Myanmar Students’ Needs for the 21St Century Skills Development, Samut Sakhon Provincial Office of the Non–Formal and Informal Education

Authors

  • Thanyarat Soemsenaporn
  • Bheeradhev Rungkhunakorn

Keywords:

ความต้องการพัฒนาทักษะ, นักศึกษาผู้ไม่มีสัญชาติไทย, ทักษะศตวรรษที่ 21

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความต้องการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาเมียนม่า ศูนย์การศึกษานอกระบบโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดสมุทรสาคร 2) เพื่อเปรียบเทียบความต้องการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาแรงงานเมียนม่า ศูนย์การศึกษานอกระบบโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดสมุทรสาคร จำแนกตามเพศ ช่วงอายุ และระดับชั้นการศึกษา ประชากรที่ศึกษา ได้แก่ นักศึกษาเมียนม่าที่ลงทะเบียนเรียนใน ศูนย์การศึกษานอกระบบโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดสมุทรสาคร ภาคการศึกษา 2/2562 จำนวน 69 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบสอบถาม (Questionnaires) ที่ผู้วิจัยต่อยอดโดยปรับจากแบบสอบถามของ อาจารย์ ดร พีรเทพ รุ่งคุณากร ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ (Index of item objective congruence: IOC) เท่ากับ 06.00-1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติใช้ค่าความถี่ (Frequency) และค่าร้อยละ (Percentage) หาค่าเฉลี่ย (μ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ) และใช้ค่าสถิติ T-test และ F-test ผลการศึกษาพบว่า 1) ความต้องการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาเมียนม่านั้นมีความต้องการในภาพรวมทุกด้าน อยู่ในระดับมาก (μ=3.96) โดยจำแนกเป็นด้านที่มีความต้องการมากเป็นอันดับแรกได้แก่ ด้านการประยุกต์ใช้การอ่าน การเขียน และคณิตศาสตร์ ((μ=4.11) อันดับต่อมา คือ การคิด (μ=4.03) ด้านการอ่าน (μ=3.99) การเรียนรู้เพื่อการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น (μ=3.98) การรู้เท่าทันสื่อ (μ=3.96) การเรียนรู้เพื่อการเป็นตัวเองและการพัฒนาตนเอง (μ=3.95) การเรียนเพื่อรู้ (μ=3.95) การสื่อสารและความร่วมมือ (μ=3.95) ด้านการเรียนรู้เพื่อการปฏิบัติจริง (μ=3.93) การเขียน (μ=3.92) ความเข้าใจทางวัฒนธรรม (μ=3.90) และคณิตศาสตร์ (μ=3.90) ตามลำดับ 2) ความต้องการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาเมียนม่า จำแนกตาม เพศ อายุ และระดับชั้นที่ศึกษามีคามแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 3) ลำดับค่าคะแนนระดับมากทุกกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มพื้นฐานทางการศึกษา 3.98 กลุ่มสังคมสมัยใหม่ 3.95 และกลุ่มชีวิตประจำวัน 3.95 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

Downloads

Published

2021-06-05

Issue

Section

บทความวิจัย (Research article)