การบริหารความเสี่ยงด้านกฎหมายในความรับผิดทางละเมิดของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล
คำสำคัญ:
การบริหารความเสี่ยง, กฎหมายความรับผิดทางละเมิดบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) ความเสี่ยงด้านกฎหมายในความรับผิดทางละเมิด ของผ้บูริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคลและ 2) องค์ประกอบการบริหารความเสี่ยงด้านกฎหมาย ในความรับผิดทางละเมิดของผู้บริหารสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ครั้งนี้ คือ สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 95 โรงเรียน ได้มาจากการกำหนดขนาดตัวอย่าง โดยตารางประมาณการขนาดตัวอย่างของทาโร ยามาเน่ ที่ระดับความเชื่อมั่น 90% จากโรงเรียนมัธยมศึกษา ทั่วประเทศ จำนวน 2,361 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลสถานศึกษา ละ 3 คน คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการ สถานศึกษาฝ่ายบริหารวิชาการหรือฝ่ายบริหารงานบุคคล และรองผู้อำนวยการสถานศึกษาฝ่ายบริหารงบประมาณ หรือฝ่ายบริหารทั่วไป รวมทั้งสิ้น 285 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบไม่มีโครงสร้าง และ แบบสอบถามความคิดเห็น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ โดยใช้ โปรแกรมสำเร็จรูป และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. การบริหารความเสี่ยงด้านกฎหมาย ในความรับผิดทางละเมิดของผู้บริหารสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล เป็นไปตามประมวลกฎหมาย และกฎหมายหลัก 2 ฉบับ คือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิด ของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ที่เกิดจากการกระทำให้บุคคล อื่นได้รับความเสียหายโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ภายใต้ขอบข่ายการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็น นิติบุคคล ครอบคลุมการบริหารงานวิชาการ งบประมาณ งานบุคคล และงานบริหารทั่วไป
2. องค์ประกอบการบริหารความเสี่ยง ด้านกฎหมายในความรับผิดทางละเมิดของผู้บริหาร สถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) ด้านการบริหารจัดการ สถานศึกษา 2) ด้านการปฏิบัติตามกฎหมาย 3) ด้าน ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ และ 4) ด้านการไม่ละเลย การปฏิบัติตามกฎหมาย โดยองค์ประกอบหลักที่ 1 มี 5 องค์ประกอบย่อย คือ 1) การพัฒนาทีมงาน 2) การ บริหารแบบมี ส่วนร่วม 3) การควบคุมภายใน 4) การ ส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษา และ 5) การ ประกันคุณภาพการศึกษา
References
จำลองลักษณ์ อินทวัน และ ปราชญ์ ปรัชญาพันธ์. (2552). ความรู้ และเจตคติที่มีต่อกฎหมายในชีวิตประจำวันของประชาชน ในจังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
ดิเรก ควรสมาคม. (2555). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: วิญญูชน จำกัด.
ดวงใจ ช่วยตระกูล. (2551). การบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
น้ำทิพ สุขโชคอำนวย. (2556). ปัญหาหลักความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผลในกฎหมายละเมิด. วิทยานิพนธ์ปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประกอบ กุลเกลี้ยง. (2550). รูปแบบการบริหารความเสี่ยงเพื่อป้องกันคอรัปชันในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ปรียากร พิรพัชยานันท์. (2553). การบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียน มัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนครพนม.
วิลาส บุญนุ่น. (2553). การบริหารความเสี่ยงด้านกฎหมาย ของระบบงานการเงินการคลังในองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำขาว อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ปริญญา รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วีระวรรณ ศิริพงษ์. การบริหารความเสี่ยงกับการบริหารความเสี่ยงองค์กรโดยรวม. ประกาย. ปีที่ 3 ฉบับที่ 26 (พฤษภาคม 2549) : 14.
สฎายุ ธีระวณิชตระกูล. (2555). ปัญหาความเป็นนิติบุคคลของสถานศึกษาภายใต้ พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายเอกชน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักความรับผิดทางแพ่ง กลุ่มงานพัฒนาและบริหารงานละเมิดและแพ่ง กรมบัญชีกลาง. ย่อคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาความรับผิดทางแพ่ง. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2558 จาก http://www2.cgd.go.th/organize_data_2_3_06.asp
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
อัญชลี มนต์สุวรรณ. โรงเรียนนิติบุคคล. วารสารการศึกษา กทม. ปีที่ 27 ฉบับที่ 7 (เมษายน 2547): 9.
อำรุง จันทวานิช และคณะ. โรงเรียนสมบูรณ์แบบ. accessed 3 April 2017. Available http://www.moe.go.th
Abbas Tahakkori and Charles Tedlie. Mixed Methodology : Combining Qualitative and Quantitative Approaches. Thousand Oaks, Californai: Sage, 1998.
Blakemore. Timothy, Greene, Brendan. Law for legal executives : professional diploma in law. level 3. year 1. English legal system. The law relating to land. criminal law. law of tort. Oxford: Oxford University Press, 2004.
Harpwood, Vivienne. Modern tort law. London, U. K.: Cavendish Pub, 2005.
John G , Fleming. The low of torts. Sydney: Low Book, 1992.
Lunney and Ken Oliphant Mark. Tort Law: Text and Materials. Oxford University Press, 2003.
Schuster.Ernest J. The Principles of German Civil Low. Oxford: the Clarendon Press, 2007.
Yamane Taro. Statistics : An Introductory Analysis, 1970.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความวิชาการและบทความวิจัยในวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศาส์น ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์