ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพการให้บริการและความตั้งใจกลับมาใช้บริการซ้ำของผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ของสำนักงานประกันสังคมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
คุณภาพการให้บริการ, ความตั้งใจกลับมาใช้บริการซ้ำ, ผู้ประกันตนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) คุณภาพการให้บริการและความตั้งใจกลับมาใช้บริการซ้ำของผู้ประกันตน 2) เปรียบเทียบความตั้งใจกลับมาใช้บริการซ้ำของผู้ประกันตนของสำนักงานประกันสังคมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพการให้บริการและความตั้งใจกลับมาใช้บริการซ้ำของผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ของสำนักงานประกันสังคมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ของสำนักงานประกันสังคมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน การทดสอบ t-test, F-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับคุณภาพการให้บริการมีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ความเป็นรูปธรรมของการบริการ ความเชื่อมั่นไว้วางใจได้ และความพร้อมในการตอบสนองต่อผู้รับบริการมีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนระดับความตั้งใจกลับมาใช้บริการซ้ำมีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากเช่นกัน 2) เปรียบเทียบความตั้งใจกลับมาใช้บริการซ้ำ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ของสำนักงานประกันสังคมในพื้นที่กรุงเทพมหานครที่มีปัจจัยด้านอายุต่างกัน มีระดับความตั้งใจกลับมาใช้บริการซ้ำที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนปัจจัยด้านเพศ สถานภาพ ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกัน มีระดับความตั้งใจกลับมาใช้บริการซ้ำที่ไม่แตกต่างกัน และ 3) คุณภาพการให้บริการมีความสัมพันธ์กับความตั้งใจกลับมาใช้บริการซ้ำของผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ของสำนักงานประกันสังคมในพื้นที่กรุงเทพ-มหานครโดยรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01