การรับรู้ของหน่วยงานภาครัฐของจังหวัดนครราชสีมาที่มีต่ออุตสาหกรรมไมซ์ และความสำคัญของปัจจัยตามเกณฑ์การประเมินเมืองไมซ์ (MICE City) ของสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (สสปน.)

ผู้แต่ง

  • สุรัชสานุ์ ทองมี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ประสพชัย พสุนนท์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

อุตสาหกรรมไมซ์, เมืองไมซ์, การรับรู้, เกณฑ์การประเมินเมืองไมซ์

บทคัดย่อ

            การวิจัยมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาศักยภาพการรับรู้ของหน่วยงานภาครัฐต่ออุตสาหกรรมไมซ์ (MICE Industry) ในจังหวัดนครราชสีมา และ 2) เพื่อศึกษาความสำคัญของปัจจัยตามเกณฑ์การประเมินเมืองไมซ์ (MICE City) ตามการรับรู้ของหน่วยงานภาครัฐ เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้วิธีการสำรวจด้วยแบบสอบถาม (Questionnaires) สร้างขึ้นเพื่อเก็บข้อมูลกับภาครัฐจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 65 หน่วยงาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปและระดับการรับรู้ที่มีต่ออุตสาหกรรมไมซ์ ประกอบด้วย ค่าความถี่ (Frequencies) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย (Simple Regression Analysis) และการทดสอบที (T-test) ส่วนการวิเคราะห์ความสำคัญของปัจจัยตามเกณฑ์การประเมินเมืองไมซ์ (MICE City) โดยใช้การวิเคราะห์ปัจจัย (Factor Analysis) เพื่อสกัดปัจจัยซึ่งมีความเป็นอิสระต่อกัน การวิเคราะห์วิธีองค์ประกอบหลัก (Principal Component Analysis : PCA) ตัวประกอบหลัก และหมุนแกนปัจจัยโดยวิธีแวริเมกซ์ (Varimax) ผลการวิจัยพบว่า 1) หน่วยงานภาครัฐมีการรับรู้ถึงอุตสาหกรรมไมซ์อยู่ในเกณฑ์ที่ดี แต่ประสบการณ์ส่วนบุคคลนั้นไม่มีผลต่อการรับรู้เรื่องอุตสาหกรรมไมซ์ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และ 2) หน่วยงานภาครัฐให้ความสำคัญเรื่องเกณฑ์การประเมินเมืองไมซ์ แบ่งเป็น 6 องค์ประกอบ คือ การสนับสนุนการจัดงานและสถานที่พักอาศัย สถานที่จัดงานและสิ่งอำนวยความสะดวกในการจัดงาน กิจกรรมเพื่อความบันเทิงและการท่องเที่ยว ภาพลักษณ์และสภาพแวดล้อมของเมือง ความสะดวกในการเข้าสู่เมืองหรือสถานที่จัดประชุม และความเสี่ยงในการยกเลิกการจัดงานและความปลอดภัยของเมือง โดยสามารถอธิบายความแปรผันได้ร้อยละ 77.645

References

บีทริปนิวส์. (2017). “จิรุตถ์”หัวเรือใหญ่”ทีเส็บ”คนใหม่ โชว์วิสัยทัศน์ เร่งวางกลยุทธ์ ชู 5 QUICK WIN มุ่งยกระดับไมซ์. ค้นคืนจาก https://www.btripnews.net/?p=8126.

จังหวัดนครรราชสีมา. (2561). หนังสือด่วนที่สุด นม.๐๐๑๗.๒/๒๖๕๒๐ เรื่อง จังหวัดนครราชสีมาขอเข้ารับการประเมินเป็นเมืองไมซ์ซิตี้. นครราชสีมา: สำนักงานจังหวัดนครราชสีมา.

มาลินี มาลีคล้าย. (2554). การรับรู้การสื่อสารการตลาดของผู้บริโภคที่มีผลต่อภาพลักษณ์ตราสินค้าอิชิตันในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัญฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ศิริโสภาคย์ บูรพาเดชะ. (2529). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพมหานคร: คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔. ค้นคืนจากhttps://www.nesdc.go.th/ewt_dl_ link.php?nid=6422.

สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580. ค้นคืนจาก kbphpp.nationalhealth.or.th/bitstream/handle/123456789/21314/NationalStrategy.pdf?equence=1&isAllowed=y.

สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน). (2562). รายงานงบประมาณประจำปี 2561. ค้นคืนจาก https://www.businesseventsthailand.com/files/annual-reports/TCEB-AR2018-JULY07.pdf

สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน). (2557). คู่มือในการประเมินและคัดเลือกเมืองเพื่อจัดงานประชุมองค์กรการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล งานประชุมวิชาการ งานแสดงสินค้าและนิทรรศการ (MICE city). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ.

สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) (2560). รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาและจัดทำข้อมูลยุทธศาสตร์ของไมซ์ซิตี้และเมืองที่มีศักยภาพ (City Profile) จังหวัดนครราชสีมา . กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ.

Dwyer, L & Forsyth, P. (1997). Impacts and Benefits of MICE Tourism: A Framework for Analysis. Tourism Economics, 3(1), 21-38.

Goldblatt, J. & Nelson, K.S. (1999). Dollars and Event: How to Succeed in the Special Event Business. New York: John Wiley & Son.

Schmitt, B. (1999). Experiential Marketing. Journal of Marketing Management, 15(1-3), 53-67.

Stephen P. Robbins and Timothy A. Judge. (2011). Organizational Behavior. (14th ed.). New Jersey, U.S.A.: Pearson Education, Inc., publishing as Prentice Hall.

Thailand Convention & Exhibition Bureau (Public Organization). (2016). Introduction to MICE Industry. (2nd ed.). Bangkok: Thailand Convention & Exhibition Bureau.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-24

How to Cite

ทองมี ส. ., & พสุนนท์ ป. . (2020). การรับรู้ของหน่วยงานภาครัฐของจังหวัดนครราชสีมาที่มีต่ออุตสาหกรรมไมซ์ และความสำคัญของปัจจัยตามเกณฑ์การประเมินเมืองไมซ์ (MICE City) ของสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (สสปน.) . วารสารศิลปศาสตร์วิชาการและวิจัย (ออนไลน์), 15(2), 105–118. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/larhcu/article/view/242481

ฉบับ

บท

บทความวิจัย