ปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุบ้านหนองหลวง อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก
คำสำคัญ:
ปัจจัยความสำเร็จ, ชมรมผู้สูงอายุ, จังหวัดตากบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสำเร็จในการดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุ และแรงจูงใจของผู้สูงอายุในการเข้าร่วมชมรมผู้สูงอายุบ้านหนองหลวง อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก รูปแบบการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ดำเนินการเก็บข้อมูลโดยใช้วิธีการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ในองค์การบริหารส่วนตำบลหนองหลวง คณะกรรมการบริหารชมรมฯ และสมาชิกชมรมฯ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองหลวง และเจ้าหน้าที่อาสาสมัครหมู่บ้านหนองหลวง รวม 16 คน ทำการตรวจสอบความครบถ้วนและความถูกต้องของข้อมูลแบบสามเส้าด้านวิธีการ วิเคราะห์และสรุปผล ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน โดยเริ่มจาก 1.) การวางแผนกิจกรรมโดยจัดประชุมคณะกรรมการฯ เป็นประจำทุกเดือน 2.) การจัดหน่วยงานมีการกำหนดโครงสร้างหน่วยงานและการกำหนดหน้าที่อย่างชัดเจน 6 หน่วยงาน ได้แก่ โรงพยาบาลตำบล องค์บริการหารส่วนตำบล อาสาสมัคร ชมรมผู้สูงอายุ ฝ่ายปกครอง และตำรวจชุมชน 3.) การจัดบุคลากรมีจำนวนที่เหมาะสม 4.) การอานวยการมีการสั่งการและประสานงานไปยังฝ่ายต่าง ๆ ในการดาเนินงานให้สำเร็จลุล่วง 5.) การประสานงานระหว่างหน่วยงานภายในและหน่วยงานภายนอก 6.) การรายงานผลการปฏิบัติงานทางวาจาเป็นประจำทุกเดือน และ 7.) ด้านงบประมาณ ทั้งจากองค์กรบริหารส่วนตำบล และจากภายในชมรมฯ เอง สำหรับความสำเร็จในการดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุบ้านหนองหลวง มาจาก 4 ปัจจัย ได้แก่ 1.) ด้านผู้นำชมรม มีภาวะความเป็นผู้นำ มีจรรยาบรรณ มีจิตอาสา ปฏิบัติงานด้วยความเสียสละ เล็งเห็นผลประโยชน์ของผู้สูงอายุเป็นหลัก 2.) ด้านความสามารถในการพึ่งตนเอง โดยการหาแหล่งเงินทุนในการสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ภายในชมรมได้ตลอดมา 3.) ด้านความสามารถในการประสานงานกับภาคี โดยร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐภาคท้องถิ่น และภาคสังคม 4.) การดำเนินงานตามข้อบังคับ สาหรับแรงจูงใจในการเข้าร่วมชมรมฯ มาจากปัจจัยภายใน 4 ปัจจัย ได้แก่ ความสนใจ ความต้องการ ความชอบและความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเอง และแรงจูงใจจากปัจจัยภายนอก 4 ปัจจัย ได้แก่ การบริการตรวจสุขภาพ กิจกรรมที่ตอบสนองความต้องการการสนับสนุนเครื่องอุปโภคบริโภค และการยอมรับทางสังคม สามารถนาไปใช้พัฒนาปรับปรุงการดาเนินงานให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพสูงสุด และองค์กรที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุนเพื่อสร้างโอกาสในการพัฒนาของชมรมผู้สูงอายุ อีกทั้งชมรมผู้สูงอายุแห่งอื่น ๆ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานของชมรมต่อไป