สมรรถนะของผู้บริหารกับการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม

Main Article Content

พิชามญชุ์ ลาวชัย

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา การบริหารงานบุคคลสถานศึกษา และ ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารกับการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม กลุ่มตัวอย่างได้แก่ จำนวนทั้งสิ้น 63 โรงเรียน โดยใช้สถานศึกษาเป็นหน่วยวิเคราะห์ และกำหนดผู้ให้ข้อมูลสถานศึกษาละ 3 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษาหรือรักษาราชการแทน จำนวน 1 คน หัวหน้างานฝ่ายบุคคล  จำนวน 1 คน ครู จำนวน 1 คน รวมผู้ให้ข้อมูลโรงเรียนละ 3 คน รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 189 คน เครื่อง มือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า


1. สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อย ได้แก่ สมรรถนะในการบริหารตนเอง สมรรถนะในการตระหนักรับรู้เรื่องโลกาภิวัตน์ สมรรถนะการทำงานเป็นทีม สมรรถนะในการสื่อสาร สมรรถนะในการวางแผนและการบริหารจัดการ และสมรรถนะในการปฏิบัติเชิงกลยุทธ์


2. การบริหารงานบุคคลสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อย ได้แก่ การเจรจาต่อรอง การให้ข้อมูลข่าวสาร การปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง การให้ความยุติธรรม ความมั่นคงในงาน การวางแผนกำลังคน การให้ค่าตอบแทนหรือสิ่งจูงใจ การประเมินผลการปฏิบัติงาน การพัฒนา การสรรหา การนำเข้าสู่หน่วยงาน และการคัดเลือก


3. สมรรถนะของผู้บริหารกับการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม ในภาพรวมมีความสัมพันธ์คล้อยตามกันในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

How to Cite
ลาวชัย พ. (2021). สมรรถนะของผู้บริหารกับการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(3), 1217–1226. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jmhs1_s/article/view/254434
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กระทรงศึกษาธิการ.

ทิพสุคนธ์ บุญรอด และ มัทนา วังถนอมศักดิ์. (2564). ภาวะผู้นำมุ่งบริการของผู้บริหารสถานศึกษากับคุณภาพชีวิตการทำงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วารสารศิลปการจัดการ, 5(2), 486-500.

ปฐมาภรณ์ โพธิ์กลัด และ สมหญิง จันทรุไทย. (2561). การบริหารงานบุคคลในโรงเรียนเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ 8 อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 9(2), 239–254.

ภิชาพัชญ์ โหนา. (2563). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาในยุคประเทศไทย 4.0. สักทอง: วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 26(1), 111-119.

วรรณา นิ่มนวล, นุชนรา รัตนศิรประภา และ สายสุดา เตียเจริญ. (2561). ธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 9(2), 139–154.

วีรพงศ์ โฆษิตพิมานเวช และ นิยดา เปี่ยมพืชนะ. (2561). การเสริมสร้างพลังอำนาจครูของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. วารสารวิชาการและการวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 8(3), 24-31.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม. (2562). แผนปฏิบัติการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม ประจำปีงบประมาณ 2562. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2562, จาก http://www.sskedarea.net/plan/plan62.rar

อุษา แซ่เตียว และ นุชนรา รัตนศิระประภา. (2560). ทักษะของผู้บริหารกับการบริหารงานวิชาการโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 8(1), 88-99.

Castetter, W. B. (1996). The human resource function in educational administration. (6th ed.). New Jersey: Prentice-Hall.

Damnoen, P.S. (2021). The Development of Student Characteristics in According to the Nawaluk Framework of the Buddhist integration of Buddhapanya Sri Thawarawadee Buddhist College. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(2), 126-135.

Damnoen, P.S., Phumphongkhochasorn, P., Punwasuponchat, N., & Srichan, P.W. (2021). The Development of Learning Management Design Models in Compulsory Subjects of the Master of Education Program in Educational Administration Innovation in Order to Enhance the Characteristics of Learners According to the Needs of the Professional Education Institution Administrators. Turkish Journal of Physiotherapy and Rehabilitation, 32(3), 20459–20466.

Hellriegel, D., Jackson, S.E., & Slocum, J.W. (2005). Management: A Competency-Based Approach. (10th ed). Singapore: Thomson South-Western.

Songsraboon, R., Thongtao, J., Damnoen, P.S., & Huanjit, P.S. (2021). Course Management Based on Outcome-Based Education (OBE) of Learning by Working in Real Conditions. Turkish Journal of Physiotherapy and Rehabilitation, 32(3), 20491–20499.