ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาหมู่บ้านในตำบลขามเปี้ย อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • สิทธิพรร์ สุนทร สาขาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • รัชนิดา ไสยรส สาขาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ปัจจัย, ชุมชนเข้มแข็ง, การพัฒนา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยที่ส่งผลการพัฒนาหมู่บ้านในตำบล ขามเปี้ย อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด 2) ความสัมพันธ์ ระหว่างความเข้มแข็งกับการพัฒนาหมู่บ้านในตำบล ขามเปี้ย อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด 3) ข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับการพัฒนาหมู่บ้านในตำบลขามเปี้ย อำเภอ โพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเพื่อให้สอดคล้อง กับวัตถุประสงค์การวิจัย โดยผ่านการตรวจสอบ ของผู้เชี่ยวชาญ 3 คน และได้ค่าความเชื่อมั่น 0.885 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในวิจัยคือประชาชนผู้เป็นหัวหน้า ครัวเรือนหรือตัวแทนที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านในเขต องค์การบริหารส่วนตำบลขามเปี้ย อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัด ร้อยเอ็ด จำนวน 1,025 ครัวเรือน จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 288 ครัวเรือน ซึ่งผู้วิจัยได้กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ สูตรการคำนวณหาขนาดของกลุ่มตัวอย่างของ ทาโร่ ยามาเน่ (Yamane, 1973: 727) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูลได้แก่ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การหา ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation) และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ โดยวิธี Stepwise ที่นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
             ผลการวิจัยพบว่า 
             1. ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรความเข้มแข็ง กับการพัฒนาหมู่บ้านในตำบลขามเปี้ย อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวมมีค่าความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง เท่ากับ .727 
             2. ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาหมู่บ้านในตำบล ขามเปี้ย อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด มีจำนวน 4 ตัว ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจชุมชน ด้านการจัดการทรัพยากรในชุมชน ด้านการบริหารจัดการชุมชน ด้านความมั่นคง ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน สามารถอธิบายตัวแปร คือ ตัวแปรความเข้มแข็งกับการพัฒนาหมู่บ้านในตำบล ขามเปี้ย อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด ได้ร้อยละ 84.90 มีค่า R2= .849 และมีค่าของ F เท่ากับ 212.226 ซึ่งมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ตัวแปรสมการชุดนี้ สามารถเขยี นสมการทำนายจากการวเิ คราะหถ์ ดถอยพหุ ตามสมการณ์ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานได้ ดังต่อไปนี้
            สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ 
            Y = .359+ .168X1+ .062X2 +.157X6 +.512X7  
            สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน 
            Zr = .535Z7+ .253Z1+ .218Z6 +.116Z2
            3. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาหมู่บ้าน ในตำบลขามเปี้ย อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด โดยเรียงจากค่าความถี่จากมากไปน้อย 3 ลำดับแรก คือ ประชาชนในชุมชนมีความสามัคคีและให้ความร่วมมือ ของคนในชุมชน รองลงมาคือควรมีการพัฒนาแหล่งน้ำ ธรรมชาติ จะได้เอื้อประโยชน์ต่อการทำเศรษฐกิจ พอเพียงของทุกครอบครัวในชุมชน และชุมชนควรมี การทำการเกษตรปลอดสารพิษและทำเกษตรอินทรีย์ โดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ทำด้วยเศษอาหารและกากน้ำตาล ไว้ใช้ในครัวเรือนของตนเอง

References

จุลชีพ ชินวรรโน. (2542). "รอยต่อระหว่างศตวรรษ : กระแสโลกกับการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม ระหว่างประเทศ". รัฐศาสตร์สาร 21/1.

จงสวัสดิ์ มณีจอม. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการพัฒนาชุมชนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนบ้านโคกไพร ตำบลทัพราช อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว.วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

จำนงค์ ปุผาลา. (2545). เอกสารวิชาทฤษฎีหลักว่าด้วยสังคมและการเมือง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ชาญณรงค์ ปราณีจิตต์. (2551). คำอธิบายพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค. (ม.ป.ท.: ม.ป.พ.).

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และอรอนงค์ ทิพย์พิมล. (2547). รัชกาลที่ 5 : สยามกับอุษาคเนย์และชมพูทวีป. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ และมูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย.

พัฒนาชุมชน, กรม. (2547). เอกสารแนวคิด แนวทาง และกรณีตัวอย่างการดำเนินงานศูนย์ประสานงานเครือข่ายองค์กรชุมชน. กรุงเทพฯ: สำนักส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน.

วารุณี คำแก้ว. (2550). ความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บริหารธุรกิจ), มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

สิงหณุ ขุณณิชย์. (2551). บทบาทขององค์การบริหารส่วนตำบลในการพัฒนาชุมชนไปสู่ความเข้มแข็ง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขายุทธศาสตร์การพัฒนา, มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

เสรี พงศ์พิศ, วิชิต นันทสุวรรณ และจำนง แรกพินิจ. (2554). การพัฒนาประเทศ. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.

สำนักศาลยุติธรรม. (2555). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://www.enlightened-jurists.com/page/128/ สืบค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2558.

หาญศึก ทรงสวัสดิ์. (2550). ปัจจัยที่ส่งผลต่อชุมชนเข้มแข็ง : กรณีศึกษาเทศบาลตำบลท่าข้าม อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขายุทธศาสตร์การพัฒนา, มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

Yamane, Taro. (1973). Statistics : an introductory analysis. New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-03-12