ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าแบรนด์เนมมือสองบนอินสตาแกรมของผู้บริโภคในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุความตั้งใจซื้อสินค้าแบรนด์เนมมือสองบนอินสตาแกรมของผู้บริโภคในประเทศไทย และ 2) ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าแบรนด์เนมมือสองบนอินสตาแกรมของผู้บริโภคในประเทศไทย รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามออนไลน์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่เคยซื้อสินค้าแบรนด์เนมมือสองบนอินสตาแกรมและพักอาศัยอยู่ในประเทศไทย จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และโมเดลสมการโครงสร้าง
ผลการวิจัยพบว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านคุณภาพการให้บริการ 2) ด้านความมีชื่อเสียง 3) ด้านการบอกต่อแบบปากต่อปาก 4) ด้านความเข้าอกเข้าใจ และ 5) ด้านความตั้งใจซื้อ สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นอย่างดี โดยพิจารณาจาก ค่า CMIN = 380.96, ค่า df = 228, ค่า CMIN/df = 1.67, ค่า GFI = 0.93, ค่า AGFI = 0.90, ค่า SRMR = 0.04, ค่า RMSEA = 0.04 และค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ = 0.79 แสดงว่าตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของความตั้งใจซื้อสินค้าแบรนด์เนมมือสองบนอินสตาแกรม ได้ร้อยละ 79 พบว่า ด้านความเข้าอกเข้าใจ มีอิทธิพลทางตรงต่อการความตั้งใจซื้อสินค้าแบรนด์เนมมือสองบนอินสตาแกรมมากที่สุด ซึ่งผู้ประกอบการขายสินค้าแบรนด์เนมมือสองบนอินสตาแกรมควรให้บริการด้วยความเข้าอกเข้าใจผู้บริโภค ให้ข้อมูลรายละเอียดของสินค้าอย่างถูกต้อง เพื่อให้เกิดความตั้งใจซื้อสินค้าแบรนด์เนมมือสองต่อไปในอนาคต
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
จันทร์เพ็ญ วรรณารักษ์, วัชรี เพ็ชรวงษ์, นภสร เช็กชื่นกุล, พรรณราย ไพบูลย์, เสาวนีย์ บุญโต, และ จันทวัทน์ อัครเมธานนท์. (2559). อิทธิพลของคุณภาพการบริการและความพึงพอใจของลูกค้าต่อความตั้งใจซื้อสินค้าร้านค้าในเฟสบุ๊ก. วารสารวิชาการ มทร.สุวรรณภูมิ, 1(1), 43-53.สืบค้นจาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/rmutsb-hs/article/view/96448/75259
ธีรเดช สืบไตรรัตน์ และ สุมามาลย์ ปานคำ. (2563). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุความตั้งใจซื้อทัวร์เชิงวัฒนธรรมในประเทศไทยผ่านเฟซบุ๊กของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารวิทยาการจัดการ, 37(2), 84-109. สืบค้นจาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/
jms_psu/article/view/239533/167276
มณีรัตน์ อนุโลมสมบัติ. (2565). การเข้าใจคน เคล็ดลับความสำเร็จขององค์กรในปัจจุบัน. สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2566, จาก
https://blog.cariber.co/post/how-to-read-people
มัสลิน ใจคุณ. (2561). การยอมรับเทคโนโลยี ความไว้วางใจ และการตลาดผ่านสังคมออนไลน์ ที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าผ่านช่องทางเฟซบุ๊ก ไลฟ์ (Facebook LIVE) ของกลุ่มผู้บริโภค Generations X, Y, Z. วารสารวิชาการ, 5(1), 261-275. สืบค้นจาก https://so04.tci-thaijo.org/
index.php/svittj/article/view/194527/136927
รุ่งรัตน์ ชัยสำเร็จ. (2565). การสำรวจวรรณกรรมและข้อเสนอกรอบแนวคิดเพื่อการศึกษาปัจจัยขับเคลื่อน–ชื่อเสียงต่อธุรกิจ. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 6(2), 440-456. สืบค้นจาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/30600/26408
วินิตรัตน์ อินต๊ะวิยะ. (2563). แบรนด์เนมมือสองโต 200% คนไทยประหยัดงบ เน้นแฟชั่นหรูเปลี่ยนเร็ว. สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2565, จาก https://positioningmag.com/1309169
สหธร เพชรวิโรจน์ชัย. (2564). การเข้าใจคนอื่นด้วยความเข้าอกเข้าใจ. สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2566, จาก https://positioningmag.com/1309169
สุมามาลย์ ปานคํา และ ภัคจิรา ชื่นโพธิ์กลาง. (2565). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าร้านคาเฟ่อเมซอนบนแอปพลิเคชันไลน์แมนของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครและ ปริมณฑล. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(3), 1121-1136. สืบค้นจาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jmhs1_s/article/view/257655/176023
