ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่อง ทางสติปัญญา สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ

ผู้แต่ง

  • ณฏฐพัชร เขียวมณีนัย ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
  • นิรันดร์ จุลทรัพย์ คณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่

คำสำคัญ:

ประสิทธิผลของโรงเรียน, นักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา, สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ

บทคัดย่อ

สติปัญญา สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ  และ 3) สร้างสมการพยากรณ์ประสิทธิผลของโรงเรียนสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครูของโรงเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ปีการศึกษา 2565 กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยการเทียบสัดส่วนจากตารางสำเร็จรูปของเครจซี่ และมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 165 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ .947 ซึ่งค่าความเชื่อมั่นด้านปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน เท่ากับ .929 ส่วนค่าความเชื่อมั่นด้านประสิทธิผลของโรงเรียน เท่ากับ .961 วิเคราะห์ข้อมูลหาค่าสถิติ ได้แก่ การหาค่าความถี่ (Frequency) ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)

                   ผลการวิจัย พบว่า 1) ประสิทธิผลของโรงเรียนสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.27, S.D. =0.56) 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.34, S.D. =0.58) และ 3) ปัจจัยที่สามารถร่วมกันทำนายประสิทธิผลของโรงเรียนสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ พบว่า มี 3 ตัวแปร คือ ตัวแปรด้านผู้ปกครองและชุมชน ตัวแปรด้านโรงเรียน และตัวแปรด้านนักเรียน สามารถเขียนในรูปคะแนนดิบได้ คือ  Y = 0.513 + 0.296(X5) + 0.309(X4) + 0.260(X3) และเขียนในรูปสมการวิเคราะห์การถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐานได้ คือ Z = 0.339(Z5) + 0.301(Z4) + 0.295(Z3)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-12

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)