การบริหารงานที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนอนุบาลฤทธิยะวรรณาลัย

ผู้แต่ง

  • สมพร ยอดดำเนิน นักวิชาการอิสระ
  • เสน่ห์ ฎีกาวงค์ นักวิชาการอิสระ
  • นันทิยา รักตประจิต นักวิชาการอิสระ

คำสำคัญ:

การบริหารงานโรงเรียน, การบริหารงานที่มีประสิทธิผล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) องค์ประกอบการบริหารงานที่มีประสิทธิผลของ โรงเรียนอนุบาลฤทธิยะวรรณาลัย 2) ผลการยืนยัน องค์ประกอบการบริหารงานที่มีประสิทธิผลของโรงเรียน อนุบาลฤทธิยะวรรณาลัย วิธีการดำเนินการวิจัยประกอบ ด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาค้นคว้าตัวแปรการ บริหารงานที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนอนุบาลฤทธิยะ วรรณาลัยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาจากการศึกษาเอกสาร และสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ขั้นตอนที่ 2 การวิเคราะห์ องค์ประกอบการบริหารงานที่มีประสิทธิผลของโรงเรียน อนุบาลฤทธิยะวรรณาลัยเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ความคิดเห็นจาก ผู้บริหารระดับนโยบาย ผู้บริหาร โรงเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา ครู ผู้ปกครอง และครูสถานศึกษาอื่น ได้ขนาดตัวอย่างประชากร 291 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ขั้นตอนที่ 3 การ ยืนยันองค์ประกอบการบริหารงานที่มีประสิทธิผล ของโรงเรียนอนุบาลฤทธิยะวรรณาลัย โดยผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เชี่ยวชาญทั้งภายในและภายนอกกองทัพอากาศ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ ไม่มีโครงสร้าง แบบสอบถาม และแบบยืนยันผลการวิจัย เรื่องการบริหารงานที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนอนุบาล ฤทธิยะวรรณาลัยสำหรับผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิม เลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบ เชิงสำรวจ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปและการวิเคราะห์ เนื้อหา
             ผลการวิจัยพบว่า 
             1. องค์ประกอบการบริหารงานที่มีประสิทธิผล ของโรงเรียนอนุบาลฤทธิยะวรรณาลัยประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ 1) องค์ประกอบด้านการบริหารจัดการ ในโรงเรียน 2) องค์ประกอบด้านการนำองค์กร (คุณลักษณะ ของผู้บริหารและการวางแผน) 3) องค์ประกอบด้านครู และบุคลากรและ 4) องค์ประกอบด้านสภาพแวดล้อม และบรรยากาศภายในโรงเรียน 
            2. ผลการยืนยันองค์ประกอบการบริหารงาน ที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนอนุบาลฤทธิยะวรรณาลัย ประกอบ ทั้ง 4 องค์ประกอบ ได้รับการยืนยันจากผู้เชี่ยวชาญ และผู้ทรงคุณวุฒิว่ามีความถูกต้อง มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

References

วิจารณ์ พานิช. การบรรยายพิเศษแนวโน้มการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2558 ณ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2556). กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษา กรณีทัศนะต่อการศึกษา ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ทิพยวิสุทธิ์.

สมหมาย อ่าดอนกลอย. (2556). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารบัณฑิตศึกษา ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2556 : มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) – สบร. การจัดการชั้นเรียนและสิ่งแวดล้อม ในการเรียนรู้
อนุบาล. http://www.okmd.or.th/bbl/documents/306/bbl-classroom-management-learningenvironment

Journal of Graduate School, Pibulsongkram Rajabhat University. Vol. 7 No. 1 January – June 2013

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-03-12