ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าใช้บริการที่พักประเภทรีสอร์ท บริเวณสะพานข้ามแม่นํ้าแคว อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี

ผู้แต่ง

  • วิชสุดา ร้อยพิลา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • สิริพร ดงสิงห์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • ศศิรินทร์ ขวัญตา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • สุวิมล ไชยพันธ์พงษ์ สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค

คำสำคัญ:

รีสอร์ท, สะพานข้ามแม่น้ำแคว

บทคัดย่อ

 บทความวิจัยนี้เป็นการศึกษาปัจจัยที่ส่งผล ต่อการเข้าใช้บริการที่พักประเภทรีสอร์ท บริเวณ สะพานข้ามแม่น้ำแคว อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการ เข้าใช้บริการที่พักประเภทรีสอร์ท บริเวณสะพานข้าม แม่น้ำแคว อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี (2) เปรียบเทียบ ความสำคัญของปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าใช้บริการที่พัก ประเภทรีสอร์ท บริเวณสะพานข้ามแม่น้ำแคว อำเภอ เมือง จังหวัดกาญจนบุรี โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ แบบสอบถามคือ กลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวชาวไทย ที่มาท่องเที่ยวบริเวณสะพานข้ามแม่น้ำแคว จำนวน 400 คน จากผลการศึกษาข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบ แบบสอบถาม พบว่า เพศชายมีมากกว่าเพศหญิงใน อัตราส่วน 61.20 ต่อ 38.80 ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 20 - 29 ปี ผลการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าใช้บริการ ที่พักประเภทรีสอร์ท บริเวณสะพานข้ามแม่น้ำแคว อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ในด้านต่าง ๆ ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านการจัดจำหน่าย ด้านส่งเสริมการตลาด ด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านบุคคล พนักงาน ด้านกระบวนการให้บริการ พบว่านักท่องเที่ยว ส่วนใหญ่ ให้ความสำคัญในด้านผลิตภัณฑ์ = 3.96 อยู่ในระดับมาก ในด้านราคา = 3.69 อยู่ในระดับมาก ในด้านการจัดจำหน่าย = 3.98 ในด้านการส่งเสริม การตลาด = 3.78 ในด้านลักษณะทางกายภาพ = 4.02 ในด้านบุคคลพนักงาน = 4.24 ในด้านกระบวนการ ให้บริการ = 4.05

References

กระทรวงการท่องเที่ยว. (2558). ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวไทย พ.ศ. 2558 - 2560. ได้จาก: http://www.mots.go.th/ewt_dl_link.php?nid=7114. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2560

กนกวรรณ แก้วตา และคณะ. (2559). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจมาท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์สะพานข้ามแม่น้ำแคว จังหวัดกาญจนบุรี ของนักท่องเที่ยวชาวไทย. การเสนอผลงานประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา. ได้จาก http://www.info.ms.su.ac.th/sums01/PDF01/979_20160728_p_125.pdf, สืบค้นเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2561

กาญจนา สุคัณธสิริกุล. (2558). การพัฒนาศักยภาพการตลาดบริการของโฮมเสตย์ที่ได้รับรอง มาตรฐานในจังหวัดนครราชสีมา, รายงานการวิจัย, สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการ สำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ได้จาก http://sutir.sut.ac.th:8080/sutir/bitstream/123456789/5660/1/Fulltext.pdf สืบค้นเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2560

ปิยาทิพย์ นิยมศักดิ์ และ ประสพชัย พสุนนท์ (2560). พฤติกรรมและการวิเคราะห์ปัจจัยการเลือกมาท่องเที่ยวสะพานข้ามแม่น้ำแคว จังหวัดกาญจนบุรี. การประชุมเชิงวิชาการระดับชาติครั้งที่ 5 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้. ได้จาก: http://www.info.ms.su.ac.th/sums01/PDF01/1478_20170721_p_187.pdf. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2561

พัฒนะ ธนกฤตพุฒิเมธ. (2559). การประเมินคุณภาพการให้บริการของโรงแรมระดับ 4 ดาว บริเวณชายหาด 4 หาดในเมืองพัทยา โดยการประยุกต์ใช้ SERVQUAL Model. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 7 23 มิถุนายน2559 มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.ได้จาก: http://www.hu.ac.th/conference/conference2016/. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2560

พินิตา แก้วจิตคงทอง และเยาวลักษณ์ ชาวบ้านโพธิ์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการการจัดประชุมและสัมมนา (MICE) ของธุรกิจโรงแรมและรีสอร์ทในจังหวัดกาญจนบุรี. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทริน์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. ได้จาก: http://www.western.ac.th/westernnew/admin/uploaded/journal_human/files/64.pdf. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2561

มนต์ภัทร์ เมขลิน. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้สื่อการตลาดของธุรกิจโรงแรมกับการเลือกใช้บริการของโรงแรมในจังหวัดกาญจนบุรี. สำนักวิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. ได้จาก:80240-Article%20Text-193699-1-10-20170320.pdf. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2561

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-03-12