การสร้างความสัมพันธ์ไทย-จีน ในพื้นที่ประเทศที่สาม กรณีศึกษาภายใต้การขับเคลื่อนอำนาจละมุนในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปัจจุบัน อำนาจละมุน (Soft Power) ของไทยในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) กำลังเผชิญกับความท้าทายสำคัญ โดยเฉพาะอิทธิพลที่เพิ่มขึ้นของจีน ซึ่งมีการส่งออกอำนาจละมุนอย่างครอบคลุมและเข้มข้นในทุกมิติ ส่งผลให้ไทยจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์การใช้อำนาจละมุนใน สปป.ลาว เพื่อรักษาสถานะและขยายบทบาทในภูมิภาคจึงจำเป็นต้องทราบถึง ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาถึงทรัพยากรและสถานการณ์ของอำนาจละมุนของไทยและจีนใน สปป.ลาว และ ผลกระทบทางอ้อมของประเทศที่สามต่อการใช้อำนาจละมุนของไทยในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับ สปป.ลาว เพื่อให้สามารถเข้าใจพลวัตของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และแนวโน้มของอำนาจละมุนที่อาจส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในอนาคตของภูมิภาคได้
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก สาขาการเมืองและยุทธศาสตร์การพัฒนา ในหัวข้อเรื่อง “การใช้อำนาจละมุนของไทยในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว” ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ที่เน้นการวิเคราะห์เชิงลึกเกี่ยวกับการใช้อำนาจละมุนของไทยในบริบทของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับ สปป.ลาว
ผลการศึกษาส่วนนี้ชี้ให้เห็นว่า ประเทศที่มีอิทธิพลต่อการขับเคลื่อนอำนาจละมุน (Soft Power) ของไทยใน สปป.ลาว นั้น คือประเทศจีนที่ถือเป็นประเทศที่มีบทบาทมากที่สุด เนื่องจากมีการส่งออกอำนาจละมุนเข้ามาใน สปป.ลาว ครบทั้ง 3 แหล่งอำนาจตามหลักแนวคิดทฤษฎีของ Joseph S. Nye ประกอบด้วย ด้านวัฒนธรรม ด้านนโยบายระหว่างประเทศ และด้านคุณทางการเมือง และจีนยังมีบทบาทสำคัญในความร่วมมือระหว่างสามประเทศ คือ ไทย-จีน-ลาว ซึ่งพบว่ามีการแบ่งความร่วมมือได้ 4 รูปแบบ ได้แก่ 1) ความร่วมมือประเภทเมืองหรือจังหวัดทั่วไป 2) ความร่วมมือประเภทร่วมลงทุนในพื้นที่เมืองหรือจังหวัดทั่วไป 3) ความร่วมมือประเภทระดับชาติหรือภูมิภาค และ 4) ความร่วมมือประเภทร่วมลงทุนในพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ โดยวัตถุประสงค์หลักของความร่วมมือดังกล่าวสามารถจำแนกได้ 4 ด้าน คือ 1) การขยายความร่วมมือระหว่างรัฐเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดี 2) การสร้างพันธมิตรทางการค้าและการลงทุนใน สปป.ลาว ของภาคเอกชน 3) การดึงดูดนักลงทุนและประชาชนจีนให้สนใจประเทศไทยมากยิ่งขึ้น และ 4) การสร้างความเข้าใจและความร่วมมือในระดับประชาชนระหว่างทั้งสามประเทศ ซึ่งจากความร่วมมือนี้ จะช่วยสร้างประโยชน์ร่วมกันทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ไม่เพียงแต่ประเทศไทยและจีนเท่านั้น แต่ยังส่งผลดีต่อภาครัฐและประชาชนของ สปป.ลาว ในฐานะประเทศเจ้าของพื้นที่อีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้น ความร่วมมือดังกล่าวยังมีเป้าหมายที่หลากหลาย นอกเหนือจากมิติทางเศรษฐกิจ เช่น การส่งเสริมความเข้าใจทางวัฒนธรรม การพัฒนาสังคม และการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีในระยะยาว ซึ่งล้วนแต่จะเป็นประโยชน์ต่อทั้งสามประเทศในอนาคต
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
กชภพ กรเพชรรัตน์. (2565). รัฐบาลไทยกับการผลักดัน Soft Power ท้องถิ่น เมื่อต้อง “สร้าง” อย่างเป็นระบบไม่ใช่เพราะ “โชคช่วย”. สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2566, จาก https://thestandard.co/thai-gov-and-local-soft-power/
กรมประชาสัมพันธ์. (2565). รัฐบาลเดินหน้าแผนเชื่อมระบบราง ไทย ลาว จีน เตรียมสร้างสะพานข้ามโขงแห่งใหม่ หนองคาย-เวียงจันทร์ จุดเริ่มต้นเชื่อมต่อรถไฟความเร็วสูง 5 ประเทศ. สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2566, จาก https://thainews.prd.go.th/th/news/print_news/TCATG220813145720872
กรมประชาสัมพันธ์. (2566). สะพานมิตรภาพไทย - ลาว แห่งที่ 5 คืบกว่า 82.5% ประตูเชื่อมไทย-ลาว-เวียดนาม และมณฑลกว่างสีของจีน. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2566, จาก https://nbt2hd.prd.go.th/th/content/category/detail/id/2153/iid/198716
กรุงเทพธุรกิจ. (2566). “สพพ.” เพิ่มช่วยเหลือ สปป.ลาว ฝึกคนขับรถไฟ – ทำแผนธุรกิจสถานี ‘บ้านคำสะหวาด’. สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2566, จาก
