Learning Achievement Development Using Learning Module of Surface and Volume, Mathematical Department, 3rd Year Secondary School with STAD Teaching Model

Authors

  • Thanaphat Pakkarane Municipal School 2 "Isan Theerawitthayakhan" Education Division, Buriram Municipality Department of Local Administration, Ministry of Interior

Keywords:

Learning Achievement Development, Mathematical Department, STAD teaching Model

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีจุดประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้ชุดการเรียน          เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยรูปแบบการสอน STAD ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80  2) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของชุดการเรียน เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยรูปแบบการสอน STAD       3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียน เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยรูปแบบการสอน STAD    ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการเรียนรู้ของนักเรียนที่เรียนรู้ด้วยชุดการเรียน เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  ด้วยรูปแบบ การสอน STAD กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนเทศบาล 2 “อิสาณธีรวิทยาคาร” กองการศึกษาเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 42 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่  ชุดการเรียน เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  ด้วยรูปแบบการสอน STAD  จำนวน 5 เล่ม  แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  ด้วยรูปแบบการสอน STAD  จำนวน 15 แผน  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ เป็นแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก ซึ่งมีค่าความยาก (P) ตั้งแต่ 0.34 ถึง 0.71 และค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (B) ตั้งแต่ 0.36 ถึง 0.70  และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 และแบบวัดความพึงพอใจในการเรียนรู้ของนักเรียนที่เรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียน เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยรูปแบบการสอน STAD  เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ t-test

            ผลการศึกษาพบว่า 1. ชุดการเรียน เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยรูปแบบการสอน  STAD  มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.71/80.48  ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80  2. ดัชนีประสิทธิผลของชุดการเรียน เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยรูปแบบการสอน STAD   มีค่าเท่ากับ 0.6771 หมายความว่า หลังเรียนนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 67.71 จากก่อนเรียน 3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้เรียนด้วยชุดการเรียน  เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยรูปแบบการสอน STAD             มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3 ที่เรียนรู้ด้วยชุดการเรียน  เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยรูปแบบการสอน STAD  มีความพึงพอใจในการเรียนรู้ โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย 4.63 ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุด

Downloads

Published

2020-08-06

Issue

Section

บทความวิจัย (Research article)