การบริหารจัดการอาชีวศึกษาเพื่อนำครัวไทยสู่ครัวโลก
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการอาชีวศึกษา, ครัวไทยสู่ ครัวโลกบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อทราบ 1) องค์ประกอบการบริหารจัดการอาชีวศึกษา เพื่อนำครัวไทยสู่ครัวโลก 2) ผลการยืนยันองค์ประกอบ การบริหารจัดการอาชีวศึกษาเพื่อนำครัวไทยสู่ครัวโลก กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ วิทยาลัยอาชีวศึกษา ภาควิชา คหกรรมศาสตร์ จำนวน 80 วิทยาลัย ผู้ให้ข้อมูล วิทยาลัยละ 3 คนคือ ผู้อำนวยการวิทยาลัย / รอง ผู้อำนวยการวิทยาลัย / หัวหน้าฝ่ายวิชาการ (คหกรรม ศาสตร์) รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 240 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง แบบสอบถามความคิดเห็น และแบบยืนยัน สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่ามัชฌิม เลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ องค์ประกอบเชิงสำรวจ และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. การบริหารจัดการอาชีวศึกษาเพื่อนำครัวไทย สู่ครัวโลก ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ 1) ด้านนโยบาย และการวางแผนในการบริหารจัดการอาชีวศึกษา เพื่อนำครัวไทยสู่ครัวโลก 2) ด้านการส่งเสริมและการ ประชาสัมพันธ์ 3) ด้านกฎหมายและมาตรฐานด้านอาหาร และการส่งออก 4) ด้านเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมในการ ผลิตอาหาร 5) ด้านการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ และ 6) ด้านการส่งเสริมการจัดการด้านพลังงานและ สิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา
2. ผลการยืนยันองค์ประกอบการบริหาร จัดการอาชีวศึกษาเพื่อนำครัวไทยสู่ครัวโลก ผู้ทรง คุณวุฒิ เห็นสอดคล้องกันว่า องค์ประกอบการบริหาร จัดการอาชีวศึกษาเพื่อนำครัวไทยสู่ครัวโลกมีความ เหมาะสม มีความเป็นไปได้ เป็นประโยชน์ของ องค์ประกอบ
References
ไพศาล พืชมงคล. บทความยุทธศาสตร์อาหาร. เข้าถึงเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2558 เข้าถึงได้จาก http://www.paisalvision.com/index.php)
สมบัติ พลายน้อย. ครัวไทย. สำนักหอสมุดแห่งชาติ ส.พลายน้อย ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี 2553 เข้าถึงเมื่อ 30 กันยายน 2558 เข้าถึงได้จาก หนังสือครัวไทย
สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา. นโยบายกระทรวงศึกษา นโยบายเป้าหมายยุทธศาสตร์การผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาสู่สากล (พ.ศ.2555-2569). เข้าถึงเมื่อ 5 พฤษภาคม 2556 เข้าถึงได้จาก http://www.vec.go.th/
สำนักงานสนับสนุนการพพัฒนายุทธศาสตร์แห่งชาติด้านอาหาร,ยุทธศาสตร์อาหารไทยกับพลังแผ่นดิน (กรุงเทพฯ:บริษัท 20 เช็นจูรี่ จำกัด, 2545),1-14
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.). การวิเคราะห์โอกาสและศักยภาพของการพัฒนาอาหารไทยสู่ตลาดโลก โดย วิสิฐ จะวะสิต และคณะ. เข้าถึงได้จาก http://elibrary.trf.or.th/ เข้าถึงเมื่อ 5 กันยายน 2556
สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. (2555). กรอบยุทธศาสตร์การจัดการด้านอาหารของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
Krejcie, R.V., and P.W. Morgan. (1970). Educational and Psychological Measurement. New York: Harper & Row Publishers.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความวิชาการและบทความวิจัยในวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศาส์น ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์