การเติบโตของนักศึกษาจีนและความหลากหลายของหลักสูตรการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • Li Yang Doctor of Philosophy Program in Educational Administration, Graduate College of Management, Sripatum University
  • วราภรณ์ ไทยมา Lecturer in Doctor of Philosophy Program in Educational Administration, Graduate College of Management, Sripatum University

คำสำคัญ:

นักศึกษาจีน, ปัจจัยผลักดันและปัจจัยดึงดูด, สถาบันอุดมศึกษา, หลักสูตรนานาชาติ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา รวบรวม เหตุจูงใจในการเข้าศึกษาต่อของนักศึกษาจีนในประเทศไทย ศึกษาแนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรนานาชาติ และเปรียบเทียบจำนวนนักศึกษาจีนในแต่ละหลักสูตรตามเกณฑ์ ISCED 2013 จากการศึกษาพบว่ามหาวิทยาลัยในประเทศจีนมีการแข่งขันเข้าศึกษาต่อสูงอย่างต่อเนื่อง จึงไม่เพียงพอต่อปริมาณของนักศึกษาจีน นอกจากนี้ด้วยนโยบาย Go West ทำให้บางครอบครัวเริ่มส่งเสริมให้ลูกเรียนต่อต่างประเทศ ปัจจัยดังกล่าวเรียกว่าปัจจัยผลัก และปัจจัยดึงดูด นั่นคือ ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ ตลาดแรงงาน และการปรับตัวของหลักสูตรของแต่ละสถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทย นอกจากนี้เมื่อเปรียบเทียบจำนวนนักศึกษาตามเกณฑ์ ISCED 2013 พบว่า โดยส่วนใหญ่นักศึกษาจีนนิยมศึกษาต่อด้านการบริหารและกฏหมายมากที่สุด รองลงมาคือด้านการศึกษา โดยนักศึกษาจีนนิยมศึกษาต่อระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในมหาวิทยาลัยเอกชน และนิยมศึกษาต่อระดับปริญญาเอกในสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ และมหาวิทยาลัยรัฐในกำกับ โดยเน้นที่ด้านบริหาร และด้านสะเต็มศึกษา (STEM )

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-02

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ (Academic Articles)