ภารกิจการจัดการศึกษาของเทศบาลนคร
คำสำคัญ:
ภารกิจการจัดการศึกษา, เทศบาลนครบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ใช้เทคนิคการวิจัยอนาคต EDFR มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อทราบภารกิจ การจัดการศึกษาของเทศบาลนคร เครื่องมือที่ใช้ รวบรวมข้อมูล คือ 1) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง 2) แบบสอบถามความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วย 1) ผู้บริหารระดับนโยบาย กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น 2) ผู้บริหารระดับท้องถิ่น 3) ผู้ปฏิบัติระดับ ท้องถิ่น 4) ผู้บริหารระดับสถานศึกษา 5) ผู้ทรงคุณวุฒิ รวมทั้งสิ้น 19 คน สถิติวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่ามัธยฐาน, ค่าฐานนิยม, ค่าพิสัยระหว่างคลอไทล์ และ การวิเคราะห์เนื้อหาจากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ผลการวิจัยพบว่า 1) ภารกิจการจัดการศึกษา ของเทศบาลนคร ประกอบด้วย 13 ด้าน ดังนี้ (1) ด้าน การจัดการศึกษาพัฒนาเด็กเล็ก (2) ด้านการจัดการ ศึกษาภาคบังคับ (3) ด้านการจัดการศึกษามัธยม ตอนปลาย (4) ด้านการจัดการศึกษาอาชีวศึกษา (5) ด้านการจัดการศึกษานอกระบบ (6) ด้านการจัดการ ศึกษาตามอัธยาศัย (7) ด้านการส่งเสริมพัฒนาบุคลากร ทางการศึกษา (8) ด้านส่งเสริมสนับสนุน อนุรักษ์ วัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่น (9) ด้านการจัดการ ศึกษาอาชีพในชุมชน (10) ด้านการจัดแหล่งเรียนรู้ ในเขตเทศบาลนคร (11) ด้านการเตรียมการศึกษา สำหรับศตวรรษที่ 21 (12) ด้านการจัดการศึกษาองค์กร แห่งการเรียนรู้ (13) ด้านการจัดการอุดมศึกษาของ เทศบาลนคร 2) แนวปฏิบัติภารกิจการจัดการศึกษาของ เทศบาล ประกอบด้วย 96 แนวปฏิบัติ ได้แก่ ด้านการ จัดการศึกษาพัฒนาเด็กเล็ก 7 แนวปฏิบัติ ด้านการ จัดการศึกษาภาคบังคับ 6 แนวปฏิบัติ ด้านการจัดการ ศึกษามัธยมตอนปลาย 5 แนวปฏิบัติ ด้านการจัดการ ศึกษาอาชีวศึกษา 7 แนวปฏิบัติด้านการจัดการศึกษานอกระบบ 7 แนวปฏิบัติ ด้านการจัดการศึกษาตาม อัธยาศัย 8 แนวปฏิบัติ ด้านการส่งเสริมพัฒนาบุคลากร ทางการศึกษา 8 แนวปฏิบัติ ด้านส่งเสริมสนับสนุน อนุรักษ์วัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่น 8 แนวปฏิบัติ ด้านการจัดการศึกษาอาชีพในชุมชน 8 แนวปฏิบัติ ด้านการจัดแหล่งเรียนรู้ในเขตเทศบาลนคร 7 แนวปฏิบัติ ด้านการเตรียมการศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21 9 แนว ปฏิบัติด้านการจัดการศึกษาองค์กรแห่งการเรียนรู้ 10 แนวปฏิบัติ และด้านการจัดการอุดมศึกษาของ เทศบาลนคร 6 แนวปฏิบัติ
References
ปรัชญา เวสารัชช์. (2552). หลักการจัดการศึกษา. กรุงเทพฯ: โครงการพัฒนาผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาครูผู้นำชุมชนและผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2554). การวิจัยประเมินผลการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายด้านประสิทธิภาพการบริหารจัดการและการมีส่วนร่วม สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
ไพฑูรย์ บุญวัฒน์. (2551). การปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพฯ: สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2557). ปฏิบัติการวิจัยอนาคตด้วยEDFR. กรุงเทพฯ: อักษราพิพัฒน์.
วีระศักดิ์ เครือเทพ. (2552). การกระจายอำนาจกับการปฏิรูปประเทศไทย. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมนวัตกรรมและธรรมาภิบาลท้องถิ่น (CLIG).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความวิชาการและบทความวิจัยในวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศาส์น ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์