ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานตามภารกิจหลักขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดภาคกลาง

ผู้แต่ง

  • สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  • ไชยา ยิ้มวิไล วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  • สุรชัย ศิริไกร วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, การดำเนินงาน, องค์การบริหารส่วนตำบล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานตามภารกิจหลักขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดภาคกลาง และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานตามภารกิจหลักขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดภาคกลาง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง  จำนวน 1,099 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างด้วยโปรแกรม G*Power  และได้มาโดยใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.89 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเชิงเส้นตรง

          ผลการวิจัยพบดังนี้ 1) ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานตามภารกิจหลักขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดภาคกลาง โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.03, S.D.= 0.56) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับปานกลางจำนวน 5 ด้าน ได้แก่  ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว ด้านการอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญา ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต และด้านการจัดระเบียบชุมชน สังคม และการรักษาความสงบ และอยู่ในระดับต่ำจำนวน 2 ด้านได้แก่  ด้านการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์ธรรมชาติ และด้านการพัฒนาองค์กรและการบริหารจัดการ

              2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานตามภารกิจหลักขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดภาคกลางโดยรวม อย่างมีนัยสำคัญ           มีจำนวน  7  ตัวแปร  โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลโดยรวมมากที่สุด 3 ลำดับแรกได้แก่   ปัจจัยคุณลักษณะภาวะผู้นำ (x7 β = 0.22) ปัจจัยผลประโยชน์และสิ่งแลกเปลี่ยน (x4 β = 0.20) และปัจจัยการรับรู้ข่าวสารทางการเมือง             (x3 β = 0.19)

References

กรมการปกครอง. (2546). พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 : ภารกิจหลักในการบริหารราชการขององค์การบริหารส่วนตำบล 7 มิติ. (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อาสารักษาดินแดน

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2560). สรุปข้อมูลจำนวนอปท.ทั่วประเทศไทย : รายชื่อองค์การบริหารส่วนตำบลทั่วประเทศไทย. ข้อมูล ณ วันที่ 1 ธันวาคม 2560. กลุ่มงานกฎหมายและระเบียบท้องถิ่น. กองกฎหมายและระเบียบท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย.

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2546). พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 : ภารกิจหลักในการบริหารราชการขององค์การบริหารส่วนตำบล 7 มิติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อาสารักษาดินแดน.

กัมลาศ เยาวะนิจ. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นในจังหวัดปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎี บัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.

ชุลีพร โพธิ์เหลือง. (2557). ผลสัมฤทธิ์การบริหารราชการด้วยหลักธรรมาภิบาล ตามภารกิจหลักขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดภาคกลาง. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม 2557. 6(2) น.32-40. มหาวิทยาลัยปทุมธานี.

ณฐพล วิถี. (2558). รูปแบบการพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.

เรืองเดช สุวรรณวิจิตร. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนรวมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลวังหว้า อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร.

สมศักดิ์ ศรีสันติสุข และคณะ. (2558). รูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการติดตามตรวจสอบการดำเนินการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้านโครงสร้างพื้นฐาน : กรณีศึกษาเทศบาลตำบลห้วยโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ สาขารัฐประศาสนศาตร์. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สำนักวิจัยและพัฒนา, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2556). พระราชบัญญัติสภาตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537.ประกาศ ณ วันที่ 17 พฤศจิกายน 2556. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 110. ตอนที่ 26. หน้า 5.

อุดมโชค อาษาวิมลกิจ. (2558). การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการประเมินผลการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ คณะกรรมการสนับสนุนการวิจัย คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Cohen, J. M. & Uphoff, N. T. (1977). Participation’s Place in Rural Development: Seeking Clarity Through Specificity. World Development. 20: 17-19.

Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A.-G. & Buchner, A. (2007). G*Power 3: A flexible statistical Power analysis program for the social, Boston: McGraw – Hill.

Hair, F. Joseph et al. (2014). Multivariate data analysis. Seventh edition, Pearson new International edition. Boston: McGraw – Hill.

Likert, Rensis. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. Reading in Attitude Theory and Measurement. New York: Harper & Row.

Milbrath, Lester W. (1965). Political Participation: How and Why Do People Get Involved in Politics? Chicago: Rand Mc.Nally & Company.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-03-12