กระบวนการส่งเสริมสิทธิและการรับรู้ของประชาชน ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ในเขตจังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • ไศลโสภิน ภิรมย์ไกรภักดิ์ สาขานิติศาสตร์ โครงการจัดตั้งคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

คำสำคัญ:

กระบวนการส่งเสริมสิทธิ, การรับรู้ของประชาชน

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาถึงกระบวนการส่งเสริมสิทธิและการรับรู้ ของประชาชนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอ ข้อบัญญัติท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ในเขตจังหวัดชัยภูมิ 2) ศึกษาถึงถึงสภาพปัญหาและอุปสรรคในกระบวนการ ส่งเสริมสิทธิและการรับรู้ของประชาชนในรูปแบบ กระบวนการเข้าไปมีส่วนร่วมกับชุมชนของประชาชน ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3) ทำความเข้าใจกับ ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการเข้าไปมีส่วนร่วม โดยการใช้แบบสอบถามโดยใช้สูตรการคำนวณของ Taro Yamane โดยคำนวณสัดส่วนจากประชากรผู้มี สิทธิเลือกตั้ง อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ซึ่งมีภูมิลำเนา อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 396 คน ผลการศึกษาโดยสำรวจ จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดชัยภูมิ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับระดับความรู้ความเข้าใจ ในพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติ ท้องถิ่น พ.ศ. 2542 
             ผลการวิจัยพบว่า ประชากรมีระดับความรู้ ความเข้าใจในการปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบ องค์การบริหารส่วนตำบลในระดับสูง แต่ความรู้ ความเข้าใจในพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอ ข้อบัญญัติท้องถิ่น พ.ศ. 2542 อยู่ในระดับต่ำ อาจเป็น เพราะประชาชนส่วนใหญ่ดำรงชีวิตอย่างเรียบง่าย และมีลักษณะประนีประนอมชอบคล้อยตามวิสัยทัศน์ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและไม่กล้าแสดงความคิดเห็น ทำให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นในระดับต่ำ ทั้งนี้ปัจจัยอื่นที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในระดับต่ำ ได้แก่ วุฒิการศึกษา แต่รายได้ การเป็นสมาชิกกล่มุ การติดตาม ข่าวสารกิจการขององค์การบริหารส่วนตำบล ไม่มีผล กับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเข้าชื่อเสนอ พระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติ ท้องถิ่น พ.ศ. 2542

References

กรมการปกครอง. (2539). กองราชการส่วนตำบล. คู่มือพนักงานส่วนตำบล, กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ อาสารักษาดินแดนกรมการปกครอง.

โกวิทย์ พวงงาม. (2545). 170 การปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

ชาลี ทรงศิริ. (2547). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองส่วนท้องถิ่น : ศึกษากรณี เทศบาลเมืองนครนายกอำเภอเมือง นครนายก จังหวัดนครนายก. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป มหาวิทยาลัยบูรพา.

ทรงพล ตุ้มทอง. (2541). ปัจจัยที่มีต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองท้องถิ่น : ศึกษาเฉพาะกรณี เทศบาล ตำบลศรีราชา จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคม คณะพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

พรรณพิลาศ วีระสุโข. (2541). ความต้องการที่จะรู้ข่าวสารทางการเมือง พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารการเมืองและการใช้ประโยชน์ข่าวสารการเมืองจากรายการโทรทัศน์ของประชาชนที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป ในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พิเชศ รุ่งสว่าง. (2542). พฤติกรรมการรับข่าวสารความรู้จากสื่อมวลชนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนประจำจังหวัด ในจังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์ วารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารมวลชน คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ไพศาล เชาวนะ. (2543). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการบริหารท้องถิ่น: ศึกษาเฉพาะกรณี อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช. ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ภัทรนันท์ คลื่นแก้ว. (2544). การมีส่วนร่วมของชาวบ้านในการจัดการป่าชุมชนในจังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2536). การบริหารการพัฒนาชนบท การพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารงานพัฒนาตำบล :สาเหตุและแนวทางแก้ไข. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียน.

วุฒิพันธ์ ชุมแก้ว. (2543). ความรู้ความเข้าใจในรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2540 ของเยาวชนอายุ 18-25 ปี ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ศรีสุดา เตียวโป้. (2545). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบ อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สวัสดิ์ เตียวิรัตน์. (2542). ความรู้ผู้ต้องหาเกี่ยวกับสิทธิผู้ต้องหาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540ศึกษาเฉพาะกรณีกองบังคับการตำรวจนครบาล 3, วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สัญญา พันธไชย. (2545). ปัจจัยที่เอื้อต่อการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดขอนแก่น, วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

กฎหมาย
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550

พระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น พ.ศ. 2542

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-03-12