การจัดกิจกรรมภาษาไทยบูรณาการสะเต็มศึกษา (STEM Education) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา

ผู้แต่ง

  • ขัณธ์ชัย อธิเกียรติ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ธนารักษ์ สารเถื่อนแก้ว คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • คำขวัญ ชูเอียด คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • เสาวณีย์ แก้ววิฑูรย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • สุกัญญา สมมณีดวง คณะการบิน มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

คำสำคัญ:

กิจกรรมภาษาไทย, บูรณาการ, สะเต็มศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมภาษาไทยบูรณาการสะเต็มศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา   2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ได้รับการสอนด้วยกิจกรรมภาษาไทยบูรณาการสะเต็มศึกษา  กลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม)  ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 3 ห้องเรียนรวม 90 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่  แผนกิจกรรมภาษาไทยบูรณาการสะเต็มศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกิจกรรมภาษาไทยบูรณาการสะเต็มศึกษา ก่อนและหลังการทดลอง (pre-test and post-test)  และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมภาษาไทยบูรณาการสะเต็มศึกษา  สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ()  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าที (t–test) ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. การพัฒนากิจกรรมภาษาไทยบูรณาการสะเต็มศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา  ได้แผนกิจกรรมภาษาไทยบูรณาการสะเต็มศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 4 แผน แผนละ 4 ชั่วโมง  มีผลการประเมินคุณภาพเฉลี่ยเท่ากับ 4.76 อยู่ในระดับ ดีมาก  2. การทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า นักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยกิจกรรมภาษาไทยบูรณาการสะเต็มศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยจากคะแนนเต็ม 100 คะแนน  มีค่าเฉลี่ยคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนเท่ากับ  27.58 คะแนน ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 10.31 และหลังเรียนเท่ากับ 68.32 คะแนน ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 9.85  3.  การสอบถามความพึงพอใจ พบว่า นักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยกิจกรรมภาษาไทยบูรณาการสะเต็มศึกษา มีคะแนนรวมเฉลี่ยของความพึงพอใจอยู่ในเกณฑ์ระดับดีมาก โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ  4.63   และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ  3.53

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-03

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)