แรงจูงใจที่ส่งผลต่อสมรรถนะในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3

ผู้แต่ง

  • รัชนิดา ไสยรส สาขาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • สิทธิพรร์ สุนทร คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

แรงจูงใจ, สมรรถนะ, ข้าราชการครูและ บุคลากรทางการศึกษา

บทคัดย่อ

 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยแรงจูงใจที่ส่งผลต่อสมรรถนะในการปฏิบัติงาน ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 2) ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับสมรรถนะในการ ปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ร้อยเอ็ด เขต 3 และ 3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแรงจูงใจ และสมรรถนะในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและ บุคลากรทางการศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 ประชากรและ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้อำนวยการและ รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษา ศึกษานิเทศก์ บุคลากรทางการศึกษาอื่น ตามมาตรา 38 ค (2) ผู้บริหารสถานศึกษาและข้าราชครู ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดร้อยเอ็ด เขต 3 จำนวน 1,998 คน คำนวณขนาด กลุ่มตัวอย่างตามสูตรของ Yamane (1973 : 727) ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 334 คน และสถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐาน ด้วยสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการ วิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ โดยวิธี Stepwise ที่นัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 

ผลการวิจัยพบว่า 
           1. ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรแรงจูงใจ กับสมรรถนะในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและ บุคลากรทางการศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 โดยรวมมีค่า ความสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง เท่ากับ .686 
           2. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา มีจำนวน 4 ตัว ได้แก่ ด้านการได้รับการยอมรับนับถือ ด้านลักษณะของ งานที่ปฏิบัติ ด้านความรับผิดชอบ ด้านความก้าวหน้า ในตำแหน่งหน้าที่ สามารถอธิบายตัวแปร คือ ตัวแปร แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากร ทางการศึกษาส่งผลต่อสมรรถนะในการปฏิบัติงานได้ ร้อยละ 50.40 มีค่า R2= .504 และมีค่าของ F เท่ากับ 83.414 ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ตัวแปร สมการชุดนี้สามารถเขียนสมการทำนายจากการวิเคราะห์ ถดถอยพหุตามสมการณ์ในรูปคะแนนดิบและคะแนน มาตรฐานได้ ดังต่อไปนี้
           สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ
            Y = .1.758+ .199X2+ .150X3 +.091X4 +.083X5
            สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน
            Zr = .350Z2+ .310Z3+ .216Z4 +.148Z5

            3. ข้อเสนอแนะต่อการเสริมสร้างแรงจูงใจ และสมรรถนะในการปฏิบัติงานของข้าราชการครู และ บุคลากรทางการศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 มีดังนี้ ควรมี การส่งเสริมขวัญและกำลังใจในการทำงาน เช่น การ อบรม การศึกษาต่อ สวัสดิการต่าง ๆ เป็นต้น ควรมี การรณรงค์หรือสร้างความตระหนักให้เห็นความสำคัญ ของการทำงานเพื่อส่วนรวมเป็นทีม ส่งเสริม หลัก ธรรมาภิบาลให้ครูและผู้บริหารโรงเรียน ส่งเสริมความ เป็นธรรมและมีส่วนร่วมในการพิจารณาความดีความชอบ ส่งเสริมข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มี ความรู้ในเรื่องระเบียบ กฎหมายและแนวทางการปฏิบัติ ราชการ เช่น งานพัสดุ งานการเงิน เป็นต้น 

References

ชุลีพร เพ็ชรศรี. (2556). คุณลักษณะของผู้ตามและบรรยากาศองค์กรที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการ ปฏิบัติงานของพนักงาน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ดวงกมล เนตรสวัสดิ์. (2557). ปัจจัยการรับรู้บรรยากาศองค์กร ความผูกพันต่อองค์กร และสมรรถนะหลักที่ส่งผลต่อขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร. การศึกษาค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

เบญญาภา เอกวัตร. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะการปฏิบัติงานของพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

ศิริรัตน์ เจือไธสง. (2555). สมรรถนะในการปฏิบัติงานของพนักงานส่วนตำบลขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สุกัญญา ปัตตะสงคราม. (2557). สมรรถนะในการปฏิบัติงานของพนักงานส่วนตำบลในเขตอำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

เสนาะ ติเยาว์. (2551). การบริหารงานบุคคล (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อรัญญา ไชยศร. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพ บรรยากาศขององค์การ ความผูกพันต่อองค์การกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของครูโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนใน จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 6(1), 59.

Andreea M., Stelian B., Diana N., & Dorin M. (2013). Innovation by Developing Human Resources, Ensuring the Competitiveness and Success of the Organization. Retrieved from http://www.sciencedirect.com.

Yamane, Taro. (1973). Statistics : an introductory analysis. New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-03-12