การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เชิงบูรณาการเรื่องการดูแลตนเองด้วยภูมิปัญญาสมุนไพรสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนบ้านลานแหลม (สรนุวัตรราษฎร์อุทิศ) อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม

Main Article Content

สิรินดา นัดสูงวงศ์
สันติ ศรีสวนแตง
ประสงค์ ตันพิชัย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทด้านภูมิปัญญาสมุนไพร อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม 2) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เชิงบูรณาการเรื่อง การดูแลตนเองด้วยภูมิปัญญาสมุนไพร และ 3) ศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงบูรณาการเรื่อง การดูแลตนเองด้วยภูมิปัญญาสมุนไพรของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนบ้านลานแหลม (สรนุวัตรราษฎร์อุทิศ) อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนบ้านลานแหลม (สรนุวัตรราษฏร์อุทิศ) จำนวน 43 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 4 ชนิด คือ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 2) แบบวัดความรู้ก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรม 3) แบบวัดความตระหนักในการใช้สมุนไพร และ 4) แบบวัดความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ค่าพารามิเตอร์ ส่วนเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา


ผลการวิจัยพบว่า 1) บริบทด้านภูมิปัญญาสมุนไพร อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม มีสถานที่ที่ให้ความสำคัญกับสมุนไพร คือ โรงพยาบาลแพทย์แผนไทยห้วยพลู เป็นโรงพยาบาลที่ครอบคลุมบริการครบทุกด้าน ทั้งส่งเสริม รักษา ป้องกัน และฟื้นฟูดูแลสุขภาพในองค์รวม


2) การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เชิงบูรณาการเรื่องการดูแลตนเองด้วยภูมิปัญญาสมุนไพร ได้มีการพัฒนาแผนกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับโรงเรียน ชุมชน และโรงพยาบาล ให้ชื่อแผนกิจกรรม
“แผนกิจกรรมการเรียนรู้เชิงบูรณาการเรื่อง การดูแลตนเองด้วยภูมิปัญญาสมุนไพร”


3) ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนหลังเข้าร่วมกิจกรรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรม ระดับความตระหนักในการใช้สมุนไพรอยู่ในระดับมาก และระดับความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
นัดสูงวงศ์ ส., ศรีสวนแตง ส., & ตันพิชัย ป. (2022). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เชิงบูรณาการเรื่องการดูแลตนเองด้วยภูมิปัญญาสมุนไพรสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนบ้านลานแหลม (สรนุวัตรราษฎร์อุทิศ) อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(4), 1419–1436. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jmhs1_s/article/view/259752
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2559). แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (2560-2564). สืบค้นจาก

http://doh.hpc.go.th/data/HL/nationalHealthDevelopment12.pdf

กองส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2561). เส้นทางสนุกรู้…เรื่องสมุนไพร และการแพทย์แผนไทย. กรุงเทพฯ: กองส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

ชนาธิป พรกุล. (2544.) รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เดชวิทย์ นิลวรรณ และทิพย์พธู กฤษสุนทร. (2557). กระบวนการและกลยุทธ์การถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น กรณีศึกษาเทศบาลตำบลฟ้าฮ่าม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่(รายงานวิจัย). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

บรรเทิง มาแสง. (2546). การติดตามและประเมินผลโครงการ. กรุงเทพฯ: กองประเมินผล สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

พรสวรรค์ มณีทอง และคณะ. (2556). กระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านดนตรีพื้นบ้านวงสะล้อ ซอ ซึง. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 7(1), 34-39.

พัชรินทร์ สิรสุนทร. (2550.) ชุมชนปฏิบัติการด้านการเรียนรู้: แนวคิด เทคนิค และกระบวนการ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พารุณี วงษ์ศรี และทีปทัศน์ ชินตาปัญญากุล. (2561). การประยุกต์ใช้ทฤษฎีโอเร็มกับการดูแลและการให้คำแนะนำผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว. วารสารพยาบาลตำรวจ,10(1), 212-213.

ภาษิต ชนะบุญ. (2562). ปลัดเทศบาลตำบลห้วยพลู. สัมภาษณ์, 13 พฤศจิกายน.

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (2558). เส้นทางพัฒนาสมุนไพรไทยสู่ความยั่งยืน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอธัยาศัย. (2551). หนังสือวิชาเลือกสาระการพัฒนาสังคม รายวิชา สค 03045 วิถีชุมชน. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). (ร่าง)แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 พ.ศ. 2566 -2570. กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

อภิเดช ช่างชัย. (2560). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ด้านการเกษตรโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน: กรณีศึกษาโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน(วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Kolb. (1984). Experiential Learning. New Jersey: A Simon & Schuster Company.

Taba, H. (1962). Curriculum Development: Theory and Practice. New York: Holt, Rinehart & Winston.

Tyler, R.W. (1969). Educational Evaluation: New Roles, New Means. Chicago: University of Chicago Press.