การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย โดยใช้แนวคิดวรรณคดีเป็นฐานร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนผังทางปัญญา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

ผู้แต่ง

  • กรรณาภรณ์ เครื่องคำ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ประภาษ เพ็งพุ่ม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้, วรรณคดีเป็นฐาน, แผนผังทางปัญญา

บทคัดย่อ

    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดวรรณคดีเป็นฐานร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนผังทางปัญญา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดวรรณคดีเป็นฐานร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนผังทางปัญญา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 80 3) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านน้ำริน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวนนักเรียน 22 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์และแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด ผลการวิจัยอธิบายได้ว่า การจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยโดยการนำเนื้อหาวรรณคดีมาเป็นแกนกลางและใช้การจัดการเรียนรู้ร่วมกับแผนผังทางปัญญา สามารถกระตุ้นให้ผู้เรียนสร้างความรู้ได้ด้วยตนเอง และช่วยพัฒนาความสามารถในการคิดของผู้เรียน ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น  

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-05

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)