ยุทธศาสตร์การปฏิบัติงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นของครูโรงเรียนเคหะทุ่งสองห้องวิทยา ๒ สำนักงานเขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ภาณุพงศ์ สามารถ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • วัชระ สินธารา นักวิชาการอิสระ
  • สุวิมล ไชยพันธ์พงษ์ สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค
  • บรรเลง อินทร์จันทร์ สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค

คำสำคัญ:

ยุทธศาสตร์การปฏิบัติงาน, ระบบดูแล ช่วยเหลือนักเรียน, มัธยมศึกษาตอนต้น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความพึงพอใจของนักเรียนต่อการปฏิบัติงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นของครูโรงเรียนเคหะทุ่งสองห้องวิทยา 2 สำนักงานเขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 2) สภาพปัญหาการปฏิบัติงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 3) สร้างและประเมินยุทธศาสตร์การปฏิบัติงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ใช้แบบของการวิจัยและพัฒนาโดยผสมผสานระหว่างเชิงคุณภาพกับเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงปริมาณประชากร ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 144 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 40 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการสัมภาษณ์ระดับลึก 11 คน 2) กลุ่มผู้เข้าร่วมระดมสมอง 20 คน 3) กลุ่มผู้เข้าร่วมการสนทนากลุ่ม 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ระดับลึก 2) ประเด็นการระดมสมอง 3) ประเด็นการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียนต่อการปฏิบัติงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น พบว่า ในภาพรวมทั้งหมดความพึงพอใจในภาพรวมทั้งหมด ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 48.61 ผลการประเมินด้านความพึงพอใจในด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล เป็นรายข้อพบว่าผลการประเมินความพึงพอใจในด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ในภาพรวมมีระดับมากที่สุด ด้านการคัดกรองนักเรียนในภาพรวมมีระดับมาก ด้านการส่งเสริมนักเรียนในภาพรวมมีระดับมาก ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียนเป็นรายข้อในภาพรวมมีระดับมาก ด้านการส่งต่อนักเรียนในภาพรวมมีระดับมาก

 2. ผลการศึกษาสภาพปัญหาการปฏิบัติงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น พบว่า 1) ด้านรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ได้แก่ การสอบถามข้อมูลจากผู้เรียนจะได้รับคำตอบที่ไม่ตรงตามความจริง การประชุมผู้ปกครองไม่ให้ความร่วมมือเท่าควร 2) ด้านการคัดกรองนักเรียน ได้แก่ ไม่มีการส่งข้อมูลต่อเนื่อง ในแต่ละระดับชั้น ไม่มีแบบคัดกรองที่แน่นอน 3) ด้านการส่งเสริมนักเรียน ได้แก่ นักเรียนไม่มีวินัยและความรับผิดชอบ ผู้ปกครองขาดการเอาใจใส่ดูแล นักเรียนขาดวินัยในตนเอง ขาดการดูแลควบคุมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 4) ด้านการป้องกันและแก้ปัญหา ได้แก่ นักเรียนมีจำนวนมาก ครูดูแลและแก้ปัญหาได้ไม่ครบทุกคน การขาดเรียนของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง 5) ผลการศึกษาด้านการส่งต่อนักเรียน ได้แก่ ขาดความต่อเนื่องในการส่งต่อข้อมูล ไม่มีความต่อเนื่องในการส่งต่อข้อมูลในบางราย ครูมีเวลาน้อยในการปฏิบัติงานสภาพครอบครัวของนักเรียนที่ไม่เอื้ออำนวย

 3.ผลการสร้างและประเมินยุทธศาสตร์การปฏิบัติงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นของครูโรงเรียนเคหะทุ่งสองห้องวิทยา 2 พบว่า 1) ได้กำหนดยุทธศาสตร์ 5 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล (2) ด้านการคัดกรองนักเรียน (3) ด้านการส่งเสริมนักเรียน 4) ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียน (5) ด้านการส่งต่อนักเรียน 2) ผลประเมินยุทธศาสตร์ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินซึ่งประกอบด้วย 4 มาตรฐานย่อยคือ (1) มาตรฐานการนำไปใช้ประโยชน์ (2) มาตรฐานความเป็นไปได้ (3) มาตรฐานความเหมาะสม (4) มาตรฐานความถูกต้อง ประกอบด้วย ชื่อยุทธศาสตร์ วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย และกลยุทธ์

References

กรมสุขภาพจิต. (2546). คู่มือวิทยากร ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ช่วงชั้นที่ 3 - ช่วงชั้นที่ 4 (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6). กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

คณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. (2542). รายงานการดำเนินการนิเทศ 100% ของหน่วยงานสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติที่ประสบผลสำเร็จในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ.

ณภดล ปิ่นทอง. (2558). ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการกองทัพอากาศ เขตดอนเมืองกรุงเทพมหานคร. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

ทะเล เจริญผล. (2547). การศึกษาวิธีการและปัญหาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของครูที่ปรึกษาในโรงเรียนมัธยมของรัฐ จังหวัดนนทบุรี. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www. riclib. nrct.go.th/scripts/wwwi32.exe/. วันที่สืบค้น 2560. เมษายน 17.

เทิดเกียรติยศ คำโสภา. (2542). ศึกษางานปกครองนักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษาเขตการศึกษา 10. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (บริหารการศึกษา) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ธงชัย มีนวน. (2560, กันยายน 10). ประธานกรรมการคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนเคหะทุ่งสองห้องวิทยา 2. สัมภาษณ์.

นพวรรณ ขำปัญญา. (2560, กันยายน 5). รองผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนเคหะทุ่งสองห้องวิทยา 2. สัมภาษณ์.

ปิยาภา ศรีสว่าง. (2548). ความคิดเห็นของครู ด้านระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน กลุ่มเสี่ยงโรงเรียนมัธยมศึกษา สหวิทยาเขต บรมราชชนนี 1. กรุงเทพฯ: ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.

พรทิพย์ จุลวงศ์. (2546). สภาพและปัญหาการดำเนินงานในระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดกระบี่. ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ภิรมย์ ลี้กุล. (2546). การศึกษาปัญหาการบริหารงานดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดระยอง. ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

เรืองยศ อุตรศาสตร์. (2546). การศึกษาการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของครูที่ปรึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดขอนแก่น.ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วัฒนา พัฒนพงศ์. (2546). ความสามารถในการปรับใช้กระบวน ทัศน์ ทัศนคติ พฤติกรรม ความรู้ และทักษะเพื่อการปฏิบัติงานให้เกิดคุณภาพ. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.

เสรี พงศ์พิศ. (2548). ยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: บ้านพระอาทิตย์.

อนันต์ รังษี. (2560, กันยายน 5). ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนเคหะทุ่งสองห้องวิทยา 2.สัมภาษณ์.

อนิวัช แก้วจำนง. (2555). การจัดการเชิงกลยุทธ์. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-03-12