รูปแบบการจัดการโบราณสถานตามหลักธรรมาภิบาล ของชุมชนท้องถิ่นในเขตภาคกลางตอนล่าง

ผู้แต่ง

  • พระมหาบุญไทย ปุญฺญมโน (ด้วงวงศ์) สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

รูปแบบการจัดการโบราณสถาน, หลักธรรมาภิบาล, ชุมชนท้องถิ่น, ภาคกลางตอนล่าง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพ และปัญหาการจัดการโบราณสถานตามหลักธรรมาภิบาล ของชุมชนท้องถิ่นในเขตภาคกลางตอนล่าง 2) เพื่อสร้าง รูปแบบการจัดการโบราณสถานตามหลักธรรมาภิบาล ของชุมชนท้องถิ่นในเขตภาคกลางตอนล่าง เป็นการ วิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แนวการสัมภาษณ์เชิงลึก และการ สนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า สภาพและปัญหาของ โบราณสถานในเขตภาคกลางตอนล่างสรุปได้ 2 ประการ คือ (1) โบราณสถานที่มีชื่อเสียงหรือได้รับการยกขึ้น เป็นอุทยานประวัติศาสตร์ เป็นที่รู้จักของประชาชน และนักท่องเที่ยว มักจะได้รับการดูแลจากกรมศิลปากร มีงบประมาณสนับสนุน มีหน่วยงานคอยกำกับดูแล บริหารจัดการ ปรับปรุงซ่อมแซมตามระเบียบ กฎหมาย เป็นอย่างดี (2) โบราณสถานที่ไม่ค่อยมีคนรู้จัก มักจะถูก ปล่อยให้รกร้าง มีสภาพทรุดโทรม มักจะไม่ค่อยได้รับ การดูแลจากหน่วยงานของภาครัฐมากนัก หลักธรรมาภิบาลประกอบด้วยหลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักความมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ หลักความคุ้มค่า การนำหลัก ธรรมาภิบาลมาใช้ในการจัดการโบราณสถานของชุมชน ท้องถิ่นในเขตภาคกลางตอนล่าง ตามโครงสร้างของ ชุมชนท้องถิ่นประกอบด้วยสภาพแวดล้อม เทคโนโลยี โครงสร้าง การตัดสินใจสั่งการ และกระบวนการจัดการ โดยมีแหล่งโบราณของชุมชนเป็นศูนย์กลาง สรุปได้ ดังนี้ ในด้านสภาพแวดล้อมของชุมชนมีลักษณะที่ แตกต่างกันโบราณสถานก็มีความสำคัญต่างกัน การจัดการ จึงแตกต่างกัน เทคโนโลยีใช้แบบเดียวกันในโครงสร้าง ที่แตกต่างกัน จึงต้องอาศัยผู้ที่มีความรู้ความชำนาญ เฉพาะด้านทั้งโครงสร้างของโบราณสถานและการใช้เทคโนโลยีซึ่งชุมชนไม่สามารถจะกระทำได้ ส่วน กระบวนการตัดสินใจสั่งการและกระบวนการจัดการ ชุมชนท้องถิ่นบางแห่งมีการจัดตั้งกลุ่ม สมาคม ชมรม ขึ้นมาเพื่อจัดการกับแหล่งโบราณสถาน ชุมชนท้องถิ่น สามารถทำได้คือให้ข้อเสนอแนะ ปลุกจิตสำนึกให้มี ความรักและหวงแหนแหล่งโบราณสถาน สร้างเป็น แหล่งเรียนรู้ของชุมชน หาแนวทางในการอนุรักษ์ มีส่วนร่วมในการจัดการภูมิปัญญาท้องถิ่นให้มีการ สืบทอดมาจากบรรพบุรุษสู่อนุชนเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน องค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการวิจัยรูปแบบ การจัดการโบราณสถานของชุมชนท้องถิ่น ในเขต ภาคกลางตอนล่าง เป็นการสังเคราะห์จากศึกษา การจัดการโบราณตามหลักธรรมาภิบาลของชุมชน ท้องถิ่นในเขตภาคกลางตอนล่าง จากการสัมภาษณ์ เชิงลึกและการสนทนากลุ่มจึงได้รูปแบบที่เหมาะสม ในการจัดการโบราณ สถานของชุมชนท้องถิ่นคือ ”ARCPHD : MODEL„ A = ย่อมาจากคำว่า Awareness Creating แปลว่า การสร้างจิตสำนึก ให้มีความรัก ความหวงแหน โบราณสถาน โดยใช้หลักคุณธรรมและหลักความ รับผิดชอบ R = ย่อมาจากคำว่า Community Learning Resources แปลว่า แหล่งเรียนรู้ของชุมชน/แหล่ง ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม โดยใช้หลักความคุ้มค่าและ หลักความรับผิดชอบ C = ย่อมาจากคำว่า Conservation แปลว่า การอนุรักษ์โบราณสถาน โดยใช้หลักนิติธรรม P = ย่อมาจากคำว่า Participation แปลว่า การมีส่วนร่วม ความร่วมมือ การช่วยกัน, ความร่วมแรง ร่วมใจ โดยใช้หลักการมีส่วนร่วมและหลักความโปร่งใส H = ย่อมาจากจากคำว่า Cultural Heritage แปลว่า มรดกทางวัฒนธรรม โดยใช้หลักความคุ้มค่า D = ย่อมาจากจากคำว่า Sustainable Development แปลว่า การพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยใช้ หลักธรรมาภิบาลได้ทุกข้อ คือ หลักนิติธรรม หลัก คุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่า

References

เกษม วัฒนชัย. (2546). ธรรมาภิบาลบทบาทสำคัญกรรมการสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

ราชบัณฑิตยสภา. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสภา.

พระราชบัญญัติโบราณสถาน. (2535). โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504. (แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2). กรุงเทพฯ: พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ.

สายันต์ ไพรชาญจิตร์. (2548). การจัดการโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑ์สถาน โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-26