พฤติกรรมการใช้ชีวิต การปรับตัว และการเรียนรู้ของประชาชนในสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (COVID-19) สู่การปรับตัวของชุมชนวิถีใหม่ ในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • ณัฐสุรางค์ ปุคคละนันทน์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • จิรายุ ทรัพย์สิน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • ยุพดี สินมาก คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • วันชัย สุขตาม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • ณีน์นรา ดีสม คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • พิมพ์ภัสสร ชูตระกูล คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • สุพิมพา วัฒนสังขโสภณ คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • ศรินทิพย์ สนทอง สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

คำสำคัญ:

พฤติกรรม, การปรับตัว, วิถีใหม่

บทคัดย่อ

จากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ส่งกระทบต่อการดำเนินชีวิตทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม และยังส่งผลต่อการปรับตัวในการดำเนินชีวิตในวิถีใหม่ ดังนั้นงานวิจัยฉบับนี้ มุ่งเน้นเพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้ชีวิต การปรับตัว และการเรียนรู้ของประชาชนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (COVID-19) สู่การปรับตัวของชุมชนวิถีใหม่ในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ จากการเก็บแบบสอบถามจำนวน 400 ชุดและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ข้อมูลทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ผลการการศึกษาการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต การปรับตัว และการเรียนรู้ของประชาชน ต่อการแพร่ระบาดของโรคโควิด19 ทั้ง  5 ด้าน พบว่า 1) การปรับตัวด้านเศรษฐกิจ ในการระบาดช่วงแรก ครอบครัวยังไม่มีการสร้างอาชีพใหม่ ยังใช้ชีวิตปกติ มีการพัฒนาตนเองการเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ และระวังเรื่องการวางแผนการค่าใช้จ่ายของครัวเรือน 2) การปรับตัวด้านสุขภาพ พบว่าส่วนใหญ่ที่ปฏิบัติตัวอยู่เป็นประจำได้แก่ สวมหน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้าตลอดเวลาเมื่ออยู่กับผู้อื่น รับประทานอาหารสุกใหม่ และหมั่นล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่หรือแอลกอฮอล์เจลอยู่เป็นประจำ 3) การปรับตัวด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม พบว่า วิธีการรักษาความสัมพันธ์ทางสังคมของสมาชิกในครัวเรือนส่วนใหญ่อยู่ในระดับปกติ การทำกิจกรรมร่วมกันในครอบครัวและการพูดคุยกันมากขึ้น 4) การปรับตัวด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ พบว่า ได้เรียนรู้การใช้อุปกรณ์สื่อสาร และเทคโนโลยีด้วยตนเองและขอคำแนะนำนำเกี่ยวกับการใช้งานอุปกรณ์สื่อสาร (เช่น ถามลูก/หลาน/เพื่อน) และ 5) ด้านการศึกษา พบว่าคนในครอบครัวต้องแบ่งเวลาสอน/ดูแลลูก/หลานมากที่สุด สรุปผลการวิจัยการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลต่อ พฤติกรรม การปรับตัว และการเรียนรู้ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสุขภาพ ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และด้านการศึกษา ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงปรับตัวต่อการใช้ชีวิตในรูปแบบวิถีใหม่อย่างแท้จริง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-21

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)