การจัดการเรียนรู้โดยใช้ธรรมสากัจฉาเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาพระพุทธศาสนาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ผู้แต่ง

  • พระภาสกร พุทฺธสรโณ (จันทร์เทศ) สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ชวาล ศิริวัฒน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • นิเวศน์ วงศ์สุวรรณ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้, ธรรมสากัจฉา, ผลสัมฤทธิ์

บทคัดย่อ

วิจัยเรื่องการจัดการเรียนรู้โดยใช้ธรรมสากัจฉาเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาพระพุทธศาสนา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดสุทธจินดา นครราชสีมา เป็นการวิจัยเชิงทดลองขั้นต้น (Pre-Experimental Research) มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาการจัดการเรียนรู้โดยใช้ธรรมสากัจฉาในรายวิชาพระพุทธศาสนา 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนในรายวิชาพระพุทธศาสนาที่จัดการเรียนรู้โดยใช้ธรรมสากัจฉา ใช้วิจัยแบบหนึ่งกลุ่มทดลองก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนที่กำลังเรียนอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 1 ห้องเรียน นักเรียน 48 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในกาวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้พระพุทธศาสนา หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การจัดการเรียนรู้แบบธรรมสากัจฉา จำนวน 30 ข้อ ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการเรียนการสอนในรายวิชาพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่องพุทธประวัติและชาดก โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบธรรมสากัจฉา พบว่า ผู้เรียนได้พัฒนาความรู้ ความเข้าใจ ในเนื้อหารายวิชาที่เรียนมากขึ้น เพราะผู้เรียนได้สนทนา สอบถามในเรื่อง หรือมุมมองที่ตนเองสนใจ ซึ่งนับว่าเป็นการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริง ในระหว่างที่ทำการเรียนการสอน ผู้สอนได้สร้างกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ทัศนคติ ระหว่างผู้เรียนด้วยกันเอง มีครูเป็นโค้ชคอยให้คำปรึกษา ทำให้ผู้เรียนได้ฝึกพัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์ และอธิบายโดยอยู่บนพื้นฐานของหลักการและเหตุผล 2. ผลเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนในรายวิชาพระพุทธศาสนาที่จัดการเรียนรู้โดยใช้ธรรมสากัจฉา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดสุทธจินดา นครราชสีมา คะแนนก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ย () = 10.79 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = 2.601 คะแนนหลังเรียนมีค่าเฉลี่ย () = 24.69 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = 2.753 เมื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า หลังเรียนมีคะแนนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-21

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)