การบริหารระบบสารสนเทศของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ที่ผ่านการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสามในระดับดีมาก

ผู้แต่ง

  • วรรณศร ขอสกุลไพศาล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ประเสริฐ อินทร์รักษ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

การบริหารระบบสารสนเทศ, การประเมินคุณภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) องค์ประกอบการบรหิ ารระบบสารสนเทศของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ที่ผ่านการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสามในระดับ ดีมาก 2) ผลการยืนยันองค์ประกอบการบริหารระบบ สารสนเทศของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาที่ผ่านการประเมินคุณภาพ ภายนอกรอบสามในระดับดีมาก ประชากร คือ โรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ที่ผ่านการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสามในระดับ ดีมาก จำนวน 2,642 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่างโดยการ เปิดตารางของของ ทาโร ยามาเน่ (Taro Yamane) คือ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษาที่ผ่านการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม ในระดับดีมาก จำนวน 96 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล โรงเรียนละ 3 คน ดังนี้ 1) ผู้อำนวยการสถานศึกษา/รักษาการ 2) รองผู้อำนวยการสถานศึกษา/รักษาการ 3) หัวหน้า งานสารสนเทศของโรงเรียน รวมทั้งสิ้น 288 คน เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และ แบบสอบถามความคิดเห็น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล ได้แก่ การสังเคราะห์เอกสาร ความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ องค์ประกอบเชิงสำารวจ
              ผลการวิจัยพบว่า 
             1. องค์ประกอบการบริหารระบบสารสนเทศ ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาที่ผ่านการประเมินคุณภาพภายนอก รอบสามในระดับดีมาก เป็นพหุองค์ประกอบ มี 6 องค์ประกอบ คือ 1) ด้านกระบวนการของระบบ สารสนเทศ 2) ด้านการควบคุม ติดตาม และการ ประเมินผลระบบสารสนเทศของโรงเรียน 3) ด้านการ บริหารงานโดยใช้หลักธรรมมาภิบาล 4) ด้านการกระจาย อำนาจตามโครงสร้างสถานศึกษา 5) ด้านการใช้ เทคโนโลยีในการจัดระบบสารสนเทศ 6) ด้านแหล่ง ข้อมูลสารสนเทศ 
            2. ผลการยืนยันองค์ประกอบการ บริหารระบบสารสนเทศของโรงเรียนในสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาที่ผ่านการประเมิน คุณภาพภายนอกรอบสามในระดับดีมาก ผู้ทรงคุณวุฒิ เห็นสอดคล้องกันว่า องค์ประกอบการบริหารระบบ สารสนเทศของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาที่ผ่านการประเมินคุณภาพ ภายนอกรอบสามในระดับดีมาก มีความถูกต้อง เหมาะสม เป็นไปได้ และเป็นประโยชน์

References

ธนา จินดาวัฒนะ. (2554). การจัดระบบสารสนเทศเพื่อการวางแผนในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 5. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ประคอง จิตรัตน์. (2552). การใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดระยอง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วราภรณ์ เทพสัมฤทธิ์พร. (2551). การศึกษาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วิทยานิพนธป์ ริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วิจิตร อุ่นสกล. (2554). การศึกษาระบบสารสนเทศในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดกรมสามัญศึกษาเขตการศึกษา 9. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วีระ สุภากิจ. (2542). ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร. กรุงเทพฯ: ศรีนครินทร์วิโรฒประสารมิตร.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ:สกายบุ๊กส์.

Alberta Education, Research Model from Alberta Education. (1990). [Online], accessed29/December/2015. Available from http://www.2leam.ca/research/1990 model.html

Athar Imtiaz. et all. Critical Success Factors of Information Technology Projects, World Academy of Science, Engineering and Technology International Journal of Social, Behavioral, Educational, Economic, Business and Industrial Engineering Vol:7, No:12, 2013.

Best, John W., Research in Education, 2nd ed. (New Jersey: Prentice-Hall, 1970), 204-208.

James A. O’Brain, Management Information Systems, 3rd ed. (Chicago McGraw-Hill Book Company, 2006), 26.

John G. Burch and Gary Grudnistski, Information Systems, 5th ed. New York: John Wiley & Son,Inc.,1989), 40-44.

Kenneth C. Laudon and Jane P.Laudon, Management Information Systems: Organization and Technology, 4rd ed. (New York: McMillan Publishing Company, 2004), 7-8.

Lee J. Cronbach, Essentials of Psychological Test, 4 th ed. (New York: Harper & Row, 1984),126.

Marcia Bernbaum and Kurt Moses. Education Management Information Systems,

Yamane, Taro, Statistics: An Introductory Analysis, Third edition, (New York: Harper and Row Publication, 1973)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-03-12