ประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศทางการบัญชีเพื่อการวางแผนทรัพยากรของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ชลิดา ลิ้นจี่
สุภาพร รัตนวิสุทธิ์
นฤมล สุทธิธรรม
สนาศิริ แสงสุข

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอประสิทธิภาพการใช้ระบบสารสนเทศทางการบัญชี เพื่อวางแผนทรัพยากรของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานคร เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการใช้ระบบสารสนเทศทางการบัญชี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือผู้บริหารธุรกิจ SMEs ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 401 คน จาก 420 คนเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม โดยใช้สถิติพรรณนาประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์ความถดถอยแบบพหุคูณผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศทางการบัญชีเพื่อการวางแผนทรัพยากร ของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานครอยู่ในระดับมาก และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพของการใช้ระบบสารสนเทศทางการบัญชีเพื่อการวางแผนทรัพยากร ของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ปัจจัยด้านการสนับสนุนจากผู้บริหาร ปัจจัยด้านคุณภาพของระบบสารสนเทศทางการบัญชี และการมีส่วนร่วมของผู้ใช้งาน ส่วนปัจจัยด้านคุณลักษณะเฉพาะของผู้ใช้งาน และปัจจัยด้านโครงสร้างขององค์กร ไม่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพของการใช้ระบบสารสนเทศทางการบัญชีเพื่อการวางแผนทรัพยากร

Article Details

How to Cite
ลิ้นจี่ ช., รัตนวิสุทธิ์ ส., สุทธิธรรม น., & แสงสุข ส. (2023). ประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศทางการบัญชีเพื่อการวางแผนทรัพยากรของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(2), 851–864. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jmhs1_s/article/view/263568
บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ชลิดา ลิ้นจี่, คณะบัญชี มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

 

 

สุภาพร รัตนวิสุทธิ์, คณะบัญชี มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

 

 

นฤมล สุทธิธรรม, คณะบัญชี มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

 

 

สนาศิริ แสงสุข, คณะบัญชี มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

 

 

References

กุลวดี ลิ่มอุสันโน, ธีรวัฒน์ หังสพฤกษ์, รุชดี บิลหมัด, พัลลภัช เพ็ญจำรัส, และฐิตาภา จันทบัตร. (2564). อิทธิพลของคุณภาพระบบสารสนเทศทางบัญชีต่อผลการดำเนินงานเชิงดุลยภาพ กรณีศึกษาโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย. วารสารศิลปศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ, 4(2), 819-834. สืบค้นจาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/JLASI/article/view/251173

แก้วตา ผู้พัฒนพงศ์. (2560). การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ การสรรหาและการคัดเลือก. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ชัชฌานันต์ บุณาพันธ์ และ เบญจพร โมกขะเวส. (2564). ผลกระทบของความน่าเชื่อถือในการสอบบัญชีและความคิดสร้างสรรค์ของ ผู้สอบบัญชีที่มีต่อคุณภาพในการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(4), 1376–1391. สืบค้นจาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jmhs1_s/article/view/259656

ทวีศักดิ์ เทพพิทักษ์. (2565). การพัฒนาศักยภาพและการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจSMEs. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2565, จาก http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3655?show=full.

ธนัชพร ถวิลผล. (2564). แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการปฏิบัติงานของพนักงานบัญชีสูงวัยในธุรกิจอุตสาหกรรม. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(9), 461–472. สืบค้นจาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/view/252406

พิมพ์ประภา อมรกิจภิญโญ, ธัญธรณ์ อมรกิจภิญโญ, นเรศ สถิตยพงศ์, สมสมร วงศ์รจิต และ ชวกิจ ทองนุ้ยพราหมณ์. (2565). นวัตกรรมทางสังคมเพื่อคุณภาพชีวิต. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 4(2), 279–286. สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/article/view/259862

ยุวดี ศิริยทรัพย์. (2560). การวางแผนทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เยาวนุช รักสงฆ์. (2562). ผลกระทบของประสิทธิภาพระบบสารสนเทศทางการบัญชีที่มีต่อผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 11(2), 200-213. สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/mbs/article/view/220572

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2565). ปัญหาของวิสาหกิจธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2565, จาก https://www.sme.go.th/th/contact.php?modulekey

สุวิชาดา เสาสูง. (2565). ระบบสารสนเทศทางการบัญชีที่ดีกับคุณภาพการปฏิบัติงานด้านบัญชี. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2565, จาก https://www.spu.ac.th/award/33930/qwe

อภิญญา ดวงภักดี. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการใช้ระบบสารสนเทศทางการบัญชีเพื่อการวางแผนทรัพยากร: กรณีศึกษาบริษัทผลิตไม้ยางพาราแปรรูปในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

SMEONE. (2565). ความสำคัญของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมต่อระบบเศรษฐกิจ. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2565, จาก

https://www.smeone.info/posts/view/51234

Chuayounan, S. (2022). The Causal Relationship Model of The Happiness of the Working Elderly within Career Groups. International Journal of Multidisciplinary in Management and Tourism, 6(1), 18–32. https://doi.org/10.14456/ijmmt.2022.3

Delone W. H., & McLean, E. R. (2003). The Delone and McLean Model of Information Systems Success: A Ten Years Update. Journal of Management Information Systems, 19(4), 9-30. https://doi.org/10.1080/07421222.2003.11045748

Kuntawong, T., & Utsaha, E. (2023). Impacts to Account Executive Role and Account Management Process Affecting the Taxation Planning of Community Enterprise Entrepreneurs. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 3(1), 227–238. https://doi.org/10.14456/iarj.2023.15

Sari, R. N., & Zenita, R. (2014). The Mediating Effects of Strategic Management Accounting Information Use on the Relationship between Information literacy and Managerial Performance. Retrieved November 10, 2020, from http://kb.psu.ac.th/psukb/bitstream/2010/10177/1/404674.pdfics.

Wilton, N. (2016). An Introduction to Human Resource Management. (3rd ed.). London: Sage Publication.