การจัดการภายในองค์กรที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานในนิคมอุตสาหกรรมบางปู จังหวัดสมุทรปราการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระบบการจัดการภายในองค์กรที่มีผลต่อแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานในนิคมอุตสาหกรรมบางปู จังหวัดสมุทรปราการ และ (2) ศึกษารูปแบบการปฏิบัติ งานของพนักงานในนิคมอุตสาหกรรมบางปู จังหวัดสมุทรปราการ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ พนักงานในนิคมอุตสาหกรรมบางปู จังหวัดสมุทรปราการ ใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ
ผลการวิจัย พบว่า (1) ระบบการจัดการภายในองค์กร ในด้านนโยบายการบริหาร ด้านโครง สร้างของหน่วยงาน ด้านการประเมินผล ด้านกิจกรรมการควบคุม ด้านสภาพแวดล้อมและการควบคุม มีผลต่อแรงจูงใจในการทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ (2) รูปแบบการปฏิบัติงานในองค์กร ในด้านความมั่นคงในการทำงาน ด้านความก้าวหน้าในการทำงาน ด้านเงินเดือนและสวัสดิการ ด้านบรรยากาศในการทำงาน และด้านนโยบายและการบริหาร มีผลต่อแรงจูงใจในการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
จากงานวิจัยนี้ปัจจัยที่ควรให้ความสำคัญ คือ ระบบการจัดการมีผลต่อแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานในองค์กรโดยรวม ซึ่งจะส่งผลต่อแรงจูงใจในการทำงาน ได้แก่ ด้านอายุงานและประสบการณ์ทำงานมากที่สุด
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
จรัญธร สาคร, สุธรรม พงษ์สำราญ และปราณี คงธนสมุทร. (2564). ปัจจัยแรงจูงใจที่มีผลต่อการสร้างประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายขาย บริษัท เพรซิเดนท์ เบเกอรี่ จำกัด (มหาชน). วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 13(1), 216-230.
จิรัฏฐวัฒน์ ศิริบุตร และ สุพัตรา จันทนะศิริ. (2564). อิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและวัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทเอกชนรุ่นเจเนอร์เรชั่นวาย ในจังหวัดอุดรธานี. วารสารศิลปการจัดการ, 5(2), 458-470.
ไทยพับลิก้า. (2564, 6 กรกฎาคม). สมุทรปราการ โรงงานอุตสาหกรรมเยอะขนาดไหน. สืบค้นจาก https://thaipublica.org/2021/07/concentration-of-industrial-factories-in-samutprakarn/
พรทวี เถื่อนคําแสน และ บุญญรัตน์ สัมพันธ์วัฒนชัย. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการตัดสินใจเลือกทํางานของพนักงานระดับปฏิบัติการในนิคมอุตสาหกรรมเหมราช อีสเทิร์นซีบอร์ด จังหวัดระยอง. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร, 13(3), 1-23.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2550). การจัดการและพฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์ม และไซเท็กซ์.
ศิริอร ขันธหัตถ์. (2536). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: อักษราพพิพัฒน์.
ศุภกิจ ปัญญารัตนะ และ จิราพร ระโหฐาน. (2562).ปัจจัยจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานคนไทยในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนพลาสติกยาน
ยนต์ นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ อีสเทิร์นซีบอร์ด 1 จังหวัดระยอง. วารสารบัณฑิตวิจัย, 10(1), 186-203.
สุภาณี สฤษฎ์วานิชน์. (2552). พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่: แนวคิดและทฤษฎี. (พิมพ์ครั้งที่7).กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อัครเดช ไม้จันทร์ และ นุจรีย์ แซ่จิว. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานกลุ่มอุตสาหกรรมติดตั้งเครื่องจักรสายการผลิตในจังหวัดสงขลา. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 5(1), 95-122.
Rhoades, L., & Eisenberger, R. (2002). Perceived organizational support: A review of the literature. Journal of Applied Psychology, 87(4), 698–714. https://doi.org/10.1037/0021-9010.87.4.698
Songsraboon, R., Thongtao, J., Damnoen, P. S., & Huanjit, P. S. (2021). Course Management Based on Outcome-Based Education (OBE) of Learning by Working in Real Conditions. Turkish Journal of Physiotherapy and Rehabilitation, 32(3), 20491–20499.
Yamane, T. (1973). Statistics, an introductory analysis. (2nd ed.). New York: Harper and Row.