ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการรถไฟฟ้ามหานคร ในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (โควิด-19) กรณีศึกษารถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน)

ผู้แต่ง

  • จุฑากมล มนโกศล หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต
  • ทรงวุฒิ ดีจงกิจ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

รถไฟฟ้ามหานคร, การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา(โควิด-19), การใช้บริการรถไฟฟ้ามหานคร

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการรถไฟฟ้ามหานคร ในช่วงการแพร่ ระบาดของไวรัสโคโรนา(โควิด-19) โดยจำแนกตามปัจจัยประชากรศาสตร์และจำแนกตามปัจจัยกิจกรรมด้านโลจิสติกส์ (ด้านการบริการลูกค้า, การดำเนินการตามคำสั่งซื้อของลูกค้าและด้านการติดต่อสื่อสารด้านโลจิสติกส์) กลุมตัวอย่างในการศึกษาวิจัย คือ คนที่ใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (โควิด-19)  จำนวน 400  คน โดยใช้สูตรคำนวณของ Taro  Yamane เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ใช้สถิติแบบพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานการด้วยการทดสอบ การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการทดสอบแบบ Pearson's Correlation Coefficient test ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยด้านกิจกรรมโลจิสติกส์ มีค่าเฉลี่ยในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการดำเนินการตามคำสั่งซื้อของลูกค้า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก  รองลงมาคือ ด้านการบริการลูกค้า อยู่ในระดับมาก และน้อยที่สุดคือ ด้านการติดต่อสื่อสารทางด้านโลจิสติกส์ ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า  ปัจจัยประชากรศาสตร์ ได้แก่ อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และค่าใช้จ่ายต่อสัปดาห์ รวมถึงปัจจัยกิจกรรมด้านโลจิสติกส์ ได้แก่ ด้านการบริการลูกค้า การดำเนินการตามคำสั่งซื้อของลูกค้า และการติดต่อสื่อสารทางด้านโลจิสติกส์ มีผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการรถไฟฟ้ามหานคร ในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (โควิด-19) กรณีศึกษารถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) อย่างมีนัยสำคัญทาสถิติที่ระดับ 0.05       

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-02

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)