ทัศนคติและการยอมรับเทคโนโลยีของผู้ใช้ระบบสารสนเทศที่มีผลต่อความสำเร็จของระบบสารสนเทศ กรณีศึกษา การยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านระบบอินเทอร์เน็ตของผู้เสียภาษีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
คำสำคัญ:
ทัศนคติ, การยอมรับเทคโนโลยี, ความสำเร็จบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาทัศนคติ ประกอบด้วย ด้านความรู้ความเข้าใจ ด้านความรู้สึก และด้านพฤติกรรม ที่มีผลต่อความสำเร็จของระบบสารสนเทศ 2) เพื่อศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีของผู้ใช้ระบบสารสนเทศ ประกอบด้วย ด้านความคาดหวังในการปฏิบัติงาน ด้านความคาดหวังในความพยายาม ด้านอิทธิพลของสังคม และด้านสิ่งอำนวยความสะดวกในระบบ ที่มีผลต่อความสำเร็จของระบบสารสนเทศ กรณีศึกษา การยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านระบบอินเทอร์เน็ตของผู้เสียภาษีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ประกอบด้วย ด้านคุณภาพของระบบ ด้านคุณภาพของสารสนเทศ ด้านคุณภาพของการบริการ ด้านความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบ และด้านคุณประโยชน์ของระบบ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีเครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถาม โดยมีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน คือ ผู้ที่เคยยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านระบบอินเทอร์เน็ตในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ เพื่อทดสอบสมมติฐาน
ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นเกี่ยวกับทัศนคติ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.62) พบว่า ภาพรวมด้านความรู้สึกและภาพรวมด้านพฤติกรรม มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดเท่ากัน (
= 4.64) มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการยอมรับเทคโนโลยีของผู้ใช้ระบบสารสนเทศ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (
= 4.64) พบว่า ภาพรวมด้านสิ่งอำนวยความสะดวกในระบบ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (
= 4.67) และมีความคิดเห็นเกี่ยวกับความสำเร็จของระบบสารสนเทศ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (
= 4.65) พบว่า ด้านคุณภาพของระบบและด้านคุณประโยชน์ของระบบ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดเท่ากัน (
= 4.67) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ทัศนคติและการยอมรับเทคโนโลยีของผู้ใช้ระบบสารสนเทศส่งผลเชิงบวกต่อความสำเร็จของระบบสารสนเทศ ด้านคุณภาพของระบบ ด้านคุณภาพของสารสนเทศ ด้านคุณภาพของการบริการ ด้านความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบ และด้านคุณประโยชน์ของระบบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05