–344.

Maddoxart. (2564). กล้องมือสอง: พื้นฐานที่ควรรู้ในการเลือกกล้องสักตัวแล้วให้ได้ตรงกับความต้องการ. สืบค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2564, จาก https://maddoxart.net/archives/1979.

Marketingoops. (2563). ทำไมสินค้ามือ2 บูมในเอเชียสวนทางเศรษฐกิจโลก. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2564, จาก www.marketingoops.com/reports/behaviors/second-hand-stores-boom-in-asia-europe/.

Morgan, R. M., & Hunt, S.D. (1994). The Commitment-Trust Theory of Relationship Marketing. Journal of Marketing, 58(3), 20-38.

O’Cass, A., & T. Fenech. (2003). Web Retailing Adoption: Exploring the Nature of Internet Users Web Retailing Behavior. Journal of Retailing and Consumer Services, 10(2), 81–94.

Takraonlinetraining. (2561). ไขข้อสงสัยสำหรับมือใหม่ “เฟซบุ๊กส่วนตัวกับเพจ ต่างกันหรือไม่”. สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2563, จาก www.takraonlinetraining.com/blog/ไขข้อสงสัยสำหรับมือใหม่__เฟสบุ๊คส่วนตัว_กับ_เพจ_ต่างกันหรือไม่-blog.aspx.

Wati, J. (2014). Influence of Percieved Usefulness, Ease of Use, Risk on Attitude and Intention to Shop Online. European Journal of Business and Management, 6(27), 218-228.

Wu, J. H., & Wang, S. C. (2005). What Drives Mobile Commerce?: An Empirical Evaluation of the Revised Technology Acceptance Model. Information & management, 42(5), 719-729.