https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1082354
กองการต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย. (2563). คู่ความสัมพันธ์เมืองพี่เมืองน้องระหว่างไทยกับต่างประเทศ. สืบค้นเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2566, จาก http://www.fad.moi.go.th/images/ngancedkumpha/karakada/list%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A1_Sister_CITY.pdf
นันทรัตน์ วัฒนศรีมงคล. (2555). นโยบายการค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวต่อสาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างปี พ.ศ. 2549-2553(ภาคนิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พรภวิษย์ หล้าพีระกุล และ ปารมิตา แซ่เตียว. (2564). การเปลี่ยนผ่านนโยบาย “อำนาจอ่อน” สู่ “อำนาจแหลมคม” ของจีนในศตวรรษที่ 21. วารสาร MFU Connexion: Journal of Humanities and Social Sciences, 10(2), 79-92. DOI: 10.14456/connexion.2021.17
ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยลาว. (2562). ความสัมพันธ์กับไทย. สืบค้นเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2566, จาก https://thaibizlaos.com/lao/about/relations.php
สถานเอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์. (2565). ยุทธศาสตร์การดึงดูดการลงทุนของลาว กับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษอย่างต่อเนื่อง. สืบค้นเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2566, จาก https://vientiane.thaiembassy.org/th/content/%E0%B
สถานเอกอัคราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง. (2565). ความสัมพันธ์ไทย-จีน. สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2566, จาก https://thaiembbeij.org/th/republic-of-china/thai-relations-china/
สำนักข่าวกรองแห่งชาติ. (2566). ลาว-จีน เห็นพ้องที่จะส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจและอุดมการณ์ทางการเมืองระหว่างกัน. สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2566, จาก https://www.nia.go.th/news/page/4125/
สำนักงานการท่องเที่ยวจังหวัดเชียงราย. (2556). สะพานมิตรภาพ 4 (เชียงของ-ห้วยทราย). สืบค้นเมื่อ 7 ธันวาคม 2566, จาก https://www.cots.go.th/travelview/detail.php?id=223
Bank Group. (2020). From Landlocked to Land-Linked Unlocking the Potential of Lao-China Rail Connectivity. สืบค้นเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2566, จาก https://documents1.worldbank.org /curated/en/648271591174002567/pdf/Main-Report.pdf
BBC New. (2566). จีนเที่ยวไทยจะกลับมาตามคาดหรือไม่ หลังรัฐบาลเศรษฐา เปิดวีซาฟรี. สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2566 จาก https://www.bbc.com/thai/articles/c3g3dqd7ywwo
CRI Online. (2020). มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว จัดงาน “วันสถาบันขงจื่อ”. สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2566, จาก https://thai.cri.cn/20201031/f73be219-691e-942c-dfdd-1ce2a0b544d0.html
Jnew. (2565). สปป. ลาวกำหนด 6 เป้าหมายในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ช่วงปี 2564 – 2568. สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2566, จาก https://globthailand.com/laos-190421/
Nye, J. (2004). Soft Power: The Means to Success in World Politics. New York: Public Affairs.
SCB Bank. (2565ก). Laos Insights and Update 2021 “รู้ก่อนรุก สปป. ลาว แลนด์ลิงค์ เชื่อมการค้าโลก”. สืบค้นเมื่อ 4 ธันวาคม 2566, จาก https://www.scb.co.th/th/personal-banking/stories/business-maker/laos-landlink-global-trade.html
SCB Bank. (2565ข). ส่องโอกาสที่นักธุรกิจไทยจะได้รับจากรถไฟฟ้าจีน-ลาว. สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2566, จาก https://www.scb.co.th/th/personal-banking/stories/business-maker/thai-business-opportunity-in-laos.html
Vientiane Times. (2023). Laos-China Railway carrying record 10,000 passengers a day. สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2566, จาก https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten46 _Laos_china_y23.php