รูปแบบภาวะผู้นำที่แท้จริงตามหลักฆราวาสธรรม สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 2) พัฒนารูปแบบภาวะผู้นำที่แท้จริงตามหลักฆราวาสธรรม สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และ 3) ประเมินรูปแบบภาวะผู้นำที่แท้จริงตามหลักฆราวาสธรรม สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยมีขั้นตอนการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาความต้องการจำเป็นภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บริหารสถานศึกษา โดยใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่เป็นครู 368 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีความต้องการจำเป็น ขั้นตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบ โดยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 10 รูป/คน และการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ 9 รูป/คน มีเครื่องมือการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์และแนวคำถามสำหรับการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และขั้นตอนที่ 3 ประเมินรูปแบบ โดยการใช้แบบประเมินกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารสถานศึกษา 310 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1. ความต้องการจำเป็นภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาพรวมมีดัชนีความต้องการจำเป็น อยู่ระหว่าง 0.035-0.052 องค์ประกอบที่มีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ ความมีกระบวนการที่สมดุล 2. การพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำที่แท้จริงตามหลักฆราวาสธรรม สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา มี 5 องค์ประกอบ และ 3. ผลการประเมินผลการประเมินรูปแบบภาวะผู้นำที่แท้จริงตามหลักฆราวาสธรรม สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 4 ด้าน
โดยสรุปองค์ความรู้การวิจัย คือ PANPET ได้แก่ P (Process) A (Apply) N (Need) P (Principles of Gharavasadhamma) E (Educational Administration) T (True Leadership)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
กฤติมา มะโนพรม, สันติ บูรณะชาติ, โสภา อำนวยรัตน์ และ น้ำฝน กันมา. (2563). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา, 31(1), 152-168. สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edubuu/article/view/244184
เกรียงไกร นามทองใบ และ ธรินธร นามวรรณ. (2564). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 15(1), 159-171. สืบค้นจาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/rmuj/article/view/250844
บุญชม ศรีสะอาด. (2535). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์นการพิมพ์.
พระครูปลัดณัฐวัฒน์ อนุหนายนน์, สุทธิพงษ์ ศรีวิชัย และ พระมหาสมบัติ ธนปญฺโญ. (2563). รูปแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารตามหลักฆราวาสธรรม 4 โรงเรียนประถมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 7(3), 231-241. สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDMCU/article/view/245938
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2551). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสตร์ คำวัด. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม.
พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต). (2543). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระศรีคัมภีรญาณ (สมจินต์ วันจันทร์). (2559). บูรณาการพุทธธรรมเพื่อเสริมสร้างพลังบริหาร. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พิพัฒน์ นนทนาธรณ์. (2558). ภาวะผู้นำเชิงปฏิบัติการ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2557). ภาวะผู้นำ: ทฤษฎีและนานาทักษะร่วมสมัยปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: ทิพยวิสุทย์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565, 25 กันยายน). ข้อมูลสถานศึกษา. สืบค้นจาก https://www.obec.go.th/เว็บไซต์-สพป-ในสังกัด.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาชั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). คู่มือการปฏิบัติงานข้าราชการครู. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Avolio, B. J., & Luthans, F. (2003). Authentic Leadership Development. In Cameron, K.S., Dutton, J.E. and Quinn, R.E. (Eds.). Positive Organizational Scholarship: Foundations of a New Discipline. San Francisco: Berrett-Koehler.
Avolio, B., & Gardner, W. L. (2005). Authentic Leadership Development: Getting to the Root of Positive Forms of Leadership. The Leadership Quarterly, 16, 315-338. https://doi.org/10.1016/j.leaqua.2005.03.001
Cronbach, L. J. (1971). Essentials of Psychological Testing. (4th ed.). New York: Harper & Row.
Damnoen, P. S., Siri, P., Supattho, P. S., & Kaewwilai, K. (2021). The Development of Student Characteristics in According to the Nawaluk Framework of the Buddhist integration of Buddhapanya Sri Thawarawadee Buddhist College. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(2), 126-135. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/ajrc/article/view/249662
Gardner, W. L, Cogliser, C. C., Davis, K. M., & Dickens, M. P. (2011). Authentic Leadership: A Review of the Literature and Research Agenda. The Leadership Quarterly, 22(6), 1120-1145. https://doi.org/10.1016/j.leaqua.2011.09.007
Gardner, W. L., Avolio, B. J., Luthans, F., May, D. R., & Walumbwa, F. (2005). “Can You See the Real?” Me A Self-Based Model of Authentic Leader and Follower Development. The Leadership Quarterly, 16(3), 343-372. https://doi.org/10.1016/j.leaqua.2005.03.003
George, B. (2003). Authentic Leadership: Rediscovering the Secrets to Creating Lasting Value. San Franciso: Jossey-Bass.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610. https://doi.org/10.1177/001316447 003 0003
Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. In Reading in Attitude Theory and Measurement. Fishbeic, Matin. (Eds.). New York: Wiley & Son.
Sinclair, A. (2010). Placing Self: How Might We Place Ourselves in Leadership Studies Differently. Leadership, 6(4) 447-460. https://doi.org/10.1177/1742715010379312
Walumbwa, F. O., Avolio, B. J., Gardner, W. L., Wernsing, T. S., & Peterson, S. J. (2008). Authentic Leadership: Development and Validation of a Theory-Based Measure. Journal of Management, 34(1), 89-126. https://doi.org/10.1177/0149206307308913