ประสิทธิผลของโมบายแอพพลิเคชั่นในการให้ความรู้เรื่องการรักษาโรค ไฮเปอร์ไทรอยด์ด้วยไอโอดีนรังสี-131 ในจังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • อัมพร ขันจันทร์ หลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี จังหวัดกรุงเทพ
  • ลาวัลย์ ต้นสกุลรุ่งเรือง หลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี จังหวัดกรุงเทพ
  • เสาวนีย์ สมันต์ตรีพร หลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี จังหวัดกรุงเทพ
  • ศิริพร สัจจานันท์ หลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี จังหวัดกรุงเทพ

คำสำคัญ:

เทคโนโลยี, ประสิทธิผลของโมบายแอพพลิเคชั่น, โรคไฮเปอร์ไทรอยด์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลต่อประสิทธิผลของโมบายแอพพลิเคชั่น (2) เพื่อประเมินประสิทธิผลของโมบายแอพพลิเคชั่น (3) เพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้บริหารหรือผู้สนใจในการพัฒนาการสร้างโมบายแอพพลิเคชั่น ในการให้ความรู้เรื่องการรักษาโรคไฮเปอร์ไทรอยด์ด้วยไอโอดีนรังสี-131 ในจังหวัดนครราชสีมา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสม ใช้แบบสอบถาม แบบทดสอบ ในการเก็บข้อมูลจากผู้ป่วยโรคไฮเปอร์ไทรอยด์ที่รักษาด้วยไอโอดีนรังสี-131 ในหน่วยเวชศาสตร์นิวเคลียร์ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่าง 460 ราย สถิติที่ใช้ได้แก่ แจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน pair t-test และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ปฏิบัติงานในหน่วยเวชศาสตร์นิวเคลียร์ และนักวิชาการสาขา อื่น ๆ จำนวน 20 คน ผลการวิจัย พบว่า (1) เทคโนโลยี และคุณภาพการบริการ มีผลต่อความพึงพอใจ (2) เทคโนโลยี และการจัดการความรู้ มีผลต่อประสิทธิผลของโมบายแอพพลิเคชั่น (3) ความพึงพอใจ มีผลต่อประสิทธิผลของโมบายแอพพลิเคชั่น (4) คุณภาพการบริการไม่มีผลต่อประสิทธิผลของโมบายแอพพลิเคชั่น (5) การจัดการความรู้ไม่มีผลต่อความพึงพอใจในการโมบายแอพพลิเคชั่น (6) โมเดลเชิงสาเหตุที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ผ่านเกณฑ์มาตรฐานด้วยค่าสถิติดังนี้ c2 /df = 1.27, CFI = 0.993, TLI = 0.990, RMSEA = 0.024 และ SRMR = 0.035 (7) ผลการทดสอบความรู้ พบว่าหลังใช้โมบายแอพพลิเคชั่นกลุ่มตัวอย่างมีความรู้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (8) ผลจากการสัมภาษณ์พบว่า ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับเนื้อหา การออกแบบ หน้าที่ของปุ่มต่าง ๆ ของโมบายแอพพลิเคชั่น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-10-04

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)