การพัฒนารูปแบบและเนื้อหาของเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์เพื่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในเขตอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี

ผู้แต่ง

  • อัศม์เดช เตชัสพิสิษฐ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • ไพบูรณ์ คะเชนทรพรรค์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

รูปแบบและเนื้อหาเว็บไซต์, การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์

บทคัดย่อ

 งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูล ทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในเขตอำเภอ สังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 2) กำหนดรูปแบบและ เนื้อหาของเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์เพื่อการท่องเที่ยว เชิงสร้างสรรค์ในเขตอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 3) พัฒนารูปแบบและเนื้อหาของเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์ เพื่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในเขตอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 
             การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ขั้นตอน การวิจัย ประกอบด้วย 1) ศึกษาและรวบรวมข้อมูล ทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในเขตอำเภอ สังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 2) กำหนดรูปแบบและ เนื้อหาของเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์เพื่อการท่องเที่ยว เชิงสร้างสรรค์ 3) สร้างและทดสอบเว็บไซต์ด้วยโปรแกรม ประยุกต์สำหรับออกแบบเว็บไซต์สำเร็จรูป (Google Sites) และประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการ พัฒนาเว็บไซต์ จำนวน 2 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านการ ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว จำนวน 2 คน 4) เผยแพร่ และประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ผ่าน Facebook Fanpage และประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าชมเว็บไซต์จำนวน 400 คน ด้วยแบบสอบถามออนไลน์ และ 5) พัฒนา รูปแบบและเนื้อหาเว็บไซต์จากผลการประเมินคุณภาพ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเว็บไซต์ จำนวน 2 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว จำนวน 2 คน
           ผลการวิจัยพบว่า 1) ทรัพยากรการท่องเที่ยว เชิงสร้างสรรค์ในเขตอำเภอสังขละบุรีประกอบด้วย มรดกทางวัฒนธรรมและ วิถีชีวิตของชุมชนหมู่บ้าน สะเนพ่อง, หมู่บ้านเวียคะดี้, หมู่บ้านมอญ และชุมชน เทศบาลตำบลวังกะ 2) รูปแบบและเนื้อหาของเว็บไซต์ สามารถจำแนกออกเป็น 5 เมนู ได้แก่ (1) แนวทาง การเป็นนักท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (2) กิจกรรมเชิง สร้างสรรค์ในสังขละบุรี (3) สถานที่ท่องเที่ยว (4) ข้อมูล ทั่วไป ประวัติความเป็นมา สถานที่พัก ร้านอาหาร ปั้มน้ำมัน และ (5) ลิงค์ไปยัง Facebook Fanpage และ 3) ผลการพัฒนารูปแบบและเนื้อหาเว็บไซต์ ประชาสัมพันธ์เพื่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในเขต อำเภอสังขละบุรี ผู้เข้าชมเว็บไซต์มีความพึงพอใจทั้งด้าน รูปแบบและเนื้อหาในระดับ ”ดี” และผู้เชี่ยวชาญประเมิน คุณภาพของทั้งด้านรูปแบบและเนื้อหาอยู่ในระดับ ”ดี”

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (ม.ป.ป.). การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. E-Book ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2559. จาก http://tourisminvest.tat. or.th/ctbookth/#1

ชนัญ วงษ์วิภาค. (2559). การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ Creative Tourism. หลักสูตรการจัดการมรดกวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยนวัตกรรมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธีระ สินเดชารักษ์ และนาฬิกอติภัค แสงสนิท. (2556). การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์: การรับรู้ของนักท่องเที่ยวความพร้อมของเจ้าของกิจกรรม และความเป็นไปได้ของการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปิรันธ์ ชินโชติ และธีระวัฒน์ จันทึก. (2559). รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของสวนผึ้ง. วารสาร Veridian E-Journal ฉบับภาษาไทย, 9(1). สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพมหานคร.

ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี. (2539). ภูมิปัญญานิเวศวิทยาชนพื้นเมือง: ศึกษากรณีชุมชนกะเหรี่ยงในป่าทุ่งใหญ่นเรศวร.กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร โครงการฟื้นผู้ชีวิตและธรรมชาติ.

ปิยะดนัย วิเคียน. (ม.ป.ป.). หลักการออกแบบเว็บไซต์. สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 2559. จาก https://krupiyadanai.wordpress.com/บทเรียน-html/การออกแบบเว็บไซต์/

ภูริวัจน์ เดชอุ่ม. (2556). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์: กรอบแนวคิดสู่แนวทางปฏิบัติสำหรับประเทศไทย.กรุงเทพฯ: วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 33(2). น.331-336.

มูลนิธิพัฒนรักษ์. (2554). สรุปผลการสัมมนาระดับจังหวัด และการดำเนินงานในรอบปี 2554 โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ด้อยโอกาส อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี. กาญจนบุรี: รายงานสรุปประจำปี มูลนิธิพัฒนรักษ์ สังขละบุรี.

วิวัฒน์ สมตน และรัฐพล ประดับเวทย์. (2557). การพัฒนาเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์ พิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาไทย. กรุงเทพฯ: วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2558). สำรวจพฤติกรรมการท่องเที่ยวของคนไทย ปี 58. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2559. จาก https:// www.marketingoops.com/news/thai-tourism-2015/

สมศักดิ์ คูหาสวรรค์เวช และประพัฒน์ อธิปัญจพงษ์. (2552). การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อการท่องเที่ยวเชิงเกษตรแบบมีส่วนร่วมของเครือข่ายท่องเที่ยวเชิงเกษตรจังหวัดระยอง. ศูนย์ประสานวานวิจัยเพื่อท้องถิ่น คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, กรุงเทพมหานคร.

อพท. (2556). วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ เป้าหมาย. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2559. จาก http:// www.dasta.or.th /th/aboutus/about-plans/about-vision

Easydomain. (ม.ป.ป.) ความหมายของ Content Management System. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2559. จาก http:// th.easyhostdomain.com/dedicated-servers/cms.html

eBizMBA Guide. (2559). Top 15 Most Popular Search Engines/September 2016. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2559. จาก http://www.ebizmba.com/articles/search-engines

Marketting Oops.com. (2558). สำรวจพฤติกรรมการท่องเที่ยวของคนไทยปี 58. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2559. จาก https://www.marketingoops.com/news/thai-tourism-2015/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-03-12