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2565). ผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ต. สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2565, จาก https://www.matichonweekly.com/publicize/article_
สเต็ป เทรนนิ่ง. (2563). เปิดข้อมูลสถิติอินสตาแกรมในปี 2020 ที่คุณควรรู้. สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2565, จาก https://shorturl.asia/FXML
อภิชยาภรณ์ ชุณหเวชสกุล, ปริญ ลักษิตามาศ และ ชัยพล หอรุ่งเรือง. (2562). การตลาดเชิงสร้างสรรค์และการโฆษณาเชิงเนื้อหาการท่องเที่ยวไทยที่ส่งผลต่อ ความตั้งใจซื้อของนักท่องเที่ยวชาวจีน ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ในรุ่นเจเนอเรชั่นวาย. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 39(1), 75-92. สืบค้นจาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sujthai/article/view/173930/125667
เอกอนันต์ อินทร์ทอง และ สุชาติ ปรักทยานนท์. (2564). การพัฒนากลยุทธ์การสื่อสารทางการตลาดออนไลน์ที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจสั่งวัตถุมงคลบูชาของผู้บริโภคในประเทศไทย. สยามวิชาการ, 22(38), 23-32. สืบค้นจาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/sujba/article/view/15/9
Agung, I., Calvin, M., & Rina, R. (2018). The Influence of Flexibility of Work to Loyalty and Employee Satisfaction Mediated by Work Life Balance to Employees with Millennial Generation Background in Indonesia Startup Companies. Journal: Verslas: teorija ir praktika, 19(1), 217-227. Retrieved from https://shorturl.asia/9ZxpO
Athapaththu, J. & Kulathunga, K. (2018). Factors Affectting Online Purchase Intention: A Study of Sri Lankan Online Customers. International Journal of Scientific & Technology Research, 7, 120-128. https://doi.org/10.5539/ibr.v11n10p111
Chiu, S.-C., Liu, C.-H., & Tu, J.-H. (2016). The influence of tourists' expectations on purchase intention: Linking marketing strategy for low-cost airlines. Journal of Air Transport Management, 53, 226-234. Retrieved from https://www.sciencedirect.com/science/article/
abs/pii/S096969971530168X
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J. & Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis. (7th ed.). New Jersey: Prentice Hall.
Hair, J. F., Hult, G. T. M., Ringle, C. M., & Sarstedt, M. (2014). A Primer on Partial Least Squares Structural Equation Modeling (PLS-SEM). California: Sage.
Hoelter, J. W. (1983). The effects of role evaluation and commitment on identity salience. Social Psychology Quarterly, 46(2), 140–147. https://doi.org/10.2307/3033850
Hu, L.t., & Bentler, P. M. (1999). Cutoff criteria for fit indexes in covariance structure analysis: Conventional criteria versus new alternatives. Structural Equation Modeling, 6(1), 1–55. https://doi.org/10.1080/10705519909540118
Joreskog, K. G., & Sorbom, D. (1984). Advances in factor analysis and structural equation models. Lanham: Rowman & Littlefield.
Kline, R. B. (2011). Principles and practices of structural equation modeling (3rd ed.). New York: The Guilford.
Liang, L. J., Choi, H. C., & Joppe, M. (2018). Understanding repurchase intention of Airbnb consumers: perceived authenticity, electronic word of mouth, and price sensitivity. Journal of Travel & Tourism Marketing, 35(1), 73-89. Retrieved from https://shorturl.asia/t9BGI
Ramya, N., Kowsalya, A., & Dharanipriya, K. (2019). Service Quality and Its Dimensions. EPRA International Journal of Research and Development, 4(2), 38-41. Retrieved from https://www.researchgate.net/publication/333058377_SERVICE_QUALITY_AND_ITS
Schumacker, R. E., & Lomax, R. G. (2004). A Beginner's Guide to Structural Equation Modeling. (2nd ed.). New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates.
Thompson, B. (2004). Exploratory and Confirmatory Factor Analysis: Understanding Concepts and Applications. Washington, D.C.: American Psychological Association.
Ullman, M. T. (2001). The Declarative/Procedural Model of Lexicon and Grammar. Journal of Psycholinguistic Research, 30(1), 37–69. https://doi.org/10.1023/A:1005204207369