คุณภาพการบริหารการจัดการที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์การทำงานของข้าราชการสังกัดกรมกำลังพลทหารบก

Main Article Content

ชนิภานต์ คุณานันทพงศ์
ศักดา ศิลปาภิสันทน์

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) คุณภาพการบริหารการจัดการการทำงานของข้าราชการ (2) ผลสัมฤทธิ์การทำงานของข้าราชการ (3) เปรียบเทียบคุณภาพการบริหารการจัดการ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (4) ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพการบริหารการจัดการกับผลสัมฤทธิ์การทำงานของข้าราชการ สังกัดกรมกำลังพลทหารบก ประชากรที่ใช้ศึกษา คือ บุคลากรของกรมกำลังพลทหารบก กองบัญชาการกองทัพบก จำนวน 347 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 194 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานด้วยค่าสถิติ ค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน


ผลการศึกษาพบว่า (1) คุณภาพการบริหารการจัดการการทำงานของข้าราชการ สังกัดกรมกำลังพลทหารบก โดยรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งด้านการให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ด้านการวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ ด้านการนำองค์กร ด้านการมุ่งเน้นบุคลากร ด้านการวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ขององค์กร อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านการมุ่งเน้นระบบการปฏิบัติการ อยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับ (2) ผลสัมฤทธิ์การทำงานของข้าราชการ สังกัดกรมกำลังพลทหารบก โดยรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ ด้านคุณภาพ ด้านประสิทธิผลการจัดการความรู้ ด้านการพัฒนาองค์กร และด้านประสิทธิภาพ ตามลำดับ (3) กำลังพลที่มีปัจจัยส่วนบุคคลต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพการบริหารการจัดการ โดยรวมไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 (4) ความสัมพันธ์ของคุณภาพการบริหารการจัดการกับผลสัมฤทธิ์การทำงานของข้าราชการ สังกัดกรมกำลังพลทหารบก โดยรวมมีความสัมพันธ์กันในเชิงบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

Article Details

How to Cite
คุณานันทพงศ์ ช., & ศิลปาภิสันทน์ ศ. . (2021). คุณภาพการบริหารการจัดการที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์การทำงานของข้าราชการสังกัดกรมกำลังพลทหารบก. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(3), 940–954. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jmhs1_s/article/view/252022
บท
บทความวิจัย

References

กรมชลประทาน. (2557). การบริหารมุ่งสัมฤทธิ์. สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2563, จาก http://www.rid.go.th/reform

กุลประภัสสร์ รําพึงจิตต์. (2556). ผลสัมฤทธิ์ในการบริหารจัดการน้ำตามแผนยุทธศาสตร์กรมชลประทาน พ.ศ. 2553-2556: ศึกษากรณี สำนักชลประทานที่ 11(วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

จีรวัฏฐ์ บุญวัฒนาภรณ์. (2556). ผลสัมฤทธิ์การบริหารจัดการของกองบังคับการปราบปรามกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ(วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ชัยอนันต์ มั่นคง, วรารัตน์ บุญแฝง และ ระติกรณ์ นิยมะจันทร์. (2559). องค์ประกอบเชิงยืนยันของการบริหารจัดการด้วยเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินงานที่เป็นเลิศ ด้านการนำองค์กร ด้านการวางแผนเชิงกลยุทธ์ ด้านการวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มศว., 10(2), 117-127.

นลินีวรรณ ประพันธา. (2561). ผลสัมฤทธิ์การบริหารตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐของสถาบัน การพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 9(2), 155-168.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปิยะชัย จันทรวงศ์ไพศาล. (2554). การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ (RBM)-Results-based management. กรุงเทพฯ: เอช อาร์ เซ็นเตอร์.

วีระยุทธ ชาตะกาญจน์. (2547). การบริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2557). คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.

สำเริง แหยงกระโทก และ รุจิรา มังคละศิริ. (2550). คู่มือการพัฒนาศูนย์สุขภาพชุมชน (หน่วยบริการปฐมภูมิ: PCU): หนทางสู่ระบบบริการที่พึงประสงค์. (พิมพ์ครั้งที่ 4). นครราชสีมา: ศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาสาธารณสุขนครราชสีมา สำนักงานสาธารณสุข จังหวดนครราชสีมา.

Bostanci, A. B., Yolcu H., & Sap H. (2010). Opinions of Teachers and Administrators Towards the Implementation of Teacher Performance Management Applications at Public and Private High Schools (Ankara Sample). International Online Journal of Educational Sciences, 2(2), 378-402.

Cronbach, L. J. (1963). Course Improvement Through Evaluation. Teacher College Record, 64, 672-683.

Runyon, R. P., & Haber, A. (1991). Fundamentals of Behavioral Statistics. New York: McGraw-Hill.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row.